การแปรรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเม่า หมู่ที่ 2 บ้านเนินสะอาด ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
การแปรรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเม่า หมู่ที่ 2 บ้านเนินสะอาด ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ข้อมูลโครงการ
ชื่อนวัตกรรม | การแปรรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเม่า หมู่ที่ 2 บ้านเนินสะอาด ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
หน่วยงานหลัก | สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ |
หน่วยงานร่วม | คณะวิทยาการจัดการ |
ชื่อชุมชน | หมู่ที่ 2 บ้านเนินสะอาด ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์วัชรพล วงศ์จันทร์ |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180 |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | - |
การติดต่อ | |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
สระแก้ว | อรัญญประเทศ | เมืองไผ่ | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติหมู่ที่ 2 บ้ำนเนินสะอาด ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วจากสมัยก่อนมีปราสาทเมืองไผ่ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองไผ่ เป็นเจดีย์โบราณสมัยทวาราวดี สร้าง
ด้วยอิฐก่อทับกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขยื่นออกมา 4 มุม แกะสลักลวดลายดอกไม้ ลายเครือวัลย์
และรูปคน นอกจากนี้ยังพบศิลปวัตถุหลายอย่าง เช่น เสมาธรรมจักร ทำด้วยศิลาเขียว เทวรูปศิลป
ลพบุรี และพระพุทธรูปศิลปทวาราวดี ซึ่งโบราณวัตถุเหล่านี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติพระนคร การเดินทางโดย รถยนต์ ไปยังปราสาทเมืองไผ่นั้นใช้เส้นทางจาก อ าเภออรัญ
ประเทศผ่านหอนาฬิกาไปทางถนนราษฎร์อุทิศ เลี้ยวขวาทางแยกไปทางบ้านหนองเทา (อรัญประเทศ
- เมืองไผ่) ประมาณ 7 กิโลเมตร จนถึงตำบลเมืองไผ่จะเห็นป้ายปราสาทเมืองไผ่ซ้ายมือไปตามเส้นทาง
ประมาณ 400 เมตร จะเห็นซากปรักหักพังที่เหลืออยู่ หรือหากไปทางขวาประมาณ 300 เมตร จะเห็น
ป้ายปราสาทเมืองไผ่เช่นกัน ซึ่งเป็นซากปราสาทอีกแห่งหนึ่งต้องเดินเท้า เข้าไปถึงตัวปราสาทเมืองไผ่
ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ซึ่งในปัจจุบันบ้านเนินสะอาดมีพื้นที่สำคัญโดยเฉพาะวัดเนินสะอาดที่
แต่เดิมใช้ชื่อว่า “วัดยางเอน” ตามชื่อต้นยางที่อยู่หน้าวัด และ ได้มาเปลี่ยนชื่อในภายหลังเป็น “วัด
เนินสะอาด” ซึ่งพื้นที่บ้านเนินสะอาดอยู่พื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัด
สระแก้ว
ทางทีมงานคณะวิทยาการจัดการงานได้ลงพื้นที่พบว่า มีผู้อาศัยอยู่จำนวน 100 ครัวเรือน ไม่
มีสถานะในทะเบียนราษฎร์ จำนวน 8 คน โดยคนในชุมชนนับถือศาสนาพุทธ มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ข้าวเม่าน้ านม 100% จำนวน 50 ครัวเรือน ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ทำนาทำไร่และตัดเย็บ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยใช้ที่ดินของตนเองเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังมีบุคคลภายนอกที่มาอยู่อาศัยใน
พื้นที่ซึ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่น สำหรับกลุ่มวัยทำงานจะเข้าไปประกอบอาชีพในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งติด
ชายแดน ไทย-กัมพูชา และยังมีกลุ่มชาวบ้านบางส่วนจะปลูกผักสวนครัวเช่น เช่น พริก,กะเพรา,
โหระพา, แมงลัก, กล้วยหอม, มะพร้าว, กล้วยไข่, ข้าวหอม และข้าวเหนียว เป็นต้น ไว้รับประทานเอง
โดยปลอดจากสารเคมี เหลือจากการรับประทานสามารถไปขายที่ตลาดนัดในหมู่บ้าน และยังมีกลุ่ม
ชาวบ้านรับสินค้าจากตลาดโรงเกลือมาขายในชุมชน
ด้ำนกำรปกครองท้องถิ่นของหมู่ที่ 2 บ้ำนเนินสะอาด ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัด
สระแก้ว
ผู้นำมีศักยภาพ และมีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ โดยผู้นำของหมู่ที่ 2 บ้านเนินสะอาด
ประกอบด้วย
1) นายสุพล ปันส่วน ผู้ใหญ่บ้าน
2) นายสมพร บุญพินธ์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
3) นายคำปน คงแดน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1) มีภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านการนำผลผลิตทางการเกษตรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ข้าวเม่านํ้านม 100% ทีได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ
สามารถสร้างรายได้จากการส่งออกไปยัง USA
2) ชุมชนมีความสัมพันธ์อันดี ส่งผลให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3) มีภูมิปัญญาที่โดดเด่น คือการทำเกษตรกรรมแบบเกษตรกรแปลงใหญ่
4) มีกลุ่มวิสาหกิจชุมเป็นของตนเองและได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว
5) เป็นแหล่งกำเนิดใช้ภูมิปัญญา ในการผลิตข้าวเม่านํ้านม 100%
6) มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็งและใช้ภูมิปัญญาของกลุ่มชาวบ้านเพื่อสร้างรายได้ให้แก่
ครอบครัว
7) มีความสนใจที่จะพัฒนาตนเองและชุมชนให้ยั่งยืน
8) มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ส่งผลให้คนในชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้
ดำเนินชีวิต
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนสามารถสรุปได้ดังนี้1) ควรส่งเสริมการพัฒนาอาชีพที่ตรงตามความสามารถและความสนใจของคนใน
ชุมชน เพื่อจัดตั้งเป็นชุมชนต้นแบบด้านต่างๆ
2) ควรส่งเสริมตามความต้องการของชุมชนได้แก่ การเลี้ยงปลาในบริเวณบ้านและที่ดิน
ของตนเอง โรงเรียนปลูกผักปลอดสารพิษ ช่องทางในการขายสินค้า อาชีพเสริมหลัง
การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเม่านํ้านม ความรู้ด้านการตลาดส่งออกและด้านวิชาการ
เกษตร สร้างอาชีพด้านหัตถกรรมให้กับชาวบ้าน
3) ควรส่งเสริมการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ
สถานศึกษา และภาคประชาชน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การสร้างอาชีพแปรรูปจากข้าวเหนียวเป็นข้าวเม่านํ้านมประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560
ถึง ปี 2579 โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดย
ค านึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับ
รายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร
พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของ
ประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา
เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชา
ประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
พ.ศ.2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลัง
ปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่
คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพ
มาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3
การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมี
กลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอก เพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหา
ของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการ
พัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในหมู่ที่ 2 บ้านเนินสะอาด ตำบลเมืองไผ่ อำเภอ
อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งในชุมชนนี้มีจำนวนครัวเรือนตามทะเบียนราษฎร์ทั้งหมด 200
ครัวเรือน แต่มีผู้อาศัยจริงจำนวน 150 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ตกเกณฑ์หรือมีความยากจนจำนวน
100 ครัวเรือน ทีมงานของคณะวิทยาการจัดการได้ลงพื้นที่ส ารวจชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านเนินสะอาด
พบว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาปลูกข้าวเม่า บางส่วนปลูกข้าวหอมมะลิ
และประกอบอาชีพอื่นๆ ได้แก่ ค้าขาย รับจ้าง ตัดเย็บเสื้อผ้า ภูมิปัญญาของชุมชนบ้านเนินสะอาดคือ
การทำข้าวเม่า ทุนทางสังคมมีการรวมกลุ่มอาชีพและจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวเม่านํ้านม
100% จากการพูดคุยกับคนในชุมชนได้ทราบถึงปัญหาของชุมชนที่มีผลกระทบต่อการทำเกษตร การ
ปลูกข้าวเม่าคือการขาดแหล่งนํ้า จึงไม่สามารถปลูกข้าวเม่าได้ตลอดทั้งปี ทำให้ได้ผลผลิตข้าวเม่าเพียง
ปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น และชุมชนบ้านเนินสะอาด ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนเป้าหมาย 3 ครัวเรือน และคน
ในชุมชนที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 15 ราย ดังนั้นจึงมีความเห็น
พ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง การตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน
การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชน การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน (ข้าวเม่า)
ดังนั้น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้
จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นเสริม
พลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหาร
จัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานราก
ในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่าง
ยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- การแปรรรูป
- ข้าวเม่า
- จังหวัดสระแก้ว
- ตำบลเมืองไผ่
- บ้านเนินสะอาด
- หมู่ที่ 2
- อำเภออรัญประเทศ
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ