กระเป๋าเสื่อกก หมู่ที่ 6 โคกสมัคคี ต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว

กระเป๋าเสื่อกก หมู่ที่ 6 โคกสมัคคี ต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม กระเป๋าเสื่อกก หมู่ที่ 6 โคกสมัคคี ต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 6 โคกสมัคคี ต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ณัฐกานต์ พิสุทธิ์พิบูลวงศ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว เลขที่ 1177 หมู่2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สระแก้ว โคกสูง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ท้องที่อำเภอโคกสูงเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอตาพระยา ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การ
ปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอโคกสูง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.
2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่
24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอโคกสูง โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปี
เดียวกัน
สภาพเดิม ของหมู่บ้านเป็นป่าละเมาะ มีความอุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำลักษณะพื้นที่เป็น
เนินป่า คำว่า “โคกสามัคคี” มาจากคำว่า โคก คือ เนินป่าสูง ที่ชาวบ้านร่วมกันถ่างป่าเพื่อสร้างที่อยู่
อาศัยกลางโคก จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “โคกสามัคคี”
เมื่อปี พ.ศ.2506 นายอ่อง ได้อพยพครอบครัว และชาวบ้าน ประมาณ 10 ครัวเรือน ช่วยกัน
ก่อตั้งหมู่บ้าน ต่อมามีประชาชนจากภาพอีสานอพยพเข้ามา ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัด
ชัยภูมิ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด โดยขึ้นอยู่ในเขตปกครองของตำบลโคกสูง อำเภอตา
พระยา จังหวัดสระแก้ว
พ.ศ.2521 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้แบ่งเขตการปกครอง แยกตำบลโคกสูง
เป็นตำบลหนองม่วง อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว และบ้านโคกสามัคคีแยกออกมาจากบ้านผาสุก
กระทรวงมหาดไทย ได้มีประกาศ ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2539 ได้แยกตำบลโคกสูง ตำหนองม่วง
ตำบลหนองแวง และตำบลโนนหมากมุ่น อำเภอตาพระยา
ปัจจุบัน บ้านโคกสามัคคี หมู่ที่ 6 ตำบลหนองม่วง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว มีนายสมพร
อ่อนอุทัย เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านโคกสามัคคี หมู่ที่ 6 ตำบลหนองม่วง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
มีครัวเรือนทั้งหมด 216 ครัวเรือน
จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ทั้งหมด 905 คน
เพศชาย 433 คน
เพศหญิง 472 คน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ทุนชุมชน
หมู่บ้านมีทุนชุมชน ประกอบด้วย ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุนกายภาพ และทุนการเงิน
ประกอบด้วย
▪ ทุนมนุษย์ ซึ่งมีปราชญ์ชุมชนหลายด้าน ที่สามารถถ่ายทอดให้กับผู้ที่สนใจและ
สามารถทำไปประกอบอาชีพได้ ได้แก่
- ปราชญ์ด้านวัฒนธรรมประเพณี
- ปราชญ์ด้านการเกษตร
- ปราชญ์ด้านการจักรสาน
▪ ทุนทางสังคม ได้แก่ วัฒนธรรมประเพณีของหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมรดน้ำของพร
ผู้สูงอายุในประเพณีวันสงกรานต์
▪ ทุนกายภาพ ได้แก่ กลุ่มสินค้า OTOP
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ผลิตภัณฑ์ยังไม่ทันสมัยและสวยงาม ยัง
ขาดเทคนิคไอเดียในการทำผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย ตามความต้องการของผู้บริโภค
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
เป้าหมายส่วนใหญ่มีความสามัคคี และอยู่
กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ผลิตงานจักรสานจากต้นกก เป็นสินค้าที่กลุ่มชุมชนอยากพัฒนาฝีมือให้
ทันสมัย และกลุ่ม OTOP มีความสนใจพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้การทำกระเป๋าเสื่อกก

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ด้วยแนวคิดพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) จากปรัชญาการ
สร้างปัญญาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ถูกถ่ายทอดเป็นวิสัยทัศน์ไปสู่การทำงานของสถาบันการศึกษา
ร่วมกับภาคี ในพื้นที่ (Engagement) ที่มุ่งหมายหวังผลที่จะตอบปัญหาของชุมชนหรือสังคมเฉพาะที่
ได้อย่างถูกต้อง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่
พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ
พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลัง
ปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่
คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพ
มาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การ
พัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์
ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชน
ท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนา
ชุมชน และท้องถิ่น มีกลไกสนับสนุนการปฏิบัติพันธกิจแบบบูรณาการเพื่อท้องถิ่นตอบสนองต่อ
นโยบายของมหาวิทยาลัยซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาบริการวิชาการ การเรียนการสอน และการวิจัย โดยมี
กระบวนการ/วิธีการ มีนโยบายสนับสนุน มีองค์ความรู้ มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชน
และสังคม ซึ่งเป็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการที่จะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม ทำ
หน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน โดยการ
ออกแบบการทำงานเพื่อสร้างกลไกเชิงระบบที่เชื่อมงานประกันคุณภาพองค์กรกับการพัฒนาพื้นที่
เพื่อให้มีการสานพลังจากทุกคณะร่วมกับองค์กรภาคี มีการยกระดับคุณภาพงานวิชาการเพื่อรับใช้
สังคม และเกิดการพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพงานวิชาการเพื่อสังคม
สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ จึงได้กำหนดแนวทางการทำงานที่มุ่งเน้นการ
ทำงานบริการวิชาการรับใช้สังคม โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน ประสานงาน และดำเนินโครงการ
ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านงานบริการวิชาการ โดยในปี 2561 นี้
มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว โดยความร่วมมือกันของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
ซึ่งดำเนินการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 27 หมู่บ้าน พื้นที่จังหวัดสระแก้ว 25 หมู่บ้าน จึงจัดทำ
โครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้
ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการ
ชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ร่วมกับการส่งเสริม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากใน
ชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่าง
ยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว ได้มีส่วนในการ
รับผิดชอบ พื้นที่ บ้านโคกสามัคคี หมู่ที่ 6 ตำบลหนองม่วง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว โดยมี
อาจารย์นิตยา ทองทิพย์ เป็นผู้รับผิดชอบ การดำเนินงานในระยะแรกเป็นการสำรวจข้อมูลชุมชน
เพื่อให้ได้มาซึ่งสภาพปัญหาที่แท้จริงของชุมชนและสิ่งที่ชุมชนต้องการรับการพัฒนา เพื่อให้สามารถ
แก้ปัญหาของชุมชนได้ตรงจุดนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กระเป๋าเสื่อกก
  • โคกสมัคคี
  • จ.สระแก้ว
  • ต.หนองม่วง
  • หมู่ที่ 6
  • อ.โคกสูง

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2563 14:55 น.