งานวิจัยเกษตรอุตสาหกรรมกลางทาง :การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากกลีบกุหลาบ

งานวิจัยเกษตรอุตสาหกรรมกลางทาง :การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากกลีบกุหลาบ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม งานวิจัยเกษตรอุตสาหกรรมกลางทาง :การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากกลีบกุหลาบ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
หน่วยงานร่วม ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว
ชื่อชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านทุ่งโป่งหมู่ 7
ชื่อผู้รับผิดชอบ เพ็ญวรัตน์ พันธ์ภัทรชัย
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านา 128 ถ.ห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางสาวณัฐธินี ทรายแก้ว ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์
คณะวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ สาขาสหวิทยาการ เขตพื้นที่ เชียงใหม่
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
เชียงใหม่ สะเมิง สะเมิงใต้ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีไม้ดอกที่เป็นมงคลและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวหลากหลายชนิดที่อาจสามารถนำมาสกัดสารที่ให้กลิ่นหอม เพื่อนำมาใช้ในธุรกิจสปา หรือการนวดไทยได้ โดยไม้ดอกที่ให้ดอกสวยงาม ทนต่อโรค และมีกลิ่นหอม อย่างกุหลาบ ก็เป็นที่นิยมในการนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหย เพื่อใช้ในการบำบัดความเครียดและอื่นๆ จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากน้ำมันดอกกุหลาบมาช้านาน ผ่านการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งเรียกว่า “น้ำดอกไม้เทศ” ได้จากการละลายน้ำมันดอกกุหลาบในน้ำต้มสุก นิยมนำมาใช้เป็นน้ำกระสายยาในยาขนานต่างๆ ( ชยันต์ พิเชียรสุนทร, 2556) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับฤทธ์ของกุหลาบ ทางเภสัชวิทยาของกลิ่นหรือน้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบไว้อย่างหลากหลายชนิด อาทิเช่น กุหลาบมอญ มีฤทธิ์ คลายกังวล (Bradley B F. etc , 2007) มีผลต่อการนอนหลับ (Rakhshandah H,etc. ,2004) มีผลต่อการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acetylcholinesterase (AChE) และ butyrylcholinesterase (BChE) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทําลายสารสื่อประสาทที่มีบทบาทสําคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้และจดจํา (Senol FS etc , 2013)
จากข้อมูลดังกล่าววิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่สูงบ้านทุ่งโป่ง หมู่ 4 มีความสนใจในการนำกุหลาบที่มีการเพาะปลูกเชิงท่องเที่ยวทางการเกษตรมากกว่า 100 ไร่ ซึ่งแต่เดิมจนถึงปัจจุบันได้มีการส่งเสริมการเพาะปลูกกุหลาบจากมูลนิธิโครงการหลวงห้วยเสี้ยว เพื่อให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงมีอาชีพและสร้างรายได้ให้กับครอบครัว จนปัจจุบันมีปริมาณดอกกุหลาบที่บานแล้วเป็นจำนวนมาก ทางกลุ่มฯจึงเห็นว่า กลีบกุหลาบเหล่านั้นน่าจะสร้างรายได้ให้กับกลุ่มฯและประชากรในหมู่บ้านได้ โดยนำมาสกัดเป็นน้ำมันจากดอกกุหลาบเพื่อนำไปใช้ในการทำสปา หรือนวดแผนไทยของหมู่บ้าน โดยทางกลุ่มได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่แล้วด้วย แต่กลุ่มเกษตรฯ ยังขาดองค์ความรู้ด้านการสกัดและวิธีการและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสกัด ซึ่งสภาวะในการสกัดถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพของน้ำมันหอมระเหย หากเลือกวิธีการและสภาวะที่ไม่เหมาะสมในการสกัดจะทำให้ไม่ได้ซึ่งน้ำมันหอมระเหย โดยกระบวนการทางกายภาพ เช่นการบด การแช่ผสม ไม่สามารถที่จะได้น้ำมันหอมระเหยออกมาได้ ถึงแม้จะเป็นวิธีที่ง่ายและต้นทุนต่ำ แต่การจะได้มาซึ่งน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพเหมาะสมต่อการใช้งานก็จะต้องมาจากผลกรศึกษาผ่านการทำวิจัยเช่นกัน
ทั้งนี้ทางคณะวิจัยเห็นว่า การนำกลีบกุหลาบมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจสปาและนวดแผนไทยของกลุ่มฯ จะเป็นการนำวัตถุดิบทางการเกษตรเหลือใช้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม และเป็นการนำองค์ความรู้ทางด้านการวิจัยเผยแพร่สู่ท้องถิ่น เพื่อให้ชาวบ้านสามารถนำไป
พัฒนาและปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้นและยังเกิดประโยชน์ในด้านการพัฒนาการศึกษาอีกด้วย โดยการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากกลีบกุหลาบ จะนำไปสู่กระบวนการคัดเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการสกัดน้ำมันหอมระเหยให้มีความคุ้มทุน ตลอดจนเป็นวิธีที่ง่าย มีผลรองรับทางวิชาการ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย penwarat_s.rmutl-09 penwarat_s.rmutl-09 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 11:17 น.