ผลิตภัณฑ์หน้ากากผ้าทอมือป้องกันฝุ่น PM 2.5 หมู่ที่ 8 บ้านภักดีแผ่นดิน ต.หนองหมากฝ้าย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

ผลิตภัณฑ์หน้ากากผ้าทอมือป้องกันฝุ่น PM 2.5 หมู่ที่ 8 บ้านภักดีแผ่นดิน ต.หนองหมากฝ้าย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์หน้ากากผ้าทอมือป้องกันฝุ่น PM 2.5 หมู่ที่ 8 บ้านภักดีแผ่นดิน ต.หนองหมากฝ้าย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม คณะสาธารณสุขศาสตร์
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านภักดีแผ่นดิน ต.หนองหมากฝ้าย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์สุทธิดา แก้วมุงคุณ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สระแก้ว วัฒนานคร หนองหมากฝ้าย place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านภักดีแผ่นดิน หมู่ที่8 ตำบลหนองฝ้าย จังหวัดสระแก้ว เดิมบ้านภักดีแผ่นดิน ชื่อบ้านคลองเกลือ เป็นหมู่บ้านที่มีคลองต้นน้ำ เหนือต้นน้ำมีดินโปร่งที่มีสัตว์ชอบลงมากินน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกว่าคลองเกลือ ในอดีตบ้านภักดีแผ่นดินจัดว่าเป็นพื้นที่สีแดง เนื่องจากมีผู้หลงผิดเข้าร่วมกลุ่มคอมมิวนิสต์ เมื่อมีประกาศให้บุคคลที่หลงผิดเข้ามอบตัว และหลังจากนั้นเหตุการณ์จึงสงบลง
พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีประสงค์ ให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ทำกิน เพื่อเป็นแนวเขตไม่ให้ประชากรบุกรุก ทำลายป่าไม้
พ.ศ. 2528 มีพระราชดำรัสให้จัดสรรพื้นที่ขึ้นเป็นโครงการพระราชดำริ เริ่มวางผังหมู่บ้าน โดยมีหน่วยงานร่วมกันวางผัง 3 หน่วยงาน คือ
1. หน่วยงานทหารพัฒนา (ทหารเสือนวมินทราชินี)
2. กรมพัฒนาที่ดิน
3. กรมป่าไม้
พ.ศ. 2529 จัดสรรแบ่งปันในระบบ 7-7-1 คือเป็นที่นา 7 ไร่ ที่สวน 7 ไร่ ที่อยู่อาศัย 1 ไร่ รวมเป็น 15 ไร่ต่อครัวเรือน จากนั้นจึงประกาศให้ชาวบ้านเข้ามาอาศัยอยู่ ในตอนนั้นมีจำนวน 150 ครอบครัว โดยให้สิทธิเจ้าของเดิม เป็นอันดับแรก
พ.ศ. 2530 ได้เปิดหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ ในสมัย ท่านจเด็จ อินสว่าง เป็นนายอำเภอวัฒนานคร และท่านอารี วงศ์อาริยะ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสะแก้วในสมัยนั้น ประชากรส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานมาจาก บ้านหนองหมากฝ้าย บ้านโคกสว่าง บ้านหนองน้ำใส บ้านใหม่ศรีจำปา และอพยพมาจากภาคอีสาน
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านโคกสว่าง ตำบลหนองหมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านห้วยชัน ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร
ทิศใต้ ติดกับบ้านคลองคันโท ตำบลหนองหมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
- กลุ่มเป้าหมาย มีการพึ่งตนเองสามารถทอผ้าและตัดเย็บผลิตภัณฑ์จากผ้าที่ทอเอง เพื่อจำหน่าย
- กลุ่มเป้าหมายแหล่งวัตถุดิบที่จัดทำเอง ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าไหมประดิษฐ์ เป็นต้น
- กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการทอผ้า ตัดเย็บผ้าเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป ได้แก่ กระเป๋าผ้า พวงกุญแจ เสื้อผ้า เป็นต้น
- กลุ่มเป้าหมายมีผู้นำชุมชน และผู้นำกลุ่มที่มีศักยภาพในการแก้ปัญหา การวางแผน การประสานงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้ดี
ข้อมูลประเด็นปัญหา
- ขาดความรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน และการตลาด
- ขาดแหล่งตลาดในการนำผลิตภัณฑ์ไปขาย กลุ่มเป้าหมายจัดทำสินค้าขายภายในชุมชน ได้รายได้จากการขายสินค้าน้อย
- ขาดทักษะการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากผ้าทอมือ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่พบได้ทั่วไป ไม่มีความน่าสนใจ
- คนวัยทำงานมักออกไปทำงานต่างจังหวัดและไม่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ทำให้ครัวเรือนจำนวนมากจะเหลือแต่ผู้สูงอายุอยู่บ้านเท่านั้น
- กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุ จึงมีข้อจำกัดเรื่องการทำงานหนักหรือการทำงานในระยะเวลาที่นานไม่ได้
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
- การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากผ้าทอมือ
- การพัฒนาทักษะทางอาชีพ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้เรื่องการออกแบบหน้ากากผ้าทอมือป้องกันฝุ่น PM 2.5

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560 ถึง ปี 2579 โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในเขตพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบได้แก่ พื้นที่จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว ซึ่งสำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ ได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
จากประเด็นดังกล่าวจึงมีการศึกษาบริบทและปัญหาของหมู่ที่ 8 บ้านภักดีแผ่นดิน ตำบลหนองหมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว พบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่ยากจน รายได้ของครัวเรือนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะทางอาชีพ โอกาสในการเข้าถึงปัจจัยการผลิต เช่น ตลาดและวัตถุดิบ คณะผู้จัดทำโครงการภายใต้คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้สร้างเครือข่ายนักพัฒนาและแก้ปัญหาชุมชนท้องถิ่น จัดทำแผนพัฒนาครัวเรือนในการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน และจัดทำโครงการหน้ากากผ้าทอมือป้องกันฝุ่น PM 2.5 บ้านภักดีแผ่นดิน เพื่อแก้ปัญหาของชุมชนดังกล่าว เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน มีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายและชุมชนมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • PM 2.5
  • จ.สระแก้ว
  • ต.หนองหมากฝ้าย
  • บ้านภักดีแผ่นดิน
  • ป้องกันฝุ่น
  • ผ้าทอมือ
  • หน้ากาก
  • หมู่ที่ 8
  • อ.วัฒนานคร

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 16:26 น.