การพัฒนาไม้กวาดดอกหญ้าแบบ 4 เส้า หมู่ที่ 7 คลองน้ำเขียว ต.ท่าแยก อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว

การพัฒนาไม้กวาดดอกหญ้าแบบ 4 เส้า หมู่ที่ 7 คลองน้ำเขียว ต.ท่าแยก อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาไม้กวาดดอกหญ้าแบบ 4 เส้า หมู่ที่ 7 คลองน้ำเขียว ต.ท่าแยก อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 7 คลองน้ำเขียว ต.ท่าแยก อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ปุญณานันท์ พันธ์แก่น
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว เลขที่ 1177 หมู่2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สระแก้ว เมืองสระแก้ว ท่าแยก place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติหมู่บ้าน
หมู่บ้านคลองน้ำเขียวก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2500 โดยมีนายขันโท โพธิ์ชัย, นายซ้อน โพธิ์ชัย และ
ครอบครัว ได้เข้ามาอยู่และทำงานเป็นหัวหน้าคนงานตัดไม้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2507 นายเหลือ หงส์ศิริ
และครอบครัว เข้ามาจับจองที่ดิน และได้เชิญชวนพี่น้องมาอยู่ด้วย โดยในขณะหมู่บ้านรวมอยู่กับหมู่
ที่ 4 บ้านโคกอีหลง ตำบลท่าแยก กิ่งอำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2507-2508 มี
ประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ขอแยกหมู่บ้านเป็นหมู่ที่ 6 บ้านคลองศรีเมือง และในปี พ.ศ.
2509 ได้ขอแยกหมู่บ้านออกอีกครั้งจึงได้เป็นหมู่บ้านคลองน้ำเขียว หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแยก อำเภอ
สระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี และเปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้วต่อมา ในปัจจุบันมี
นายวีระพงษ์ ถันถาจิตร เป็นผู้ใหญ่บ้าน

ที่ตั้งและอาณาเขต
หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่ทั้งหมด 6,250 ไร่ และมี
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแยก ระยะทาง 19 กิโลเมตร ห่าง
จากที่ว่าการอำเภอเมืองสระแก้วไปทางทิศใต้ ระยะทาง 30 กิโลเมตร มีอนาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ อุทยานแห่งชาติปางสีดา อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้ติดกับ บ้านปางสีดาตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านท่ากระบาก ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านน้อย ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จุดแข็ง
บ้านคลองน้ำเขียว มีเส้นทางคมนาคม สะดวก เป็นถนนลาดยาง ห่างจากตัวอำเภอเมือง
สระแก้วประมาณ 30 กิโลเมตร มีป่าไม้และแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ และยังเป็นหมูบ้านท่องเที่ยว
เนื่องจากอยู่ติดกับอุทยานแห่งชาติปางสีดา รวมทั้งมีป่าไม้และแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัญหาเรื่องการตลาดถึงแม้จะมามีตลาดในด้านนักท่องเที่ยว และข้อจำกัดของฤดูการท่องเที่ยวไม่ได้มี
ตลอดทั้งปี ทำให้อัตราการขายยังน้อยกว่าการผลิตและเกิดการตกค้างของสินค้า ส่งผลต่อทุน
หมุนเวียนในการผลิตสินค้า และรายได้ของคนในชุมชนหยุดชะงักลง ซึ่งสร้างความกังวลให้กับชุมชน
ในเรื่องของความสามารถในการขายและการกระจ่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นสู่ตลาด
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
จากการระดมความคิดคนในชุมชนเล็งเห็นว่า หากจะทำโครงการ
ต้องเป็นโครงการที่ทำแล้วใช้ได้ในครัวเรือน, จำหน่ายได้, ไม่มีวันหมดอายุ, และตอบโจทย์แรงงานใน
ชุมเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอาย

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้การพัฒนาไม้กวาดดอกหญ้าแบบ 4 เส้า

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผน
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560
ถึง ปี 2579 โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดย
คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับ
รายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร
พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของ
ประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่
10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือ
ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชา
ประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ.
2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญา
ของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพ
เป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิต
ของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางาน
พันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการ
สร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชน
ท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนา
ชุมชน และท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในหมู่บ้านคลองน้ำเขียว หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแยก
อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร แต่
ประชากรบางส่วนยังขาดที่ดินทำกิน และมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายใน ถึงแม้มีหน่วยงาน
ภาครัฐเข้ามาดูแล และสนับสนุนสนุในเรื่องของอาชีพ เช่น กระเป๋าสานจากเส้นพลาสติก เสื้อสกรีน
หมวก พวงกุญแจลายผีเสื้อ และของที่ระลึกต่างๆ เพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นอาชีพเสริม
แต่อย่างไรก็ตามของที่ระลึกที่จัดทำขึ้นไม่ได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวมากพอ และไม่มีตลาดในการจำหน่าย ทำให้เกิดการตกค้างของสินค้าและการหยุดชะงักของทุนหมุนเวียนของการผลิต
ประชาชนและครัวเรือนเป้าหมายมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีโครงการการทำไม้กวาดดอก
หญ้าซึ่งเป็นโครงการที่ตอบโจทย์คนในชุมชนมากที่สุด เนื่องจากไม้กวาดดอกหญ้าสามารถใช้ได้ทุก
ครัวเรือน, จำหน่ายง่าย, ไม่มีวันหมดอายุ, และตอบโจทย์แรงงานในชุมที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ รวมถึง
มีหมู่บ้านข้างเคียงเป็นต้นแบบซึ่งทำแล้วประสบความสำเร็จสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ได้ โดยจะ
ดำเนินการจัดตั้งเป็นกลุ่มและมีครัวเรือนตนแบบในการพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในการเพิ่ม
รายได้ให้คนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นแบบอย่างสู่ครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชน และอาจ
ขยายผลไปสู่การสร้างวัตถุดิบเพื่อการผลิตและจำหน่ายเองในอนาคต
ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์สระแก้ว จึงได้จัดทำ
โครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้
ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการ
ชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน
ให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การพัฒนาไม้กวาดดอกหญ้าแบบ 4 เส้า
  • คลองน้ำเขียว
  • จ.สระแก้ว
  • ต.ท่าแยก
  • ไม้กวาดดอกหญ้า
  • หมู่ที่ 7
  • อ.เมืองสระแก้ว

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 14:44 น.