เกษตรอินทรีย์ วิถีชุมชนคนคลองอาราง หมู่ทีี่ 16 คลองอาราง ต.บ้านแก้ง อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว

เกษตรอินทรีย์ วิถีชุมชนคนคลองอาราง หมู่ทีี่ 16 คลองอาราง ต.บ้านแก้ง อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม เกษตรอินทรีย์ วิถีชุมชนคนคลองอาราง หมู่ทีี่ 16 คลองอาราง ต.บ้านแก้ง อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว
ชื่อชุมชน หมู่ทีี่ 16 คลองอาราง ต.บ้านแก้ง อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ฉัตรเกษม ดาศรี
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว เลขที่ 1177 หมู่2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สระแก้ว เมืองสระแก้ว บ้านแก้ง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติของหมู่บ้าน
บ้านคลองอาราง หมู่ที่ 16 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เป็นชุมชน
ขนาดเล็กของผู้อพยพมาตั้งรกรากถิ่นฐานจากจังหวัดต่างๆ ซึ่งแต่เดิมนั้นพื้นที่บริเวณนี้เต็มไปด้วยต้น
อาราง ซึ่งคำว่า “อาราง” ในภาษาอีสานนั้นหมายถึงต้นนนทรี ซึ่งในอดีตนั้นมีมากในพื้นที่บริเวณนี้
ผนวกกับมีคลองนํ้่าไหลผ่านจากภูเขาลงมา ชาวบ้านจึงนำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่าบ้านคลองอาราง ซึ่ง
ในอดีตเคยมีสภาพเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ แหล่งน้า
ธรรมชาติ และสัตว์ป่านานาชนิด อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ ป่าเขาสะโตน
ในปี พ.ศ. 2480 พ่อใหญ่สังข์ พรสมบูรณ์ และนายสุบิน (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งเป็นน้ากับ
หลานได้เข้ามารับจ้างถางป่าให้กับโรงเลื่อยและเห็นว่าพื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ดี จึงได้ชักชวน
ญาติพี่น้องเข้ามาแพ้วถางป่าจับจองพื้นที่ทำมาหากิน และหลังจากนั้นจึงมีการอพยพย้ายถิ่นของผู้คน
เข้าจับจองที่ดินเพื่อการทำมาหากินเพิ่มขึ้น
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านหนองแหน หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอ
เมือง จังหวัดสระแก้ว และหมู่ที่ 15 ตำบลบ้านนา
อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 13 และหมู่ที่ 14 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง
จังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านหนองนาในและบ้านโปร่งไผ่ ตำบลบ้านนา
อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ผู้ใหญ่บ้านมีความตั้งใจในการท างาน
2. ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมอย่างสูง
3. ผู้นำชุมชนและชาวบ้านเชื่อมั่นในตัวผู้ใหญ่บ้าน
4. ชุมชนมีความสามัคคี
5. มีระบบการจัดการคนในแต่ละช่วงวัยเพื่อให้เกิด
การพัฒนาหมู่บ้าน
6. มีระบบการสนับสนุนและส่งเสริมคนดี
7. มีกระบวนการสร้างจิตอาสาในระดับต่างๆ
8. มีกิจกรรมสำคัญในชุมชนที่จัดอย่างต่อเนื่อง
9. เป็นต้นแบบและมีรางวัลแห่งความสำเร็จทั้งใน
ระดับหมู่บ้าน และระดับบุคคล
10. มีแหล่งนํ้าที่สมบูรณ์และเพียงพอตลอดทั้งปี
11. มีการจัดสรรที่ดินสาธารณะประโยชน์เพื่อใช้ใน
การเกษตร
12. มีแผนพัฒนาหมู่บ้าน
13. ที่ตั้งชุมชนเป็นเขตติดต่อป่าต้นน้ า
14. มีวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม และปฏิบัติ
ต่อเนื่องอย่างจริงจัง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การปลูกพืชผักสวนครัวเต็มไปด้วยสารเคมี รวมถึงคนในชุมชนทิ้งอาชีพเกษตรกรรมแล้วหันไปพึ่งไปได้จากโรงงานอุตสาหกรรม
เพียงอย่างเดียว ละทิ้งอาชีพดั้งเดิมของชุมชนที่จะสามารถพึ่งตนเองได้ไว้ข้างหลัง
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
- ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์
- ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
- เทคโนโลยีการผลิตและปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์
- การจดบันทึกข้อมูลเกษตรกร และการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
- ระบบควบคุมภายในแบบกลุ่ม
- การผลิตสารชีวภัณฑ์ที่ใช้ในเกษตรอินทรีย์
- บทเรียนรู้ความสำเร็จของการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ในชุมชนต้อนแบบ
- แนวคิดและประโยชน์ชองกลุ่มอาชีพชุมชน
- กระบวนการและขั้นตอนการขับเคลื่อนกลุ่มอาชีพ
- การวิเคราะห์กลุ่มอาชีพ และการกำหนดแนวทางการพัฒนา
- ระเบียบ ข้อบังคับเพื่อการขับเคลื่อนกลุ่มอาชีพ
- การบริหารจัดการที่ดี และมีมาตรฐานของกลุ่มอาชีพ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผน
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560
ถึง ปี 2579 โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดย
คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลย
เดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับ
รายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร
พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของ
ประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่
10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือ
ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชา
ประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ.
2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญา
ของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพ
เป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐาน
ชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางาน
พันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการ
สร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชน
ท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความส าคัญในการพัฒนา
ชุมชน และท้องถิ่น
จากการสำรวจข้อมูลทั้งจากแบบสอบถามและจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำชุมชน พบว่า
ครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย เมื่อนำมาเทียบกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นก็อาจจะสรุปได้ว่าอยู่ในเกณฑ์
ยากจน และมีความต้องการที่จะเพิ่มช่องทางของรายรับให้มากขึ้น แต่ด้วยคนในชุมชนส่วนหนึ่ง
จะต้องออกเดินทางไปทำงานภายนอกชุมชน ส่วนคนที่เหลืออยู่ก็เป็นกลุ่มวัยกลางคนบางสวนที่มี
อาชีพด้านเกษตรกรรม และกลุ่มผู้สูงอายุจากศักยภาพและความพร้อมของชุมชนที่เกิดจากกระบวนการวิเคราะห์ ผู้รับผิดชอบ
โครงการได้ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาโดยอาศัยจุดแข็งสำคัญคือ การมีผู้นำ
ชุมชนที่มีความรู้และเข้มแข็ง การบริหารงานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม การมีอาชีพดังเดิมคือการทำ
การเกษตร การมีพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่จัดสรรสำหรับคนในชุมชนซึ่งติดต่อกับแหล่งนํ้่าของชุมชน
และด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดเป้าหมายคือ “การพัฒนาด้านการเกษตร” โดยได้กำหนดครัวเรือน
เป้าหมายโดยอาศัยความพร้อมและความสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากจะต้องผ่าน
กิจกรรมกระบวนการต่างๆที่จะจัดขึ้น ซึ่งหากเลือกครัวเรือนที่ยากจนแต่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ
ได้อย่างเต็มที่ก็จะส่งผลต่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพของโครงการฯ
ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์สระแก้ว จึงได้จัดทำ
โครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้
ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการ
ชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน
ให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง น ำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การปลูกผักปลอดสารพิษ
  • เกษตรอินทรีย์
  • คลองอาราง
  • จ.สระแก้ว
  • ต.บ้านแก้ง
  • วิถีชุมชนคนคลองอาราง
  • หมู่ทีี่ 16
  • อ.เมืองสระแก้ว

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 14:08 น.