การผลิตนํ้ายาอเนกประสงค์ การประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ และการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย หมู่ที่ 13 ชุมชนนวนครหน้าเมือง ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

การผลิตนํ้ายาอเนกประสงค์ การประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ และการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย หมู่ที่ 13 ชุมชนนวนครหน้าเมือง ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การผลิตนํ้ายาอเนกประสงค์ การประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ และการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย หมู่ที่ 13 ชุมชนนวนครหน้าเมือง ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 13 ชุมชนนวนครหน้าเมือง ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์วิศรุต ขวัญคุ้ม
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี คลองหลวง คลองหนึ่ง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา ประวัติหมู่บ้าน(ประวัติศาสตร์ชุมชน)
ชุมชนนวนครหน้าเมือง หมู่ที่ 13 ตำบลเทศบาลเมืองท่าโขลง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ได้จัดตั้งโดยกระทรวงมหาดไทยตามหนังสือสั่งการที่ มท 0513/ว ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2530 เรื่องการจัดตั้งชุมชนย่อยเพื่อพัฒนาเทศบาลและสุขาภิบาล และตามระเบียบเทศบาลท่าโขลง พ.ศ.2551 ชุมชนนวนครหน้าเมืองได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2543 เป็นลำดับที่ 9 ในจำนวนทั้งสิ้น 31 ชุมชน และในปี 2560 เทศบาลเมืองท่าโขลงได้เพิ่มชุมชนย่อยเป็น 36 ชุมชน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
- ชุมชนตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และเป็นเขตเศรษฐกิจของจังหวัด
- เป็นชุมชนขนาดใหญ่มีทั้งบ้านพักอาศัย อาคารพานิช ห้องเช่า และคอนโดมีเนียม
- มีกลุ่มผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและประชากรในชุมชนมีความสามัคคีกัน
- มีพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ และพื้นที่ออกกำลังกายในชุมชน
- มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีและความสัมพันธ์ในชุมชนสม่ำเสมอ
- ระบบเศรษฐกิจภายในสามารถหมุนเวียนโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเศรษฐกิจจากภายนอก
ข้อมูลประเด็นปัญหา
-ประชาชนในชุมชนมีแนวคิดที่จะรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้เสริมแต่ยังขาดองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จได้
- เนื่องจากชุมชนตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จึงทำให้มีฝุ่นละอองในชุมชนเป็นจำนวนมาก
- มีปัญหาการระบาดของยาเสพติดในชุมชน
- ชุมชนเป็นสังคมผู้สูงอายุ
- เนื่องจากมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นห้องเช่าทำให้มีประชากรแฝงในชุมชนค่อนข้างมาก
- มีปัญหาการจราจรติดขัดและปัญหาพื้นที่จอดรถในชุมชนไม่เป็นระเบียบ
- มีมลพิษทางน้ำ อากาศ และเสียง
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
- กิจกรรมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนและเยี่ยมชมชุมชนต้นแบบ เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายและและกลุ่มผู้นำชุมชนได้เรียนรู้มีความเข้าใจในการพัฒนาอาชีพเสริมภายในชุมชน และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
- กิจกรรมให้ความรู้ เสริมสร้างทักษะ และพัฒนาอาชีพเสริม เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างรายได้เสริมและลดรายจ่ายภาคครัวเรือน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้และกระบวนการในการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์และการผลิตน้ำยาเอนกประสงค์สำหรับใช้ในครัวเรือน

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

พื้นที่ชุมชนนวนครหน้าเมือง หมู่ที่ 13 ตำบลเทศบาลท่าโขลง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี คือหนึ่งในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งยังไม่มีการพัฒนาฐานข้อมูลชุมชนในรูปแบบของรายงาน (Graphic Report) หรือภาพนิ่ง (Infographics) เผยแพร่ให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่สนใจ ซึ่งการจัดทำฐานข้อมูลชุมชนเป็นกระบวนการตั้งแต่วางแผนการค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล จนถึงการจัดนำเสนอข้อมูล โดยประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโขลง ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานโดยสรุปมีดังนี้ 1) วางแผนการเก็บข้อมูลและแบ่งกลุ่มผู้รับผิดชอบข้อมูลในแต่ละหัวข้อ 2) ดำเนินการรวบรวมข้อมูล 3) วิเคราะห์ข้อมูล 4) จัดทำรูปเล่มสรุป และ 5) มอบหนังสือฐานข้อมูลชุมชนแก่องค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่อไป โดยพื้นที่ชุมชนนวนครหน้าเมือง หมู่ที่ 13 ตำบลเทศบาลท่าโขลง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้นประมาณ 300 ครัวเรือน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโขลง
กิจกรรมการจัดทำฐานข้อมูลชุมชนเป็นกิจกรรมที่นำองค์ความรู้ทุกสาขาวิชาในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาบูรณาการร่วมกันเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลชุมชน โดยข้อมูลที่ได้สามารถนำมาวิเคราะห์ในด้านต่างๆ ได้หลากหลายมิติดังนี้ 1) สภาพทั่วไปด้านกายภาพ เช่น การใช้ประโยชน์จากที่ดิน การคมนาคม แหล่งน้ำ 2) สภาพทั่วไปด้านสังคม เช่น ประชากร วัฒนธรรม ประเพณี ผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) สภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจ เช่น อาชีพและรายได้ของประชากร 4) สภาพทั่วไปด้านสุขภาพ เช่น สุขภาพของประชากรในชุมชน การเจ็บป่วย พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ 5) สภาพทั่วไปด้านการเมืองการปกครอง เช่น การมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตย หน่วยงานที่ปกครองดูแล ช่องทางการสื่อสารในชุมชน 6) สภาพทั่วไปด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะและน้ำเสีย การไฟฟ้าและประปา ภัยพิบัติ 7) สภาพทั่วไปด้านการศึกษา เช่น อัตราการเข้าเรียนของประชากรวัยเรียน การฝึกอบรมวิชาชีพ เป็นต้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติผ่านการทำงานร่วมกับชุมชน นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากงานสร้างสรรค์ วิจัย นวัตกรรม ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชนได้ ยังเป็นการฝึกให้นักศึกษามีจิตอาสา ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง เสริมทักษะด้านในบริการวิชาการทองถิ่น และเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้แก่นักศึกษา นอกจากนี้ กิจกรรมพัฒนาฐานข้อมูลชุมชนยังสอดคล้องกับโครงการในระดับมหาวิทยาลัย คือ โครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อรว่มกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังใช้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำมาคัดเลือกชุมชนสำคัญเพื่อใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น การสร้างเครือข่ายร่วมกับท้องถิ่น และการทำกิจกรรมพันธกิจสัมพันธ์ต่อไป
ดังนั้น หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงจัดทำกิจกรรมพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่ชุมชนนวนครหน้าเมือง หมู่ที่ 13 ตำบลเทศบาลท่าโขลง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นแนวทางนำร่องก่อนที่จะวางแผนพัฒนาฐานข้อมูลชุมชนต่อไป โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิหรือข้อมูลที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับชุมชนที่มีหน่วยงานอื่นได้ทำการสำรวจไว้เบื้องต้นหรือข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโขลงได้เก็บข้อมูลไว้ และจะทำการเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนนวนครหน้าเมือง โดยกิจกรรมในครั้งนี้จะนำเสนอข้อมูลในประเด็นสภาพทั่วไปของพื้นที่ ทั้ง 7 ด้าน ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งในอนาคตหนังสือ (Graphic Report) หรือภาพนิ่ง (Infographics) นี้สามารถนำมาใช้เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน ส่งเสริมการตลาดเพื่อให้เกิดการเข้าถึงสินค้าที่ชุมชนผลิตขึ้นมา และสามารถวางแผนแก้ไขปัญหาชุมชนได้ต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
  • การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
  • การประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์
  • การประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์
  • การผลิตนํ้ายาอเนกประสงค์
  • การผลิตนํ้ายาอเนกประสงค์

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2562 14:56 น.