กล้วยฉาบชุมชนระแหง หมู่ที่ 5 คลองโยธา ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

กล้วยฉาบชุมชนระแหง หมู่ที่ 5 คลองโยธา ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม กล้วยฉาบชุมชนระแหง หมู่ที่ 5 คลองโยธา ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 5 คลองโยธา ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.ภัทรพล ชุ่มมี
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว ระแหง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ตำบลระแหง เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอลาดหลุมแก้ว พื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มและสูง พื้นที่บางส่วนได้รับประกาศเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2549 มีการปกครองแบ่งเป็น 12 หมู่บ้าน สภาพโดยทั่วไปในอดีตพื้นที่ตำบลระแหง เป็นป่าพง มีสัตว์เล็กใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะมีความปลอดภัยและอาหารของสัตว์อย่างเพียงพอ ในฤดูน้ำหลากลงมาพื้นที่ตำบลนี้ จะท่วมทุกพื้นที่ ลึก-ตืน ตามสภาพของพื้นที่และในฤดูแล้ง น้ำตามธรรมชาติจะแห้งเป็นเวลาหลายวันจนกว่าจะถึงฤดูฝน จึงทำให้บริเวณช่วงน้ำดังกล่าวแตกแยกเป็นรอยทั่วๆจำนวนมาก ราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณนี้จึงเรียกขานว่า “คลองระแหง” ตั้งแต่ย้ายถิ่นฐานมา
คำว่า ระแหง จึงได้เป็นชื่อของตำบลนี้ มีความสำคัญตามหลักฐานทางราชการ เป็นที่ตั้งอำเภอ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2458 เป็นการชั่วคราว ก่อนมีชื่อว่า “อำเภอระแหง” ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2458 ได้ประกาศให้เรียกชื่ออำเภอที่สร้างใหม่ว่า อำเภอลาดหลุมแก้ว ตำบลระแหง มีความสำคัญในด้านศูนย์รวมชุมชน โดยมีลำคลองระแหง เป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าการเกษตรและสัญจรทางเรือ ซึ่งในพื้นที่ตำบลนี้มีประวัติเล่าขานกันต่อๆกันมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ถ้ำตะบีน บ้านตับผักชี มีศูนย์กลางขนส่งสินค้าเกษตรทางเรือ มีรถไฟสายระแหง-บางบัวทอง และปัจจุบันตำบลระแหงได้พัฒนาด้านสาธารณูปโภคมากมาย
ประวัติตำบลระแหง ตำบลระแหงเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอลาดหลุมแก้ว พื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มและสูง พื้นที่บางส่วนได้รับประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2449 มีการปกครองแบ่งเป็น 12 หมู่บ้าน สภาพโดยทั่วไปในอดีตพื้นที่ตำบลระแหง เป็นป่าพง มีสัตว์เล็กใหญ่ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะมีความปลอดภัยและอาหารของสัตว์อย่างเพียงพอ ในฤดูน้ำหลากลงมาพื้นที่ตำบลนี้ จะท่วมทุกพื้นที่ ลึก-ตื้น ตามสภาพของพื้นที่และในฤดูแล้ง น้ำตามธรรมชาติจะแห้งเป็นเวลาหลายวันจนกว่าจะถึงฤดูฝน จึงทำให้บริเวณช่วงน้ำดังกล่าวแตกแยกเป็นรอยทั่วๆจำนวนมาก ราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณนี้จึงเรียกขานกันว่า “คลองระแหง” ตั้งแต่ย้ายถิ่นฐานมา
คำว่า ระแหง จึงได้เป็นชื่อของตำบลนี้ มีความสำคัญตามหลักฐานทางราชการ เป็นที่ตั้งอำเภอ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2458 เป็นการชั่วคราว ก่อนมีชื่อว่า “อำเภอระแหง” ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2458 ได้ประกาศให้เรียกชื่ออำเภอที่สร้างขึ้นใหม่ว่า “อำเภอลาดหลุมแก้ว” ตำบลระแหง มีความสำคัญในด้านศูนย์รวมชุมชนโดยมีลำคลองระแหง เป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าการเกษตรจากทางเรือ ซึ่งในพื้นที่ตำบลนี้มีประวัติเล่าขานต่อๆกันมาจนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งของหมู่บ้าน/ชุมชน/ตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลระแหง อยู่ห่างจากอำเภอลาดหลุมแก้วไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 39.19 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 24,493.25 ไร่ จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ จำนวน 9 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 มีจำนวนหมู่บ้านอยู่ในเขต อบต.บางส่วน อยู่ในเขต ทต.ระแหง บางส่วน
หมู่ที่ 5 มีจำนวนหมู่บ้านอยู่ในเขต อบต.บางส่วน อยู่ในเขต ทต.ระแหง บางส่วน
หมู่ที่ 6 มีจำนวนหมู่บ้านอยู่ในเขต อบต.บางส่วน อยู่ในเขต ทต.ระแหง บางส่วน
หมู่ที่ 7 มีจำนวนหมู่บ้านเต็มทั้งหมู่บ้าน
หมู่ที่ 8 มีจำนวนหมู่บ้านอยู่ในเขต อบต.บางส่วน อยู่ในเขต ทต.ระแหง บางส่วน
หมู่ที่ 9 มีจำนวนหมู่บ้านเต็มทั้งหมู่บ้าน
หมู่ที่ 10 มีจำนวนหมู่บ้านเต็มทั้งหมู่บ้าน
หมู่ที่ 11 มีจำนวนหมู่บ้านเต็มทั้งหมู่บ้าน
หมู่ที่ 12 มีจำนวนหมู่บ้านเต็มทั้งหมู่บ้าน
และในเขตตำบลระแหงมีท้องถิ่นอื่นในตำบล 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลระแหง โดยมี
อาณาเขตติดต่อกับท้องถิ่นอื่น ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบ่อเงิน และตำบลหน้าไม้
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลคลองพระอุดม และตำบลลาดหลุมแก้ว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลคูขวาง และตำบลคูบางหลวง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหน้าไม้ และตำบลลาดหลุมแก้ว
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1. ชุมชนให้ความร่วมมือในการประชุมทุกครั้งที่เรียกประชุม
2. ชุมชนมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร เช่น การทำนา ทำสวน เลี้ยงปลา
3. มีการรวมกลุ่มของกลุ่มแม่บ้าน จึงทำให้เกิดความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เกิดความสามัคคี
4. พื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเกษตร ประชาชนสามารถผลิตผลทางการเกษตรได้ตลอดปี
5. พื้นที่ใกล้กรุงเทพฯ สามารถติดต่อซื้อขายพืชผลทางการเกษตรได้สะดวกสบาย
6. สิ่งอำนวยความสะดวกของหน่วยราชการ อบต.ระแหง มีการคลอบคลุมพื้นที่การให้บริการ เช่น มีรถดับเพลิง มีรถบรรทุกขยะในชุมชน บริการอินเตอร์เน็ต หน่วยกู้ชีพฉุกเฉิน ศูนย์ อปพร. อบต.ระแหง ศูนย์เรียนรู้ชุมชน (กศน.) ห้องสมุดชุมชนตำบลระแหง
7. มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เช่น ถนน, การะประปา มีโทรศัพท์สาธารณะ/โทรศัพท์บ้าน, มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน มีการให้บริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง
8. ประชาชนส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง
9. มีกลุ่มอาชีพเกษตรที่เข้มแข็ง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
1. ไม่มีการรองรับงานคนยากจนอย่างเป็นทางการ
2. ผู้สูงอายุมีรายได้ไม่พอเพียงต่อเดือน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง
3. ประชาชนสวนมากทำนา แต่ไม่พอกับค่าใช้จ่าย เนื่องจากข้าวราคาถูก ต้นทุนสูง
4. ประชากรมีรายได้ไม่แน่นอนมีรายได้ตามฤดูกาล
5. มีปัญหาในการดูแลลูกหลาน เนื่องจากรายได้ไม่พอเพียง
6. ค่าครองชีพที่สูงขึ้น
7. กลุ่มอาชีพต่างๆ ในตำบลระแหงขาดงบประมาณสนับสนุนด้านการบริหารจัดการ และสนับสนุนสินค้าสู่มาตรฐานสากล
8. ประชาชนมีหนี้สินภาครัฐ/และเอกชนเพิ่มขึ้น
9. การโยกย้ายถิ่นฐานของประชากรหรือที่อยู่อาศัย
10. ต่างด้าวได้เข้ามาขายแรงงานในเขตพื้นที่ ตำบลระแหงเป็นจำนวนมาก เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการทางด้านสาธารณสุข และป้องกันอาชญากรรมในท้องที่ รวมถึงการระบาดของยาเสพติด
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
หาช่องทางการเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านนอกเหนือจากการทำเกษตรหรือรับจ้างทั่วไป เช่น การสร้างกลุ่มแม่บ้าน สร้างกลุ่มอาชีพ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้การสร้างตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ และการถนอมอาหาร

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560 ถึง ปี 2579 โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ก็ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๗ ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอก เพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น มีกลไกสนับสนุนการปฏิบัติพันธกิจแบบบูรณาการเพื่อท้องถิ่นตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาบริการวิชาการ การเรียน การสอน และการวิจัย โดยมีกระบวนการ/วิธีการ มีนโยบายสนับสนุน มีองค์ความรู้ มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชน และสังคม ซึ่งเป็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการที่จะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน โดยการออกแบบการทำงานเพื่อสร้างกลไกเชิงระบบที่เชื่อมงานประกันคุณภาพองค์กรกับการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้มีการสานพลังจากทุกคณะร่วมกับองค์กรภาคี มีการยกระดับคุณภาพงานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม และเกิดการพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพงานวิชาการเพื่อสังคม
นอกจากนี้ด้วยแนวคิดพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) จากปรัชญาการสร้างปัญญาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ถูกถ่ายทอดเป็นวิสัยทัศน์ไปสู่การทำงานของสถาบันการศึกษาร่วมกับภาคีในพื้นที่ (Engagement) ที่มุ่งหมายหวังผลที่จะตอบปัญหาของชุมชนหรือสังคมเฉพาะที่ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น พันธกิจนี้จะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมืออย่างแท้จริงของทุกภาคส่วนทั้งในระดับมหาวิทยาลัยด้วยกันเองและระดับมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามหลักพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยกับสังคม โดยให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ซึ่งมหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนด้วยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิชาการเข้ากับแนวปฏิบัติที่ดีที่เป็นศักยภาพของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้
การบริการวิชาการแก่สังคมถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นการทำงานเชิงวิชาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมในพันธกิจหลักทุกด้านของมหาวิทยาลัยบน หลักการพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ 1) ร่วมคิดร่วมทำแบบหุ้นส่วน (Partnership) 2) เกิดประโยชน์ร่วมกัน แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual benefit) 3) มีการใช้ความรู้และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (Scholarship) และ 4) เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ (Social impact) โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้นและสร้าง Engaged Citizens ซึ่งรวมถึงนักศึกษา บัณฑิต และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้สังคม หมายรวมถึง กลุ่มบุคคล ที่อาจเชื่อมโยงกับชุมชนทั้งในมิติของพื้นที่ ความสนใจร่วมกัน อัตลักษณ์ สถานที่ทำงาน ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ หรืออยู่ในภาคส่วนเดียวกัน ชุมชน นักปฏิบัติ ชุมชนที่มีความสนใจร่วมกัน โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในเชิงพื้นที่ ภูมิภาค และประเทศ รวมถึงภาคธุรกิจอุตสาหกรรมสมาคมวิชาชีพ โรงเรียน รัฐบาล ศิษย์เก่า และชุมชนพื้นเมือง เป็นต้น
ดังนั้นการสำรวจความต้องการและศึกษาบริบทของหมู่บ้านระแหง หมู่ 5 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมและพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์สนับสนุนการพัฒนาประชารัฐที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ดำเนินการตามแผนงานงานวิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งานเครือข่ายร่วมมือในประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนางานตามภารกิจ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3 วิจัย บริการวิชาการ อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และเพื่อเป็นการขับเคลื่อนงานวิชาการรับใช้สังคมตามแนวทางปฏิบัติบนหลักการพื้นฐานของพันธกิจเพื่อสังคม จึงต้องดำเนินการสำรวจความต้องการของชุมชนเพื่อให้ทราบถึงความต้องการโดยแท้จริงของชุมชนและต่อยอดไปสู่การดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์ต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กล้วยฉาบ
  • คลองโยธา
  • จ.ปทุมธานี
  • ชุมชนระแหง
  • ต.ระแหง
  • หมู่ที่ 5
  • อ.ลาดหลุมแก้ว

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2562 11:07 น.