การผลิตปลาร้าผง ปลาร้าก้อน ปลาร้าทรงเครื่องและนํ้าปลาร้า (กลุ่มระแหงนัวร์ ) หมู่ที่ 4 ระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

การผลิตปลาร้าผง ปลาร้าก้อน ปลาร้าทรงเครื่องและนํ้าปลาร้า (กลุ่มระแหงนัวร์ ) หมู่ที่ 4 ระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การผลิตปลาร้าผง ปลาร้าก้อน ปลาร้าทรงเครื่องและนํ้าปลาร้า (กลุ่มระแหงนัวร์ ) หมู่ที่ 4 ระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 4 ระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์แพรวพรรณ สุวรรณพงศ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว ระแหง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ผลการศึกษาชุมชนเบื้องต้นจากกลุ่มตัวอย่างจ ำนวน 100ครัวเรือน รวม 366 คน
 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
เพศ: ชาย จำนวน 33 คน เพศหญิงจ านวน 67 คน
อายุ: ตํ่ากว่า 30 ปี จ านวน 4 คน
สูงกว่า 30 ปี จำนวน 96 คน
ศาสนา: ทั้งหมดนับถือศาสนา พุทธ
การศึกษา: ประชากรผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา คิดเป็น 38 %
จบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 23%
จบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 14%
อื่นๆ 25 %
อาชีพ: ประชากรผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป คิดเป็น 22%
ประกอบอาชีพ ค้าขาย 21%
ไม่ได้ประกอบอาชีพ 16 %
อื่นๆ 41 %
รายได้เฉลี่ย: ประชากรผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระหว่าง15001-30000 บาท คิด
เป็น 31%
10000-15000 บาท คิดเป็น 10%
สถานภาพของผู้ให้สัมภาษณ์: เป็นหัวหน้าครัวเรือน 49 % และเป็นคู่สมรสของหัวหน้าครัวเรือน 24 คน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1. เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งมีความสามัคคีในการร่วมกันทำงานในชุมชนดีโดยมีกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัย
กลางคนเป็นจำนวนมากที่มีจิตอาสาในการช่วยงาน
2. อสม.ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
3. ชุมชนให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ เช่น กิจกรรมทำบุญปีใหม่ กิจกรรมวันสงกรานต์ เป็น
ต้น
4. ในชุมชนมีตลาดร้อยปีระแหงให้จัดจำหน่ายสินค้าในชุมชนได้เอง
5. สมาชิกในชุมชนบางส่วนสามารถระดมเงินทุนได้เองในการทำธุรกิจ
6. สมาชิกส่วนหนึ่งในชุมชนสามารถทำสินค้าขึ้นมาขายได้เอง เช่น ขนมหวาน ขนมไทย
7. ชุมชนสามารถปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ซึ่งถือเป็นสินค้า OTOP ที่สำคัญของชุมชน
8. ในชุมชนมีสถานที่ท่องเที่ยว คือ วัดบัวแก้วเกษรซึ่งมีหลวงพ่อดำ ที่มีคนนับถือเป็นจำนวนมาก
9. ทางด้านสาธารณสุขของชุมชนมีการจัดรวมกลุ่มกันออกกำลังกาย เช่น การเต้นแอโรบิคแดนซ์กลางแจ้ง
เต้นบัดสลบ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
1.ปัญหาของชุมชนส่วนใหญ่คือ การขาดการรวมกลุ่ม และปัญหาเศรษฐกิจ
2.ขาดการประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จัดชุมชน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ต้องการเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านนอกเหนือจากการทำ
เกษตรหรือรับจ้างทั่วไป เช่น การสร้างกลุ่มแม่บ้าน สร้างกลุ่ม
อาชีพ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้เรื่องการแปรรูป

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ด้วยแนวคิดพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) จากปรัชญาการสร้างปัญญา
เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ถูกถ่ายทอดเป็นวิสัยทัศน์ไปสู่การทำงานของสถาบันการศึกษาร่วมกับภาคีในพื้นที่
(Engagement) ที่มุ่งหมายหวังผลที่จะตอบปัญหาของชุมชนหรือสังคมเฉพาะที่ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น
พันธกิจนี้จะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมืออย่างแท้จริงของทุกภาคส่วนทั้งในระดับมหาวิทยาลัยด้วยกันเองและระดับ
มหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้
ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามหลักพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยกับสังคม โดยให้
ความสำคัญกับการแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ซึ่งมหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมการ
เรียนรู้ของชุมชนด้วยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิชาการเข้ากับแนวปฏิบัติที่ดีที่เป็นศักยภาพของชุมชน เพื่อให้
ชุมชนสามารถยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้
การบริการวิชาการแก่สังคมถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นการทำงานเชิงวิชาการ
ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมในพันธกิจหลักทุกด้านของมหาวิทยาลัยบน หลักการพื้นฐาน 4 ประการ
ได้แก่ 1) ร่วมคิดร่วมทำแบบหุ้นส่วน (Partnership) 2) เกิดประโยชน์ร่วมกัน แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual
benefit) 3) มีการใช้ความรู้และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (Scholarship) และ 4) เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้
(Social impact) โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้นและสร้าง Engaged Citizens
ซึ่งรวมถึงนักศึกษา บัณฑิต และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้สังคม หมายรวมถึง กลุ่มบุคคล ที่อาจเชื่อมโยงกับ
ชุมชนทั้งในมิติของพื้นที่ ความสนใจร่วมกัน อัตลักษณ์ สถานที่ทำงาน ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันทั้งที่เป็นทางการและ
ไม่เป็นทางการ หรืออยู่ในภาคส่วนเดียวกัน ชุมชน นักปฏิบัติ ชุมชนที่มีความสนใจร่วมกัน โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งใน
เชิงพื้นที่ ภูมิภาค และประเทศ รวมถึงภาคธุรกิจอุตสาหกรรมสมาคมวิชาชีพ โรงเรียน รัฐบาล ศิษย์เก่า และชุมชน
พื้นเมือง เป็นต้น
ดังนั้นการสำรวจความต้องการและศึกษาบริบทของหมู่บ้านระแหง หมู่ 4 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุม
แก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมและพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์สนับสนุนการ
พัฒนาประชารัฐที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ดำเนินการตามแผนงานงานวิจัย
บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปฯ งานเครือข่ายร่วมมือในประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนางานตามภารกิจ ซึ่ง
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3 วิจัย บริการวิชาการ อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และเพื่อ
เป็นการขับเคลื่อนงานวิชาการรับใช้สังคมตามแนวทางปฏิบัติบนหลักการพื้นฐานของพันธกิจเพื่อสังคม จึงต้อง
ดำเนินการสำรวจความต้องการของชุมชนเพื่อให้ทราบถึงความต้องการโดยแท้จริงของชุมชนและต่อยอดไปสู่การ
ดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์ต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กลุ่มระแหงนัวร์
  • นํ้าปลาร้า
  • ปทุม
  • ปลาร้าก้อน
  • ปลาร้าทรงเครื่อง
  • ปลาร้าผง
  • ระแหง
  • ลาดหลุมแก้ว
  • หมู่ที่ 4

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2562 10:40 น.