การพัฒนาและการยกระดับการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

การพัฒนาและการยกระดับการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาและการยกระดับการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
หน่วยงานร่วม องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง
ชื่อชุมชน ชุมชนบ้านปงไคร้
ชื่อผู้รับผิดชอบ นายอนาวิน สุวรรณะ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 128 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางสาวกฤติกา อินตา
นายทศพร ไชยประคอง
นายเศวต ชลเขต
นายสุรินทร์ เขื่อนขัน
นายปั๋นแก้ว ตะติยา
การติดต่อ 08-1168-8466
ปี พ.ศ. 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 80,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
เชียงใหม่ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
สภาพภูมิประเทศของบ้านปงไคร้มีลักษณะเป็นภูเขา และสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดปีในฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 8–20 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20–32 องศาเซลเซียส และฤดูฝนอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 18–27 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 9 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 20 องศาเซลเซียส (สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16, 2553)
ชุมชนบ้านปงไคร้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลโป่งแยงอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,030 เมตร พิกัดทหารระวาง 47461 ที่ 795708 พื้นป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขาทางทิศเหนือของหมู่บ้านจัดเป็นป่าต้นน้ำ เรียกว่า “พุย” เป็นลำห้วยสำคัญคือ ห้วยดงในหรือเรียกตามชื่อหมู่บ้านว่า ห้วยปงไคร้ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพียงแหล่งเดียวและปัจจุบันยังไม่มีแหล่งน้ำอื่นเข้ามาทดแทน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ มีลักษณะเป็นป่าโปร่งและมีไม้ไผ่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ดินมักเป็นดินร่วนปนทรายเป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 800 เมตรต้นไม้ส่วนใหญ่จะทิ้งใบไม้ในฤดูแล้งเพราะสภาพความชื้นในดินที่ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตซึ่งจะทำให้เกิดไฟป่าเกิดขึ้นแทบทุกปีไม้เนื้อแข็งที่มีค่าทางเศรษฐกิจจะอยู่ในป่าประเภทนี้โดยเฉพาะไม้สักไม้มะค่าโมงประดู่ไม้ชิงชันไม้แดงตะแบกส่วนไม้ชั้นล่างประกอบด้วย ปรง ปาล์ม กล้วยไม้เถาวัลย์ต่าง ๆ รองลงมา คือ ป่าดิบเขาเป็นป่าชนิดไม่ผลัดใบ ขึ้นอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่1000 เมตรขึ้นไปมีความโปร่งมากกว่าป่าดงดิบ เพราะมีพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่ขึ้นน้อยกว่าแต่จะเขียวชอุ่มตลอดปี มีอากาศเย็น ความชื้นสูงเป็นป่าที่มีความสำคัญต่อต้นน้ำลำธารเป็นอย่างมาก พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่
ไม้ในวงศ์ก่อกำยาน อบเชย ไม้ชั้นล่างมีตระกูลกุหลาบป่า ผักกูด กล้วยไม้ดิน มอสชนิดต่างๆ
หรือข้าวตอกฤาษี เป็นต้น
องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้รับงบประมาณให้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์ฟ้ามุ่ย
แบบบูรณาการ ประกอบไปด้วยการศึกษาวิจัยทางด้านนิเวศวิทยาและชีววิทยา เพื่อให้เข้าใจการดำรงชีวิต
ของฟ้ามุ่ยในสภาพธรรมชาติ พร้อมทั้งศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของฟ้ามุ่ย และยังศึกษา
ผลของสารอาหารและสารเร่งการเจริญเติบโตของต้นกล้าฟ้ามุ่ย นอกจากนี้ยังทำ การศึกษาอัตราการ
อยู่รอดหลังปล่อยฟ้ามุ่ยในสภาพกึ่งธรรมชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและผลักดันให้เป็นหมู่บ้านฟ้ามุ่ยรองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอนาคต เป้าหมายของโครงการศึกษาวิจัยชุดนี้ คือ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยการสร้างองค์ความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งมีหมู่บ้านปงไคร้ เป็นพื้นที่หมู่บ้านฟ้ามุ่ยต้นแบบ ซึ่งเป็นพื้นที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของฟ้ามุ่ยตามธรรมชาติได้ผลดี เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญของฟ้ามุ่ย
หมู่บ้านปงไคร้กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ฟ้ามุ่ยที่หลากหลาย ได้แก่ การปล่อยต้นแม่พันธุ์ฟ้ามุ่ย เพื่อฟื้นฟูประชากรธรรมชาติ การเพาะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ การปลูกเลี้ยงต้นกล้าในโรงเรือน นอกจากนั้นกลุ่มชาวบ้านยังได้มีโอกาสไปร่วมงานนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่กิจกรรม
ของกลุ่ม รวมถึงมีกลุ่มนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาดูงาน อีกทั้งยังเสริมสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มชาวบ้าน โดยการนำต้นกล้ากล้วยไม้บางส่วนไปจำหน่าย นับเป็นการก้าวเดินไปสู่การเป็นหมู่บ้านฟ้ามุ่ย
ที่มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การพัฒนาและการยกระดับการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบทอดวัฒนธรรม รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งพื้นที่ชุมชนบ้านปงไคร้เป็นป่าต้นน้ำที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ภายในชุมชนมีการอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยและกล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด โดยมีองค์กรและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาศึกษาเรียนรู้และท่องเที่ยวในชุมชน แต่รูปแบบของกิจกรรมการท่องเที่ยวและการดำเนินงานของชุมชนยังต้องการให้มีการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยการค้นหาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านปงไคร้ ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบของกิจกรรมการท่องเที่ยวและวางแผนการดำเนินการท่องเที่ยวด้วยตนเอง
ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่นและเกิดการพึ่งพาตนเองอย่างแท้จริง
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
พื้นที่บ้านปงไคร้ เป็นป่าอนุรักษ์และป่าต้นน้ำที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ทางการเกษตร
และชุมชนมีอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยและกล้วยไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด โดยมีกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ ได้แก่ การปล่อยต้นแม่พันธุ์ฟ้ามุ่ยเพื่อฟื้นฟูประชากรในธรรมชาติ การเพาะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ การปลูกเลี้ยงต้นกล้าในโรงเรือน ซึ่งกลุ่มชาวบ้านยังได้มีโอกาสไปร่วมงานนิทรรศการ
เพื่อเผยแพร่กิจกรรมการอนุรักษ์กล้วยไม้ รวมถึงมีกลุ่มนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาศึกษา
ดูงาน อีกทั้งยังเสริมสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มชาวบ้านจากการนำต้นกล้ากล้วยไม้บางส่วนไปจำหน่าย
ซึ่งต้นทุนทางทรัพยากรของชุมชนจะเป็นแรงผลักดันและพลังในการแบ่งงานกันทำจะช่วยสร้างโอกาสทางการท่องเที่ยวโดยชุมชุนมีส่วนร่วม พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจถึงข้อดีข้อเสียร่วมกันของคนในชุมชน เมื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนได้เองแล้ว จึงค่อยขยายการดำเนินงานออกสู่สังคมภายนอก ดังนั้นชุมชนจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกับทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของตน รวมถึงการคงอยู่ของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นหลัก

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การรวบรวมข้อมูลสถานภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่เป้าหมาย คือชุมชนบ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ แนวคิดและหลักการของการวิจัยแบบมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของชุมชนในระดับท้องถิ่น การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการชื่นชมอย่างสร้างสรรค์ (Appreciation Influence Control: AIC) ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับชุมชน ได้แก่ 1) ผู้แทนหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง 2) ผู้นำชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น 3) ประชาชนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว 4) ผู้ประกอบ การเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพทางการท่องเที่ยวของชุมชน การพัฒนาและการยกระดับการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พร้อมทั้งสำรวจทัศนคติและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวในพื้นที่
ด้วยมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Anavin_912 Anavin_912 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 11:02 น.