สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชุมติดตามการประเมินผล3 พฤษภาคม 2024
3
พฤษภาคม 2024รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • 3.5.1.jpg
  • 3.5.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

• รายงายผลการดำเนินงานการประเมินโครงการ • วางแผนการดำเนินงานในระยะถัดไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในงานประเมิน มีทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่
1. แบบสัมภาษณ์พี่เลี้ยงหลัก
กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้รับผิดชอบหลักตามโครงสร้างกลไกการบริการโครงการฯ (พี่เลี้ยงระดับเขต/จังหวัด) ทั้ง 13 เขตสุขภา 2. แบบสัมภาษณ์/สนทนากลุ่มสำหรับพี่เลี้ยงพื้นที่
กลุ่มผู้ให้ข้อมูล  คือ พี่เลี้ยงระดับอำเภอ และพี่เลี้ยงระดับกองทุน 3. แบบสอบถามประเมินศักยภาพ/สมรรถนะพี่เลี้ยง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ พี่เลี้ยงทุกคน ทุกระดับ (พี่เลี้ยงระดับเขต จังหวัด อำเภอ และกองทุน) ทั้ง 13 เขตสุขภาพ 4. แบบสอบถามประเมินศักยภาพ/สมรรถนะเครือข่ายกองทุน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ เครือข่ายกองทุน ประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุน เจ้าหน้าที่กองทุน ผู้เสนอโครงการกองทุน ในพื้นที่เขตสุขภาพทั้ง 13 เขต ณ ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือชุดที่ 3 และ 4
แผนการดำเนินงานการประเมินโครงการ วัน/เดือน/ปี เดิม วัน/เดือน/ปี ปรับ กิจกรรม
28 มีนาคม 2567 นัดพี่เลี้ยงระดับเขต ชี้แจงเครื่องมือประเมิน และแนวทางในการจัดเก็บข้อมูล 27-31 มีนาคม 2567 บัดนี้ ถึง กรกฎาคม 2567 เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ ชุดที่ 3 ,ชุดที่ 4 (รอบแรก) 1-6 เมษายน 2567 เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ ชุดที่ 3 ,ชุดที่ 4 (รอบตก) 7-24 เมษายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์
27-30 เมษายน 2567 นัดหมายกลุ่มเป้าหมายเพื่อ สนทนากลุ่ม (Focus groups) 1-7 พฤษภาคม 2567 สนทนากลุ่ม ในกลุ่มพี่เลี้ยงระดับเขต 8-22 พฤษภาคม 2567 สนทนากลุ่ม  ในกลุ่มพี่เลี้ยงระดับพชอ. (3 กลุ่ม) 23 –31 พฤษภาคม 2567 ดำเนินการถอดเทป ตรวจสอบความสมบูรณ์ของผลการศึกษา 1 มิถุนายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำร่างรายงาน 29 กรกฎาคม 2567 ส่งร่างรายงาน 2 กรกฎาคม 2567 1 สิงหาคม 2567 รายงานความก้าวหน้ารอบที่ 2
17-19 กรกฎาคม 2567 14-16 สิงหาคม 2567 จัดเวทีทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ กรกฎาคม-สิงหาคม 2567 - ทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ 13 สิงหาคม 2567 23 สิงหาคม 2567 ส่งร่างรายงาน สนส. 30 สิงหาคม 2567 30 สิงหาคม 2567 ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์

อบรมการเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน19 เมษายน 2024
19
เมษายน 2024รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • ลลล.png
  • 19.4.7.jpg
  • 19.4.2.jpg
  • 19.4.6.jpg
  • 19.5.jpg
  • 19.4.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

• อบรมการเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน 1) การออกรหัสให้คนเก็บข้อมูล
2) การเก็บแบบสอบสำหรับบุคคล
3) การเก็บแบบสอบถามสำหรับครัวเรือน
4) การเก็บแบบสอบถามสำหรับชุมชน
• แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน • วางแผนการดำเนินงานในระยะถัดไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ผู้เข้าร่วมอบรมรู้แนวทางการเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน
o เก็บข้อมูลสถานการณ์สำหรับใช้ในการจัดทำแผนและพัฒนาโครงการในระดับท้องถิ่น/ชุมชน ใน 10 ประเด็น ได้แก่ กิจกรรมทางกาย ขยะ มลพิษทางอากาศ PM2.5 ยาสูบ สุรา สารเสพติด อาหาร สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ และความปลอดภัยทางถนน
o เครื่องมือเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับบุคคล แบบสอบถามสำหรับครัวเรือน และแบบสอบถามสำหรับชุมชน โดยมีเจ้าหน้าที่กองทุนฯ/อสม./ผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้สอบถามข้อมูลตามแบบสอบถาม และบันทึกข้อมูล o รูปแบบการเก็บข้อมูล 1. แบบสอบถามสำหรับบุคคล เก็บข้อมูลรายบุคคลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน จำนวน 200 ชุดขึ้นไป โดยกำหนดจำนวนการเก็บข้อมูลจากประชาชนในแต่ละช่วงอายุ ดังนี้ ช่วงอายุ 5-15 ปี จำนวน 50 ชุดขึ้นไป ช่วงอายุ 16-25 ปี จำนวน 50 ชุดขึ้นไป ช่วงอายุ 26-64 ปี จำนวน 50 ชุดขึ้นไป อายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 50 ชุดขึ้นไป ทั้งนี้ ควรเก็บข้อมูลให้กระจายครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/พื้นที่ในชุมชน ตามสัดส่วนจำนวนประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน/พื้นที่ 2. แบบสอบถามสำหรับครัวเรือน เก็บข้อมูลจากหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนสมาชิกครัวเรือน (ครัวเรือนละ 1 ชุดเท่านั้น) จำนวน 100 ชุดขึ้นไป
ทั้งนี้ ควรเก็บข้อมูลให้กระจายครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/พื้นที่ในชุมชน ตามสัดส่วนจำนวนครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้าน/พื้นที่ 3. แบบสอบถามสำหรับชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่จากผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาล (รพ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเกษตรอำเภอ) และฐานข้อมูลออนไลน์ (เช่น คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข) ชุมชนละ 1 ชุดเท่านั้น • กำหนดให้แต่ละกองทุนเก็บข้อมูลรอบที่ 2 ให้ครบตามจำนวนไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2567

อบรบเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการกองทุน21 กุมภาพันธ์ 2024
21
กุมภาพันธ์ 2024รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • 21.9.jpg
  • 21.1.jpg
  • 21.10.jpg
  • 21.1.jpg
  • 21.7.jpg
  • 21.6.jpg
  • 21.9.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ชี้แจ้งวัตถุประสงค์ และสิ่งที่ได้รับในการทำแผน
  • แผนที่ต้องการ อย่างน้อย 2 แผนต่อกองทุน และต้องได้ข้อเสนอนโยบายของกองทุน
  • อธิบายรายละเอียดการเขียนโครงการในเว็บกองทุน
  • สรุปติดตามการดำเนินผล
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดการ – พัฒนา/แก้ไขปัญหา
1. สถานกาณ์ เรื่องนั้น
2. วางเป้าหมายให้บรรลุ 3. จะดำเนินการหรือวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร 4. ประเมินผลว่า บรรลุเป้าแล้วยัง แล้วทำไมบรรลุและไม่บรรลุ  ทั้งนี้ต้องมีปัจจัยนำเข้า
ชี้แจงการเขียนโครงการรายละเอียดในตัวโครงการ - รายงานกิจกรรม ผลการบันทึกกิจกรรม ดำเนินกิจกรรม บรรลุเป้าหมายตามกระบวนการทำงาน
- ฝึกการประเมินคุณค่าโครงการ - การติดตามและเปลี่ยนสถานะ ต้องเพิ่มและออกแบบรหัสโครงการ - ทำ  TOR ในระบบเป็นการทำอัตโนมัติ
- ประมวลการขอเบิก - รายงานฉบับสมบูรณ์อยู่ในเมนูกิจกรรม
การประเมินโครงการ - เพื่อตอบตัวชี้วัดเชิงปริมาณ - คนเข้าร่วม ได้รับความรู้และการเปลี่ยนแปลงไหม - แบบประเมิน มี  6 แบบ ทั้งวิเคราะห์ และคุณค่าโครงการ ** ทั้งนี้ต้องประเมินใช้วิธีที่ 5 สอบถามทั้งสองฝ่าย
ขั้นตอนการประเมินแบบที่ 5
1. ด้านที่ 1 โครงการมีนวัตกรรมใหม่ไหมในการพัฒนาส่งเสริมชุมชน 2. โครงการมีการปรับเปลี่ยนความเป็นอยู่ไหม 3. สุขภาวะทางปัญญา

ประชุมหารือการทำสื่อเสนอบทเรียนที่ดีจากการดำเนินโครงการ9 กุมภาพันธ์ 2024
9
กุมภาพันธ์ 2024รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • ลล133.jpg
  • ลล 1.jpg
  • ลล12.jpg
  • ลล17.jpg
  • ลล 1.jpg
  • ลล166.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • หารือและวางแผนการจัดทำสื่อ VDO ในพื้นที่เขต 10
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่ที่เลือกในการจัดทำสื่อ VDO นำเสนอบทเรียนที่ดีจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ พื้นที่เขต 10 อบต.สร้างถ่อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เนื่องจากเป็นพื้นที่กองทุนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบที่มีความน่าสนใจ มีการทำ MOU ตั้งแต่เข้าร่วมโครงการในระยะแรก ประเด็นในพื้นที่ที่น่าสนใจ ได้แก่ ประเด็นมลพิษทางอากาศ ขยะ อาหาร ฯลฯ

อบรมเชิงปฏิบัติการการทำแผนอำเภอ7 กุมภาพันธ์ 2024
7
กุมภาพันธ์ 2024รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • 7.6.jpg
  • 7.9.jpg
  • 7.2.jpg
  • 7.3.jpg
  • 7.5.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แนะนำการทำแผน การเลือกพื้นที่
  • การเก็บข้อมูลและสถานการณ์
  • การสร้างแผนอำเภอ ขั้นตอนการทำแผนอำเภอ / ต้องเป็นเทนเนอร์
  1. แผนอำเภอ กดแทบข้างล่าง สร้างแผนอำเภอ
  2. เลือกเมนูแบ่งบัน เพื่อเพิ่มเทนเนอร์ในการรับผิดชอบ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชี้แจ้งขั้นตอนการทำแผน
  • หารือปัญหาและหาข้อสรุป
ประชุมติดตามประเมิน และรายงานความก้าวหน้าให้กับ พชอ. จ.พัทลุง25 มกราคม 2024
25
มกราคม 2024รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • สนส 444.jpg
  • สนส.jpg
  • สมนึก1.jpg
  • สนส 444.jpg
  • สน่นย5.jpg
  • สน.jpg
  • สมนึก.jpg
  • สมนึด.jpg
  • สนส 4.jpg
  • สนม.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 25 มกราคม 2567
- ทบทวนแผนงานกองทุนปี 2567
- ทบทวนโครงการปี 2567
วันที่ 26 มกราคม 2567
- ความก้าวหน้าโครงการที่พัฒนาโครงการที่อนุมัติโครงการที่ตอบสนองนโยบาย พชอ
- พัฒนาโครงการบริหารจัดการกองทุน
- วางแผน แบ่งงานเพื่อการดำเนินงานในกิจกรรมต่อ ๆ ไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ความสมบูรณ์ของแผนงาน ปี 2567 จำนวน 153 แผนงาน จาก 14 กองทุน
  2. โครงการที่พัฒนาผ่านเว็บ ปี 2567 เฉพาะ 10 แผนงานที่กำหนดในโครงการการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน  และ 2 แผนงานที่เป็นยุทธศาสตร์ พชอ.กงหรา รวมจาก 14 กองทุน จำนวน 129 โครงการ
  3. โครงการที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการปี 2567 เฉพาะ 10 แผนงานที่กำหนดในโครงการการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน รวมจาก 14 กองทุนจำนวน 30 โครงการ ส่วนที่อยู่ในแผนที่นอกเหนือเพราะเป็นยุทธศาสตร์ของ พชอ.กงหรา  13 โครงการ
  4. โครงการที่ตอบยุทธศาสตร์ พชอ.(ศรีนครินทร์) ที่ได้รับอนุมัติ

- แผนงานกิจกรรมทางกายจำนวน  7 โครงกร รวมงบประมาณ  97,000 บาท
- แผนงานอาหารและโภชนาการ จำนวน 2 โครงการ  รวมงบประมาณ  52,650 บาท 5. โครงการที่ตอบยุทธศาสตร์ พชอ.(กงหรา) ที่ได้รับอนุมัติ - แผนงานสุขภาพจิต จำนวน  0 โครงกร รวมงบประมาณ  0  บาท
- แผนงานผู้สูงอายุ จำนวน 2 โครงการ  รวมงบประมาณ  25,000 บาท - แผนงานโรคเรื้อรัง จำนวน 3 โครงการ  รวมงบประมาณ  35,000 บาท 6. พี่เลี้ยงกองทุน คณะทำงานระดับพื้นที่ที่ได้รับพัฒนาให้ใช้เว็บได้ 83 คน

ประชุมความก้าวหน้าและพัฒนาแบบสอบถามทีมประเมิน9 มกราคม 2024
9
มกราคม 2024รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • 9 มค 67.jpg
  • 9 มค 67 1.2.jpg
  • 9 มค 67 1.1.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทีมประเมินเสนอเครื่องมือเก็บข้อมูล
  • ทีม สนส.ม.อ. ให้คำแนะนำ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ให้ทีมประเมินปรับกรอบการประเมิน ดังนี้ กล่อง 1 ประสิทธิผลการดำเนินงานของทีมหลักระดับเขต 1. ท่านเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ? 2. แต่ละเขตทำให้เกิดการบรรลุตัวชี้วัดตามที่กำหนดในโครงการหรือไม่ (ระบุตัวชี้วัดย่อย พชอ.ต้นแบบ) และการส่งผลงานตามงวด/ที่กำหนด
3. เกิดต้นแบบดีๆ ที่ไหน อย่างไรบ้าง แต่ละเขต พชอ.ดีๆ รูปแบบการบูรณาการกลไกตำบลและอำเภอ กล่อง 2 ประสิทธิภาพ ดู Input 1. คน –
a. พี่เลี้ยง (เขต จังหวัด อำเภอ ตำบล/กองทุน)
i. การวางกลไกการทำงาน workflow
ii. การสื่อสารภายในทีม
iii. การพัฒนาศักยภาพ สมรรถนะก่อน-หลัง การ coaching เรื่องสร้างเสริมสุขภาพ 10 ประเด็น  สถานการณ์สุขภาพ ความเข้าใจการทำแผน ทำโครงการ ติดตามประเมินผล (ประเด็นนี้ ประเมินทุกคน) b. กองทุนฯ (เจ้าหน้าที่ ผู้เสนอโครงการ (รพ.สต./ชาวบ้าน/....)) ศักยภาพ สมรรถนะก่อน-หลัง สถานการณ์สุขภาพ การเก็บข้อมูลสถานการณ์ ความเข้าใจการทำแผน ทำโครงการ ติดตามประเมินผล (สุ่มเลือก ให้ทีมพี่เลี้ยงช่วยประสาน/เลือก) i. กรรมการ ถามความร่วมมือในการทำงาน การอนุมัติแผน การติดตามประเมินผล 2. เครื่องมือ ได้แก่ คู่มือ เว็บไซต์ 3. กระบวนการทำงาน การออกแบบการทำงาน (1. แต่ละเขตมีการออกแบบการทำงานเหมือน/ต่างกันอย่างไร 2. กระบวนการทำงานของโครงการใหญ่สอดคล้องกับการทำงานในระดับพื้นที่อย่างไร)
4. งบประมาณ การจัดการด้านเอกสาร ความเสี่ยงด้านการเงิน การบริหารจัดการด้านการเงินเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คาดหวัง การบูรณาการงบกับแหล่งทุนอื่น หน่วยงานอื่น กล่อง 3 ถอดบทเรียน ปัญหา อุปสรรค ปัจจัยสนับสนุน

ประชุมชี้แจงแนวทางการทำงานชองทีมประเมิน และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแบบสอบถามข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน5 มกราคม 2024
5
มกราคม 2024รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • 5.11111.jpg
  • 5.33333.jpg
  • 5.222222.jpg
  • 5.6666.jpg
  • 5.4444.jpg
  • 5.11111.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แนะนำคณะทำงานแต่ละเขต และพี่เลี้ยงกองทุน
  • แนะนำทีมประเมิน/และคณะทำงานส่วนกลาง
  • ชี้แจงกรอบความคิด
  • ชี้แจงปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ
  • ข้อเสนอแนะ
  • สรุปและผลที่ได้รับ
  • ข้อคำถาม/ปัญหา
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ให้ทีมประเมินปรับเครื่องมือการประเมินให้สอดคล้องกับความต้องการของโครงการใหญ่
  • คณะทำงานจาก สนส.ม.อ.ปรับแบบสอบถามบางข้อให้เข้าใจง่ายขึ้น และระบุแหล่งเก็บข้อมูลสำหรับแบบสอบถามชุมชน ทั้งนี้จะมีการเก็บข้อมูลอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2567
สรุปประชุมการดำเนินงาน พื้นที่สุขภาพเขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี30 พฤศจิกายน 2023
30
พฤศจิกายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • อุบล 17.jpg
  • อุบล 15.jpg
  • อุบล 14.jpg
  • อุบล11.jpg
  • อุบล 12.jpg
  • อุบล 13.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ปัญหา/อุปสรรค
  • ผลที่รับและการเรียนรู้
  • คุณค่าที่ได้จากการดำเนินงาน
  • ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ
  • แนวทางการพัฒนา
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

 พื้นที่ดำเนินงาน เขต 10 มี 32 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนศูนย์เรียนรู้ 22 กองทุน (3 อำเภอ) กองทุนขยายผล 10 กองทุน  การดำเนินงานโครงการฯ 1.ประชุมระดับเขต ประชุมร่วมกับนายอำเภอ เพื่อชี้แจงการทำงานและความร่วมมือ 2.วางแผนการดำเนินงานโครงการ 3.มีการบันทึกความร่วมมือร่วมกัน เกิดความร่วมมือระหว่างบุคลากรท้องถิ่น (ปลัด เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ) บุคลากรทางผู้นำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) และบุคลากรด้านสุขภาพ (รพสต. อสม.) 4.พัฒนาแผน 5.ทำแผน พชอ. 6.เวทีจัดทำข้อเสนอ  ปัญหาอุปสรรค - บางพื้นที่ข้อมูลสถานการณ์ที่เก็บมาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง - คณะทำงานระดับพื้นที่ทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง มีการโยกย้ายบ่อย ทำให้การพัฒนาศักยภาพไม่ต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจ - คณะทำงานมีเวลาว่างไม่ตรงกัน - เอกสารแบบฟอร์มในเว็บไซต์กองทุนตำบลยังไม่ตรงกับแบบฟอร์มของ สปสช. (สปสช.มีการปรับใหม่)  ตัวอย่างแผนและโครงการของกองทุน  กองทุนโนนสำราญ อ.กันทราลักษ์
โครงการขยะที่มีการบูรณาการกับบ้าน วัด โรงเรียน โดยการคัดแยกขยะ การนำขยะมาทำปุ๋ย ทำใน 8 หมู่บ้าน ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ รร. อบต. วัด วิธีการที่เหมะสมกับวิถีชีวิตและวิถีชุมชน การมีส่วนร่วมและการรับรู้ของคนในชุมชน อุปสรรค ประชาชนขาดจิตสำนึก/วินัย ทัศนคติ/แรงจูงใจของผู้บริหาร การบังคับใช้กฏหมาย งบประมาณท้องถิ่นมีจำกัด ที่ผ่านมาขาดการวางแผนเรื่องการจัดการขยะ  กองทุนกู่จาน อ.คำเขื่อนแก้ว
โครงการลดอุบัติเหตุทางท้องถนน (เนื่องกู่จานมีโค้งเยอะมาก) ผลจากโครงการ 1. เด็กและผู้ปกครองเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายจราจร มารยาทในการขับขี่
2. ลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนตามนโยบายของทางรัฐบาล
3. ประชาชนเกิดจิตสำนักในเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน  กองทุนสร้างถ่อ อ.เขื่องใน
- จัดทำแผน PM2.5 เนื่องจากพื้นที่มีการเผาฟางข้าว ช่วงเดือนพย.-เมย. ของแต่ละปี - อุบลเป็นพื้นที่เกษตร ทำนา จึงมีการเผา เพราะถ้าไม่เผาค่าไถจะคิดเพิ่ม ปัจจุบันจึงเริ่มมีการให้นำฟางไปอัดก้อนขาย ค่าอัด 13 บาท ขายได้ 35 บาท - มีการเก็บข้อมูล โดยทีม อสม.ที่ได้รับการฝึกอบรม - มีการนำข้อมูลสถานการณ์มาวิเคราะห์โดยทีมวิชาการจากอาจารย์ราชภัฏ หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
- มีการได้งบสนับสนุนจากแหล่งอื่น - มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการทบทวนข้อมูลสถานการณ์และจัดทำแผน ได้แก่ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนงาน PM เช่น พพ. สำนักงานป่าไม้ อุตสาหกรรมจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
 กองทุนบก อ.โนนคูณ
โครงการกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ - คนเก็บข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ (อาจจะกรอกเองมั้ย) เลยมีการปรับข้อมูลเอง - โครงการมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี มีการสร้างไลน์กลุ่ม ติ๊กต็อกเผยแพร่กิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ ทำให้โครงการเกิดความยั่งยืน (แม้โครงการจบ แต่กิจกรรมยังอยู่ต่อ) - คนเข้าร่วมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เข้าร่วมกิจกรรมตลอดส่ำเสมอ เป็นแรงจูงใจให้คนอื่นๆเข้าร่วมโครงการด้วย (ตั้งไว้ 33 คน เข้าร่วม 50 คน) และแต่ละคนจะเอาของกินที่มีที่บ้านมาแบ่งปันกัน เช่น ผัก ผลไม้ - รู้จักเชื่อมโยงแผนงานในระบบ  กองทุนเหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ แผนงานผู้สูงอายุ - กิจกรรมโครงการเกิดการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมาย เช่น กิจกรรมการออกกำลัง นอกจากผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายแล้ว จะมีแม่ค้า หรือคนละแวกนั้นเข้าร่วมกิจกรรมด้วย
- ผู้สูงอายุในพื้นที่ติดสังคม - เป็นปีแรกที่ใช้ระบบกองทุน แต่ใช้ได้เต็มระบบ

ประชุมรายงานความก้าวหน้าและปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือ27 พฤศจิกายน 2023
27
พฤศจิกายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • พะเยา 114.jpg
  • พะเยา 133.jpg
  • พะเยา 11.jpg
  • พะเยา.jpg
  • พะเยา 11.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมาของเขต 1-6
  • กระบวนการทำงานของกองทุน
  • ข้อเสนอแนะ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

 ผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมาของเขต 1-6 พื้นที่ดำเนินงาน
- เขต 1 และ 3 มีกองทุนศูนย์เรียนรู้ จำนวน 49 กองทุน                                                        - เขต 1-6 มีกองทุนสมัครใจ จำนวน 43 กองทุน
ภาพรวมการดำเนินงาน - เกิดแผนสุขภาพในภาพรวมของอำเภอ โดยเป็นแผนที่จำแนกตามประเด็นปัญหาที่เกิดจากแผนของกองทุนต่าง ๆ ในอำเภอ
- โครงการที่กองทุนสนับสนุนมีคุณภาพมากขึ้น
- สามารถสังเคราะห์ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้นจากแผนและการดำเนินโครงการ - สามารถติดตามการดำเนินโครงการได้อย่าง Real time
- สามารถทำรายงานผลการดำเนินงานและรายงานการเงินได้แบบ Real time - มีระบบคลังข้อมูล ที่สามารถเรียกดูได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว  กระบวนการทำงานของกองทุน
การดำเนินงานของ อบต แม่ใส จ.พะเยา - เข้าร่วมโครงการรอบแรก ปี 61 มาดูกระบวนการ แผนงาน แผนเงิน และมีทีมพี่เลี้ยงที่คอยช่วยประกบงาน เรื่องศักยภาพของคน ค่อนข้างดีขึ้น เนื่องจากหลาย ๆ ฝ่ายเข้ามาช่วยกัน และปัจจุบันท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบหลักอย่างเต็มตัว และมองเห็นว่ากรรมการกองทุนมีความสำคัญแต่ไม่เท่ากับคนดำเนินโครงการ และเรื่องของชุดความรู้ก็มีความสำคัญ เจ้าหน้าที่ดูแลกองทุนก็อยู่ชั้นปฏิบัติการ จึงไม่ค่อนมีความรู้ แต่ปัจจุบันดีขึ้น คณะอนุทำงานทั้ง 3 ฝ่ายไม่เท่ากัน และเราต้องการคณะอนุฝ่ายติดตามการดำเนินผล ซึ่งไม่มี แต่เราพยายามที่พัฒนาให้ดีกว่าเดิม นอกจากนี้ที่เราเห็นว่าพี่เลี่ยงฝ่ายระบบวิชาการยังคงเป็นฐานสำคัญ
- ภาพสะท้อนจากคณะทำงาน มองว่าการทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพค่อยข้างที่จะควบคุมอยู่แล้ว และโครงการส่วนใหญ่อยู่ในกรอบของการให้ความรู้ ซึ่งจริง ๆ อยากทำให้แตกต่างจากการอบรมให้ความรู้แต่มีเรื่องงบประมาณเข้ามาเกี่ยวข้องจึงยากที่จะทำได้ ปัญหาคือ เรื่องการเบิกจ่ายและการเขียนโครงการเข้ามา เพราะเข้าไปให้ความสำคัญโครงการหมู่บ้านมากกว่า - อบต. แม่ใส เคยนำเสนอ ให้กรรมการกองทุนได้รับทราบและมีความเข้าใจ แต่ก็ทั้งหมดก็อยู่ที่คณะทำงานและต้องมีการเชื่อม
- อบต.แม่ใส มีการทำแผนที่แตกต่างอย่างไรจากที่อื่น คือ มีการนำคนมาฟังถึงกระบวนการ ทำให้ได้แผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม - อบต.แม่ใส ติดตามผลการดำเนินงานโดยใช้เวทีเปิด แลกเปลี่ยน แต่เขต 1-6 ทำได้แค่บางกองทุน
 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนกองทุน - การนำเสนอข้อมูลจากสถานการณ์เข้าสู่กองทุน เพื่อรองรับการทำงานวางแผนงาน - การให้กองทุนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำแผน
- ความเข้าใจเรื่องการติดตามประเมินผล ข้อเสนอแนะในการเขียนโครงการ - จะเชิญวิทยากรมาสอน ก่อนที่จะขอรับงบกองทุน รวมถึงการเขียนให้อยู่ในกรอบของระเบียบกองทุน - จัดทีมชุดติดตามการดำเนินผล เช่น กลุ่มอนุวิชาการมาหารือว่าเราจะทำอย่างไรต่อไป ในปีถัดไป
- ชุมชนเมืองแต่ทำงานยาก ทำอย่างไรให้คนเข้ามามีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะในการกำหนดและสนับสนุนงบประมาณของกองทุน - ใช้ข้อมูลสถานการณ์ในการตัดสินใจ เพื่อให้การสนับสนุน - เข้าใจเรื่องโครงการที่ดี ควรทำเป็นกระบวนการ เพื่อประกอบการพัฒนาให้ทุน - ดูจากขนาดปัญหาและความเร่งด่วนในการต้องการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่พบ
- สัดส่วนงบที่กองทุนมี - งบโครงการต่อเนื่องที่ขอรับสนับสนุนในปีที่ผ่านมา
ข้อเสนอแนะเว็บไซต์กองทุน
- อบต.บ้านตุ๋น มีเจ้าหน้าที่คนเดียวที่ดำเนินโครงการ เดิมเจ้าหน้าที่ลงข้อมูลในเว็บไซต์ทางท้องถิ่นอยู่แล้ว อยากให้เว็บไซต์ท้องถิ่นและเว็บไซต์กองทุนของทางทีม สนส. มีความสอดคล้องเชื่อมกัน
- เว็บไซต์หลักที่ใช้อยู่ของพื้นที่ค่อนข้างใช้งานง่ายอยู่แล้ว แต่เว็บไซต์ทาง สนส. มีความละเอียดมาก ยุ่งยากในการดำเนินการ เรื่องวัตถุประสงค์ (เป้าหมาย 1 ปี) ค่อนข้างยากที่ไปต่อ ต้องคิดวิเคราะห์เยอะ

การติดตามผลการดำเนินงานของพื้นที่15 พฤศจิกายน 2023
15
พฤศจิกายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • เสื้อขาว.png
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แต่ละเขตรายงานความก้าวหน้า (กิจกรรมที่ทำในรอบปีที่ผ่าน ผลผลิต/ผลลัพธ์ แผนการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรค)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• เขต 1-6 - ทั้งหมด 90 กองทุน ใช้ทีมกลางและทีมพี่เลี้ยงเขตจังหวัด โดยวิธีการออนไซต์เป็นส่วนใหญ่
- พื้นที่ชัยนาท สรรคบุรี มีปัญหา เนื่องจากพี่เลี้ยง สสอ.โยกย้าย แต่กำลังให้คนใหม่ที่ย้ายเข้ามาศึกษาเรียนรู้ - การลงนาม MOU นายอำเภอนั่งเป็นประธานทุกแห่ง • เขต 7
- พัฒนาแผนปี 2567 อย่างเดียว เดือนธันวาคมจะให้แต่ละกองทุนมาร่วมประชุมเพื่อตรวจสอบข้อมูล - ปัญหา/ อุปสรรคที่พบ คือ การถอนตัวของกลไกคณะทำงาน การมีส่วนร่วมกลไกทุกภาคส่วน ความเข้าใจเรื่องระบบและการใช้ประโยชน์ และคุณภาพของโครงการที่พัฒนา - แนวทางการแก้ไข คือประชุมติดตามการทำงานทุกเดือน และมีระบบหลังบ้านในการตรวจสอบผ่านระบบ • เขต 8 - อำเภอเมืองสกลนคร เป็นพื้นที่กองทุนขยายผล 5 กองทุน ได้มีการพัฒนาโครงการในแผนกิจกรรมทางกาย 6 โครงการ แผนขยะ 3 โครงการ แผนยาสูบ 1 โครงการ แผนสารเสพติด 5 โครงการ แผนโภชนาการและอาหาร 5 โครงการ และแผนสุขภาพจิต 2 โครงการ - 20 ต.ค 66 มีการร่วมมือกับสมัชชาจังหวัดในการทำ MOU บูรณาการร่วมกัน
- ปัญหา/อุปสรรคที่พบ คือ การเข้าร่วมของพี่เลี้ยง ผู้บริหารในท้องถิ่นไม่มีส่วนร่วมในการทำงาน • เขต 9
- เป็นพื้นที่กองทุนขยายผล 5 กองทุน ได้มีการพัฒนาโครงการในแผนกิจกรรมทางกาย 5 โครงการ แผนขยะ 4 โครงการ แผนยาสูบ 1 โครงการ และแผนความปลอดภัยทางถนน 1 โครงการ - แผนปี 2567 อยู่ในช่วงระหว่างการดำนินการ
• เขต 10
- กองทุนศูนย์เรียนรู้ 22 กองทุน กองทุนขยายผล 10 กองทุน มีโครงการพัฒนา 335 โครงการ และโครงการผ่านการอนุมัติ 153 โครงการ • เขต 11
- อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เป็นกองทุนขยายผล 4 กองทุน ได้แก่ อบต.เกาะขัน แผนปี 2566 มี 6 โครงการ, อบต.ขอนหาด แผนปี 2566 มี 10 โครงการ แผนปี 2567 มี 6 โครงการ, อบต.วังอ่าง ทำแผนแต่ไม่มีโครงการ และเทศบาลตำบลชะอวดจะทำแผนปี 67 เพราะเข้ามาทีหลัง - ข้อจำกัด มองเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน
- ข้อดี เห็นการเชื่อมโยงของแผนงาน เห็นเป้าหมาย
• เขต 12 (จ.สงขลา) - จังหวัดสงขลา เป็นกองทุนขยายผล 10 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ 88 โครงการ - อุปสรรค คือเจ้าหน้าที่เขียนโครงการไม่สมบูรณ์
• เขต 12 (จ.พัทลุง) - จังหวัดพัทลุง มี 14 กองทุน เป็นกองทุนศูนย์เรียนรู้ 9 กองทุน กองทุนขยายผล 5 กองทุน
- ผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาผ่านเว็บ 11 กองทุน 103 โครงการ และโครงการผ่านการอนุมัติ 116 โครงการ
- กลไกขับเคลื่อน กองทุน 14 คน พื้นที่/ชุมชน 71 คน พี่เลี้ยง 8 คน
• เขต 12  (จ.ตรัง) - จังหวัดตรัง เป็นกองทุนขยายผล 5 กองทุน
- มีคณะทำงานร่วม 5 คน
- มีกิจกรรมการอบรมพํมนาศักยภาพ การติดตามประเมินผล
• เขต 12 (จ.ปัตตานี) กิจกรรมที่ทำ - กิจกรรม 1 ทำ MOU กับพื้นที่ ทั้ง 3 อำเภอ
- กิจกรรม 2 ประชุมทีมงานพี่เลี้ยงทั้ง 3 อำเภอ
- กิจกรรม 3 ประชุมพัฒนาแผนงานทั้ง 10 แผนงาน
- กิจกรรม 4 รายงานความคืบหน้าให้กับ พชอ. ทั้ง 3 อำเภอ ถึงการดำเนินงานของกองทุน
- กิจกรรม 5 ติดตามและประเมินศักยภาพกองทุน
- กิจกรรม 6 รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานตลอดทั้งปี 2566 ทั้ง 3 อำเภอ
ผลการดำเนินงาน - อำเภอหนองจิก 13 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ รวม 110 โครงการ จากแผนงานอาหาร 21 โครงการ แผนงานยาเสพติด 20 โครงการ แผนงานกิจกรรมทางกาย 20 โครงการ แผนงานอุบัติใหม่ 10 โครงการ แผนงานสุรา 5 โครงการ แผนงานบุหรี่ 5 โครงการ แผนงานสุขภาพจิต 9 โครงการ แผนงานความปลอดภัยทางถนน 4 โครงการ แผนงานขยะ 18 โครงการ และแผนงานมลพิษทางอากาศ PM2.5 1 โครงการ
- อำเภอยะหริ่ง 9 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ รวม 38 โครงการ จากแผนงานอาหาร 10 โครงการ แผนงานกิจกรรมทางกาย 8 โครงการ  แผนงานบุหรี่  2 โครงการ แผนงานสารเสพติด 2 โครงการ แผนงานสุขภาพจิต 1 โครงการ และแผนงานขยะ 7 โครงการ - อำเภอเมืองปัตตานี 10 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ รวม 38 โครงการ จากแผนงานอาหาร 3 โครงการ แผนงานกิจกรรมทางกาย 5 โครงการ แผนงานบุหรี่ 3 โครงการ แผนงานสารเสพติด 5  โครงการ แผนงานความปลอดภัยทางถนน 1 โครงการ แผนงานสุขภาพจิต 2 โครงการ และแผนงานขยะ 6 โครงการ สรุปจากโครงการที่ได้รับทุนแล้ว อนุมัติโดยคณะกรรมการแต่ละกองทุน
ประเด็นการขับเคลื่อนที่ พชอ. ให้ความสำคัญ - อำเภอหนองจิก มุ่งเน้นประเด็นขยะ กลุ่มเปราะบาง (ผู้สูงอายุ/ ผู้ด้อยโอกาส) อุบัติเหตุทางท้องถนน - อำเภอยะหริ่ง มุ่งเน้นประเด็นขยะ อาหารและโภชนาการเด็ก 1-5 ปี การตั้งครรภ์วัยรุ่น - อำเภอเมืองปัตตานี มุ่งเน้นประเด็นการดูแลกลุ่มเปราะบาง อนามัยเจริญพันธุ์ การตั้งครรภ์วัยรุ่น

ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่และการทำแผนปี 67 (เขต 12) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี25 ตุลาคม 2023
25
ตุลาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • ตุลา 1.3.jpg
  • ตุลา.jpg
  • ตุลา 1.5.jpg
  • ตุลา 1.1.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทั้ง 13 กองทุน เสนอผลการดำเนินงานกองทุนปี 2566 และเสนอแผนงานโครงการ ปี 2567

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• พชอ.หนองจิก มุ่งเน้นเน้นงานขยะ แผนงานกลุ่มเปราะบาง (ผู้สูงอายุ/ ผู้ด้อยโอกาส) แผนงานอุบัติเหตุทางท้องถนน - แผนงานขยะ ชาวบ้านขาดความรู้และการตระหนักในส่วนการจัดการขยะให้ถูกวิธี และการขาดความร่วมมือจากผู้นำในพื้นที่ ทั้งท้องถิ่น และผู้นำทางศาสนา นายอำเภอเล็งเห็นถึงความสำคัญในด้านขยะเป็นสิ่งสำคัญ จึงฝากถึงการจัดการขยะอย่างถูกต้อง โดยการฝังกลบ ทั้งนี้เป็นเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนเป็นอย่างมากในจำนวนขยะที่เพิ่มขึ้นและขาดวินัยในการจัดการอย่างตรงจุด
- แผนงานกลุ่มเปาะบาง (ผู้สูงอายุ/ ผู้ด้อยโอกาส) ในพื้นที่ อำเภอหนองจิก จำนวน 118 ราย ให้จัดสรรงบให้แก่กลุ่มเปาะบางอย่างทั่วถึงและเสริมสร้างกำลังใจให้แก่กลุ่มเปาะบางเหล่านี้ - แผนความปลอดภัยทางถนน มีการสำรวจจากหน่วยงานในพื้นที่ถึงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน พบอุบัติเหตุแถวบ่อทอง ทางโค้ง ถนนลื่นบ่อยครั้งมาก ปัจจัยอีกอย่างคือขับเร็ว เมา
• ผลการดำเนินงานกองทุน ปี 2566
1. เทศบาลตำบลบ่อทอง - โครงการได้รับการผ่านอนุมัติ จำนวน 11 โครงการ - แผนปี 2567 ตั้งไว้ 5 โครงการ (เป็นโครงการของกองสธ. ส่วนโครงการของ รต.สต.และอื่นๆ ยังไม่ได้ลงรายละเอียด) 2. เทศบาลตำบลหนองจิก - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 14 โครงการ - เงินคงเหลือยกมา 5 หมื่นกว่าบาท
3. อบต. เกาะเปาะ - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 15 โครงการ - แผนโครงการที่จะดำเนินการในปี 2567 จำนวน 12 โครงการ
4. อบต. คอลอตันหยง - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 19 โครงการ
- เงินคงเหลือยกมา 98,688.62 บาท
- การประสานงานจากหน่วยงานที่ขอรับ เกิดความล่าช้าในการส่ง และการขับเคลื่อนดำเนินงาน
5. อบต.ดอนรัก - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 8 โครงการ 6. อบต.ดาโต๊ะ - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 9 โครงการ 7. อบต.ตุยง - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน  24 โครงการ
8. อบต.ท่ากำชำ - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 19 โครงการ 9. อบต.บางตาวา - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ 9 โครงการ
10. อบต.ปุโละปุโย - งบประมาณที่ใช้จำนวน 449,500 บาท - เงินคงเหลือยกมา จำนวน 365 บาท 11. อบต.ยาบี - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 9 โครงการ
12. อบต.บางเขา - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 10 โครงการ

ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ20 กันยายน 2023
20
กันยายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • ปัตต55.jpg
  • ปัต 546.jpg
  • ปัตตานร 11.jpg
  • ปัตตานีท1.3.jpg
  • ปัตตานี.jpg
  • ปัตตานร 11.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • รายงานการดำเนินงาน
  • นำเสนอการดำเนินงานเก็บข้อมูลในพื้นที่
  • ข้อเสนอเเนะ/อุปสรรค
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประเด็นผู้สูงอายุในพื้นที่ ที่ได้รับความเดือดร้อน
  • ต้องการความร่วมมือของผู้นำชุมชนมากยิ่งขึ้น
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควให้ควาสำคัญยิ่งขึ้น
  • หาจุดเด่นถึงปัญหาเเละสิ่งที่ชุมชนต้องการเจอเพื่อนำมาต่อยอด
  • หาเเนวทางเเละวางเเผนการทำงานปี 2567
ประชุมหารือจัดตั้งทีมพี่เลี้ยงกองทุน กทม.1 กันยายน 2023
1
กันยายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • 12....png
  • 1212.png
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการ
  • กรอบการดำเนินงาน
  • แผนการสร้างทีมทำงานในพื้นที่กทม.
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้พี่เลี้ยงหลักในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ กทม.
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนผลการดำเนินโครงการ18 สิงหาคม 2023
18
สิงหาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • 44.png
  • 43.png
  • 42.png
  • 41.png
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทบทวนเป้าหมาย
  • ปัญหาและความกังวล
  • ข้อเสนอเเนะ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยง - ต้องมีศักยภาพในการให้ความรู้เรื่องการเก็บข้อมูลสถานการณ์เพื่อมาทำแผน มีความรู้เรื่องการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการใช้เว็บไซต์ -มีเครือข่ายการทำงาน - มีเวลาและสม่ำเสมอในการลงทำงานกับพื้นที่
ผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง - การโยกย้ายของผู้บริหาร เช่น สาธารณสุขอำเภอ มีผลต่อกลไกการทำงาน - ความสัมพันธ์ส่วนตัวของผู้บริหารมีผลต่อการทำงาน เช่น สาธารณสุขอำเภอเป็นน้องของผู้ว่าฯ นายอำเภอเลยเกรงใจไม่กล้าสั่งสาธารณสุขอำเภอ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนที่เข้าร่วมโครงการ - หากมีการเปลี่ยนคนรับผิดชอบ/ คนเดิมโยกย้าย ก็จะส่งผลต่อความต่อเนื่องในการทำงาน เครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ - แบบสอบถาม บางข้อเข้าใจยาก
• แผนงานขยะ ข้อ 1 เข้าใจว่าต่อครัวเรือน • แผนงานยาสูบ ข้อ 4 เข้าใจว่าค่าใช้จ่ายทั้งชุมชน • แผนงานสิ่งเสพติด ข้อ 3 เข้าใจว่าค่าใช้จ่ายทั้งชุมชน - แบบสอบถามสำหรับชุมชน (ข้อมูลมือ 2) ควรระบุแหล่งข้อมูลไว้ให้ด้วยว่าจะเอาจากแหล่งไหน - คนเก็บแบบสอบถาม ไม่มีความรู้ในการเก็บ ต้องมีการ Training คนเก็บข้อมูลให้มีคุณภาพ พบ บางส่วนคนเก็บเป็นบุคคลากรของ อบต. บางส่วนเป็น อสม. บางส่วนให้ตอบเอง
- การกระจายของกลุ่มตัวอย่างแต่ละพื้นที่ แต่ละช่วงอายุ เว็บไซต์กองทุน - พื้นที่อยากให้ทีมกลางหารือกับ สปสช. เพื่อให้ใช้เครื่องมือ/ แฟตฟอร์ม (เว็บไซต์) แบบเดียว - พบบางกองทุนยังใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ แม้จะไม่ได้รับการหนุนเสริมจาก สสส./ ม.อ. แล้วก็ตาม กระบวนการดำเนินงาน - ระยะห่างในการลงพื้นที่/ ตามงานของพี่เลี้ยงลงพื้นที่ค่อนข้างห่างประมาณ 1-2 เดือน เพราะฉะนั้นเวลาลงแต่ละครั้ง ต้องเริ่มนับ 1 ใหม่ทุกครั้ง - ในการทำแผน ต้องมีกระบวนการวิเคราะห์ พี่เลี้ยงกับกองทุนต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ซึ่งถ้าเราไม่มีกระบวนการแบบนี้ความเข้มแข็งมันก็ไม่มี เช่น เอาข้อมูลสถานการณ์จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ ว่าข้อมูลที่เก็บมาใช้ได้เลยมั้ย น่าเชื่อถือมั้ย ถ้าไม่จะปรับยังไง ปรับเป็นเท่ารัย จากสถานการณ์ปัญหา จะตั้งเป้าหมายในแต่ละปีเท่ารัย แล้วควรดำเนินโครงการอะไรกับใครเท่ารัยบ้างถึงจะทำให้ตัวชี้วัดนั้นบรรลุวัตถุประสงค์

อบรมการพัฒนาโครงการและติดตามผลการดำเนินงานของพื้นที่15 สิงหาคม 2023
15
สิงหาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • 12....png
  • 1213333.png
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พื้นที่รายงานความก้าวผลการดำเนินงาน
  • อบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนข้อเสนอโครงการผ่านเว็บไซต์กองทุน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พื้นที่อยู่ในช่วงทำแผนและพัฒนาโครงการ ปี 2566 แต่หลายพื้นที่ไม่สามารถพัฒนาโครงการในปี 2566 ได้ ก็ร่างแผนปี 2567 ไว้
  • การเขียนแผนและข้อเสนอโครงการที่บางพื้นที่ได้เขียนไว้ในเว็บยังมีข้อบกพร่องและต้องทบทวนเพื่อให้ได้แผนที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบสุขภาพชุมชน พื้นที่เขตสุขภาพที่ 1031 กรกฎาคม 2023
31
กรกฎาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • อุ1.jpg
  • อุ 4.jpg
  • อุ2.jpg
  • อุ 5.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทบทวนการทำงานเเละติดตามกระบวนการทำงานของพื้นที่
  • หารือเเนวทางในการทำงานร่วมกัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ผลลัพธ์ของงานในการติดตามงานจากผู้รับผิดชอบซึ่งมีผลที่ดีขึ้นตามลำดับ
  • เเนวทางในการปฏิบัติร่วมเป็นไปเเนวทางเดียวกัน
  • ชี้เเจงเป้าหมายการทำงานที่สามารถต่อยอดได้ในหน่วยงานอื่น
ประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำแผนและพัฒนาข้อเสนอโครงการฯ18 กรกฎาคม 2023
18
กรกฎาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ภานิชา เขต 4
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พื้นที่รายงานความก้าวผลการดำเนินงาน
  • อบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนแผนและข้อเสนอโครงการผ่านเว็บไซต์กองทุน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พื้นที่อยู่ในช่วงทำแผนและพัฒนาโครงการ แต่พบข้อบกพร่องในการเขียนแผนและพัฒนาข้อเสนอโครงการ ทีมกลางได้ให้แนวทางและคำแนะนำในการปรับปรุงเพื่อให้ได้แผนงานและโครงการที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ประชุมความก้าวหน้าการดำเนินงานพร้อมปัญหาและอุปสรรค15 พฤษภาคม 2023
15
พฤษภาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ภานิชา เขต 4
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-รายงานผลดำเนินงานทั้ง 13 เขต - ปัญหาและอุปสรรคที่เจอ -การวางแผนงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• พื้นที่เป้าหมายที่จะทำ MOU ได้ทำ MOU เรียบร้อยแล้ว ยกเว้น อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
• พื้นที่เป้าหมายเปลี่ยนแปลงบ้างในบางพื้นที่ แต่จำนวนพื้นที่เพิ่มมากกว่าที่กำหนดไว้ เนื่องจากพื้นที่เล็งเห็นความสำคัญจึงสนใจเข้าร่วมโครงการด้วย
• ทุกกองทุนเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชนเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการทำแผนเรียบร้อยแล้ว • หลายกองทุนอยู่ในช่วงพัฒนาแผนงานและโครงการ ซึ่งบางกองทุนทำ/ปรับแผนปี 2566 แต่บางกองทุนก็เตรียมทำแผนปี 2567 เลย

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการจัดทำแผนและพัฒนาโครงการฯ28 มีนาคม 2023
28
มีนาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ทบทวนการเก็บข้อมูล : ปัญหา ข้อจำกัด -การใช้ข้อมูล : การวิเคราะห์ข้อมูล -ปัญหา/อุปสรรคจากการเก็บข้อมูล : แนวทางแก้ปัญหา -พัฒนาศักยภาพการทำแผน -พัฒนาศักยภาพการพัฒนาโครงการ -พัฒนาศักยภาพการติดตามประเมินผล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทราบความก้าวหน้าการเก็บข้อมูลของแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ปัญหา
-คณะทำงานเข้าใจเรื่องการทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และติดตามประเมินผลมากยิ่งขึ้น -ได้แผนการดำเนินงานกับพื้นที่

ประชุมรายงานความก้าวหน้าและปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือ16 มีนาคม 2023
16
มีนาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-แต่ละเขตรายงานผลการเก็บข้อมูล ปัญหา พร้อมข้อเสนอแนะ -หาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่งอมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน และเว็บไซ๖์กองทุนให้สอดคล้องต่อการใช้งานมากขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทราบผลการเก็บข้อมูลของแต่ละพื้นที่ และเว็บไซต์ได้มีการปรับปรุงให้เหมะแก่การใช้งานมากยิ่งขึ้น

ประชุมหารือและเสนอความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ในการวิเคราะห์ผลข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน28 กุมภาพันธ์ 2023
28
กุมภาพันธ์ 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ภานิชา เขต 4
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-นำเสนอเว็บที่ปรับปรุงเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล -หารือเพื่อปรับเว็บไซต์ให้ใช้งานในการวิเคราะห์ แปลผล ได้ถูกต้อง และสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-คณะทำงานแต่ละเขตทราบวิธีการเข้าใช้งานเว็บไซต์ในการวิเคราะห์ผล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลสถานการสุขภาพชุมชน

การประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลเเละอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน15 กุมภาพันธ์ 2023
15
กุมภาพันธ์ 2023รายงานจากพื้นที่ โดย ภานิชา เขต 4
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-พี่เลี้ยงทั้ง 13 เขต รายงานความก้าวหน้าของแต่ละเขต -พี่เลี้ยงแจ้งปัญหาและอุปสรรคในการลงเก็บข้อมูลในแต่ละเขตพื้นที่ -พี่เลี้ยงซักถามข้อสงสัย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ทราบผลการดำเนินงานของพื้นที่ทั้ง 13 เขต พร้อมปัญหาและอุปสรรคจากการเก็บข้อมูลในแต่ละเขตพื้นที่ และได้ให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานในอนาคต

ประชุมชี้เเจงแนวทางการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกลสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพขุมชน เเละลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เขต 1015 มกราคม 2023
15
มกราคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้ลงนาม MOU กับกองทุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของเขต 10

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการชี้เเจงเเนวทางการดำเนินงาน พบผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานเเละการเเสดงความคิดเห็นของคณะทำงานไปในทิศทางเดียว ทั้งนี้เกิดผลดีในเเง่ของการปฏิบัติงานเเละการบันทึก (MOU) รวมกันตามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เขต 10

อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บเเละวิเคราะห์ข้อมูลสถานกาารณ์ชุมชน11 มกราคม 2023
11
มกราคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • 1955.png
  • 18.png
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินงาน
  2. อบรมการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ (วิธีการเข้าใช้, ขั้นตอนและกระบวนการเก็บข้อมูล, รายละเอียดข้อคำถาม, ข้อเสนอแนะจากการทดลองเก็บข้อมูลจริง)
  3. ทดลองทำแบบสอบถามทั้ง 3 ชุด
  4. แผนการเก็บข้อมูลของพื้นที่
  5. แผนการดำเนินงานของโครงการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงกองทุนทุกเขตเข้าใจและได้ฝึกใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ - แผนการเก็บข้อมูล: แบบสอบถามมี 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามระดับบุคคล แบบสอบถามระดับครัวเรือน และแบบสอบถามระดับชุมชน โดยการเก็บข้อมูลให้สำรวจแบบสอบถามระดับบุคคล 200 ตัวอย่าง สำรวจแบบสอบถามระดับครัวเรือน 100 ตัวอย่าง และสำรวจแบบสอบระดับชุมชน 1 ตัวอย่าง ซึ่งจะเก็บข้อมูล 2 รอบ ได้แก่ ก่อนดำเนินการ และหลังดำเนินการ โดยเริ่มเก็บข้อมูลจริง ในวันที่ 14 มกราคม -28 กุมภาพันธ์ 2566

ประชุมหารือและเสนอความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ในชุมชน27 ธันวาคม 2022
27
ธันวาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย jindawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้หารือเเนวทางในการปรับปรุงคู่มือ เเละข้อเสนอเเนะร่วมกันในการปฏิบัติงานในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แนวทางการพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ในชุมชน ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมในมติที่ประชุมถึงการเก็บข้อมูลชุมชน โดยในการเก็บข้อมูลจะมีพี่เลี้ยงเเละเเอดมินกองทุนที่สามารถมองเห็นจำนวนรายการที่ตอบกลับจากพื้นที่ในระบบได้เเละสามารถดูรายละเอียดการตอบกลับได้ทุกข้อ นอกจากนี้สมาชิกที่เพิ่มใหม่จะไม่สามารถเห็นข้อมูลส่วนกลางได้ เเต่สามารถมองเห็นแบบสอบถามในส่วนบุคคลได้เท่านั้น

กิจกรรมทดสอบเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน24 ธันวาคม 2022
24
ธันวาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ภานิชา เขต 4
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทดสอบเครื่องมือการเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทราบข้อบกพร่องขอเครื่องมือและแนวทางการแก้ไขปรับปรุง ทำให้เครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชนเสถียรมากขึ้น

ประชุมชี้แจงแจงเรื่องการเงินและพัสดุ โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชม13 ธันวาคม 2022
13
ธันวาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ภานิชา เขต 4
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แนะนำการจัดทำเอกสารการเงินสำหรับพื้นที่เพื่อเบิกจ่าย • รายงานการขอซื้อหรือขอจ้าง • รายงานผลการพิจารณาและขออนุมัติสั่งซื้อ
• ใบสั่งซื้อ หรือ สั่งจ้าง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานรับรู้และเข้าใจการเบิกจ่าย

ประชุมหารือพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูล30 พฤศจิกายน 2022
30
พฤศจิกายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ภานิชา เขต 4
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

• นักโปรแกรมเมอร์เสนอ website ระบบการจัดการบริหารกองทุนฯ ที่ใช้ในการพัฒนาแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ อุบัติเหตุทางถนน ขยะ PM2.5 และสุขภาพจิต
• นักโปรแกรมเมอร์เสนอ website/ Application การเก็บข้อมูลสถานการณ์แต่ละประเด็น •หารือเพื่อปรับปรุง website/ Application ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ website/ Application ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

อบรมเสริมทักษะการบริหารจัดการแผนงาน/โครงการ ด้านการเงิน การบัญชี กับ สสส.24 พฤศจิกายน 2022
24
พฤศจิกายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สสส. อบรมทักษะการจัดการเเละวางเเผนงานด้านบัญชี เพื่อให้เกิดข้อตกลงเเละความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานการปฏิบัติงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้ปฏิบัติงานได้รับความรู้เเละความเข้าใจในการทำงานด้านการเงิน เเละบัญชีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลดีอย่างยิ่งในการดำเนินงานโครงการ

ร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ และร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) อ.หนองจิก อ.ยะหริ่ง อ.เมือง จ.ปัตตานี17 พฤศจิกายน 2022
17
พฤศจิกายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ภานิชา เขต 4
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

• นายเศวต เพชรบุ้ย นายอำเภอเมืองปัตตานี รักษาราชการแทนปลัดจังหวัดปัตตานี เป็นประธานเปิดการประชุมฯ
• ดร.กลุทัต หงส์ชยางกูร และ ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ ชี้แจงโครงการฯ • พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ( MOU ) ระหว่าง 1.พชอ. อ.หนองจิก กับกองทุนตำบลในอำเภอหนองจิกจำนวน 13  กองทุน 2.พชอ. อ.ยะหริ่ง กับกองทุนตำบลในอำเภอยะหริ่ง จำนวน 9  กองทุน 3.พชอ. อ.เมืองปัตตานี กับกองทุนตำบลในอำเภอเมืองปัตตานี จำนวน 10  กองทุน • เสนอประเด็นปัญหาที่ พชอ. มีนโยบายในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• เกิดการบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ จำนวน 32 กองทุน ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.หนองจิก อ.ยะหริ่ง และอ.เมือง จ.ปัตตานี โดยการทำ MOU • ได้กองทุนศูนย์เรียนรู้ จำนวน 22 กองทุน ประกอบด้วย 1. อำเภอหนองจิง 13 กองทุน ได้แก่ กองทุนเทศบาลตำบลบ่อท กองทุนเทศบาลตำบลหนองจิก กองทุนตำบลเกาะเปาะ กองทุนตำบลคอลอตันหยง กองทุนตำบลดอนรัก กองทุนตำบลดาโต๊ะ กองทุนตำบลตุยง กองทุนตำบลท่ากำชำ กองทุนตำบลบางตาวา กองทุนตำบลปุโละปุโย กองทุนตำบลลิปะสะโง กองทุนตำบลยาบี และกองทุนตำบลบางเขา และ 2. อำเภอยะหริ่ง 9 กองทุน ได้แก่ กองทุนตำบลตาลีอายร์ กองทุนตำบลตะโละกาโปร์ กองทุนตำบลปิยามุมัง กองทุนตำบลตาแกะ กองทุนตำบลหนองแรด กองทุนเทศบาลตำบลยะหริ่ง กองทุนเทศบาลตำบลตอหลัง กองทุนตำบลตะโละ และกองทุนตำบลตันหยงดาลอ
• ได้กองทุนขยายผลที่สมัครใจ จำนวน 10 กองทุน ในพื้นที่อำเภอเมืองปัตตานี ได้แก่ กองทุนตำบลบาราโฮม กองทุนตำบลปะกาฮะรัง กองทุนตำบลตะลุโบะ กองทุนตำบลตันหยงลุโละ กองทุนตำบลปูยุด กองทุนตำบลคลองมานิง กองทุนตำบลกามิยอ กองทุนเทศบาลตำบลรูสะมิแล กองทุนตำบลบานา และกองทุนตำบลบาราเฮาะ
• ได้พี่เลี้ยงทั้งหมด 12 ท่าน

ประชุมชี้แจงโครงการ วางแผนการดำเนินงาน และพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน17 ตุลาคม 2022
17
ตุลาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ภานิชา เขต 4
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

• ชี้แจงโครงการ และวางแผนการดำเนินงาน • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นกิจกรรมทางกาย วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2565 • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นมลพิษจากสิ่งแวดล้อม • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นยาสูบ วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2565 • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นความปลอดภัย ทางถนน • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นปัญหาสุขภาพ อุบัติใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2565 • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นสุราและสิ่งเสพติด • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นสุขภาพจิต

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นอาหาร • สรุปแนวทางการดำเนินโครงการและจัดทำแผน การดำเนินงานระดับเขต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-คณะทำงานเข้าใจรายละเอียดโครงการ
-คณะทำงานเข้าใจเรื่องการทำแผน พัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผล ในแต่ละประเด็นมากขึ้น พร้อมทั้งได้ช่วยกันปรับตัวชี้วัดในแต่ละประเด็น -ได้แผนการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่

ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน10 ตุลาคม 2022
10
ตุลาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย ภานิชา เขต 4
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน