สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

diversity_2

โครงการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชุมวิเคราะห์ข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำแผนระบบอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น9 เมษายน 2565
9
เมษายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ โดยให้นักวิชาการด้านโภชนาการ รวมทั้งการทำแผนงานโครงการในระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ด้านโภชนาการ สุขภาวะเด็ก เพื่อให้ท้องถิ่นเห็นความสำคัญของปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมมีความสนใจอย่างมากในช่วงการบรรยายของ ดร.สง่า ดามาพงษ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

กิจกรรมพัฒนารูปแบบระบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อำเภอบางกล่ำ และอำเภอควนเนียง1 เมษายน 2565
1
เมษายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. กิจกรรมพัฒนารูปแบบระบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อำเภอบางกล่ำ และอำเภอควนเนียง ระหว่างวันที่1 เมษายน – 31 ตุลาคม2565 โดยสนับสนุนการดำเนินรูปแบบระบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อำเภอบางกล่ำ และอำเภอควนเนียง ผ่านกลไกของบุคลากรโรงพยาบาลบางกล่ำ และสวนลุงวร โดยมีกิจกรรมที่จะขับเคลื่อนได้แก่
    1) การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรกร และสร้างเครือข่ายเกษตรกรให้ผลิตอาหารปลอดภัย โดยรวบรวมฐานข้อมูลเกษตรในอำเภอบางกล่ำ และอำเภอควนเนียง พัฒนาเป็นเครือข่ายเกษตรกรให้มีศักยภาพผลิตอาหารปลอดภัย 2) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรและระบบตลาดออนไลน์ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้บริโภค
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

กิจกรรมการศึกษาการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานและการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ของระบบการผลิต เพื่อการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส1 เมษายน 2565
1
เมษายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ โดยร่วมมือกับทีมนักวิชาการ ดร.ไชยยะ คงมณี และดร.อริศรา ร่มเย็น เณรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินกิจกรรมศึกษารูปแบบการทำเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 115 คน และจัดทำคู่มือการทำเกษตรผสมผสานเพื่อเป็นชุดความรู้เผยแพร่กับหน่วยงานและเกษตรกรต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

ประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการชุมชนผ่านระบบออนไลน์ (Zoom)31 มีนาคม 2565
31
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้จัดกระบวนการพัฒนาศักยภาพท้องถิ่นให้ฝึกปฏิบัติการเขียนแผนงาน โครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เป็นบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โครงการส่วนใหญ่จึงถูกออกแบบการแก้ปัญหาเรื่องอาหารเช้า การทำเกษตรในโรงเรียน การให้ความรู้กับผู้ปกครอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

ประชุมเตรียมงาน เตรียมข้อมูล เพื่อจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฎิบัติการเขียนโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการชุมชน30 มีนาคม 2565
30
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเตรียมงาน เตรียมข้อมูล เพื่อจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฎิบัติการเขียนโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการชุมชน วันที่30 มีนาคม 2565 จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 7 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากสถาบันนโยบายสาธารณะ, ภก.สมชาย ละอองพันธ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต12 สงขลา และผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

ประชุมชี้แจงแผนการส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา นาข้าว สวนผลไม้29 มีนาคม 2565
29
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการดำเนินกิจกรรมสร้างความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่สวนยางพารา สวนผลไม้ นาข้าว โดยให้ทีมนักวิชาการ ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการจัดการความรู้เชิงระบบของพืชร่วมยางที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย 2. เพื่อศึกษาระบบการผลิต การปรับใช้ และกลไกหรือกระบวนการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสาน รวมทั้งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อการดำรงชีพ 3. เพื่อวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ (economic analysis) ของระบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกรต้นแบบ และเสนอทางเลือกของระบบเกษตรผสมผสานในมิติทางเศรษฐศาสตร์ที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งผลผลิตที่จะเกิดขึ้น คือ
1. คู่มือ แนวทางการทำสวนยางพารา กรณีตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อนำไปเป็นแนวทางให้การยางแห่งประเทศไทยใช้ส่งเสริมการทำสวนยางต่อไป 2. กลไกพี่เลี้ยง โดยเจ้าหน้าที่ของการยางแห่งประเทศไทยในกระบวนการติดตาม สนับสนุนเกษตรกรด้านความรู้การทำเกษตร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

สนับสนุนกิจกรรมการขับเคลื่อนแผนอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น จังหวัดยะลา15 มีนาคม 2565
15
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สนับสนุนกิจกรรมการขับเคลื่อนแผนอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น จังหวัดยะลา ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2565 โดยสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 17 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนครยะลา,เทศบาลเมืองเบตง,เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์, เทศบาลตำบลลำใหม่, เทศบาลตำบลยะหา, อบต.ลำพระยา, อบต.บันนังสาเรง,อบต.บาโงย, อบต.วังพญา, อบต.กาลูปัง, อบต.บาโงยซิแน, อบต.ตลิ่งชัน, อบต.สะเอะ, อบต.บันนังสตา, อบต.ท่าธง, อบต.บือมัง และ อบต.ตาชี โดยจัดกระบวนการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาตามตัวชี้วัดของระบบอาหารและโภชนาการ ข้อมูลชุมชน และพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารและโภชนาการ ให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

ประชุมการปรับปรุงแผนการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อำเภอควนเนียง และอำเภอบางกล่ำ15 มีนาคม 2565
15
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้ประชุมกับเครือข่ายโรงพยาบาลบางกล่ำ และเครือข่ายสวนลุงวร โดยชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา ณ จังหวัดสงขลา11 มีนาคม 2565
11
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานให้กับการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา และเกษตรกร ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้การทำเกษตรผสมผสานแปลงต้นแบบนายจรูญ  พรหมจรรย์ ซึ่งมีพืชหลักคือสวนสละ การเลี้ยงไก่ หมู แพะ กบ การทำนาผักบุ้ง และสวนนายพันธ์ ประพรม เนื่องจากจังหวัดสงขลามีเกษตรกรบางส่วนได้รับการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟ ซึ่งการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปลูกกาแฟ ปัญหาอุปสรรค และเป็นบทเรียนให้กับการยางแห่งประเทศไทยใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมการปลูกกาแฟในอนาคต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา ณ จังหวัดสงขลา10 มีนาคม 2565
10
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานให้กับการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดปัตตานี และเกษตรกร ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้การทำเกษตรผสมผสานแปลงต้นแบบนายจรูญ  พรหมจรรย์ ซึ่งมีพืชหลักคือสวนสละ การเลี้ยงไก่ หมู แพะ กบ การทำนาผักบุ้ง ซึ่งเกษตรกรในจังหวัดปัตตานี สนใจกับแปลงของนายนิวัฒน์ เนตรทองคำ เกี่ยวกับการปลูกผักกูด และระบบบริหารจัดการน้ำรอบแปลงเกษตรและการเลี้ยงหอย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา ณ จังหวัดสงขลา9 มีนาคม 2565
9
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้จัดกิจกรรมให้การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดยะลา รวมทั้งเกษตรกรในจังหวัดยะลา ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้การทำเกษตรผสมผสานแปลงต้นแบบนายจรูญ  พรหมจรรย์ ซึ่งมีพืชหลักคือสวนสละ การเลี้ยงไก่ หมู แพะ กบ การทำนาผักบุ้ง ซึ่งเกษตรกรในจังหวัดยะลาได้แลกเปลี่ยนว่าการทำสวนสละในพื้นที่จังหวัดยะลาไม่นิยมปลูกเพราะต้องใช้พื้นที่เยอะ แต่เกษตรกรให้ความสนใจกับแปลงของนายนิวัฒน์ เนตรทองคำ เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการน้ำรอบแปลงเกษตรและการเลี้ยงหอย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

กิจกรรมการสำรวจการจัดการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงวิกฤติโควิด และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้1 มีนาคม 2565
1
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

กิจกรรมการสำรวจการจัดการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงวิกฤติโควิด และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้  โดย ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดการสำหรับเด็กปฐมวัยในครัวเรือน ในช่วงภาวะวิกฤติโควิด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 2) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัยในช่วงในช่วงภาวะวิกฤติโควิด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม  ทัศนคติ/ความรู้ทางโภชนาการของผู้ปกครองเด็ก ต่อการจัดการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กนักเรียนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 411 คน ซึ่งเป็นนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 31 แห่ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

ประชุมหารือการดำเนินกิจกรรมพัฒนารูปแบบการจัดการระบบอาหารและโภชนาการใน อปท. ร่วมกับทีมนักวิชาการ1 มีนาคม 2565
1
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้วางแผนกับนักวิชาการด้านโภชนาการ ถึงแนวทางการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการจัดการอาหาร  โดยขั้นตอนที่ 1 การสำรวจรูปแบบการจัดการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงวิกฤติโควิด และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ขั้นตอนที่ 2 การคืนข้อมูลการสำรวจฯและจัดทำแผพัฒนารูปแบบการจัดการระบบอาหารในระดับชุมชน ขั้นตอนที่ 3 การสร้างปฏิบัติการตามแผนการจัดการระบบอาหาร ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาศักยภาพชุมชน และท้องถิ่น เรื่องส่งมอบโภชนาการที่ดีสู่ชุมชน “Nutrition literacy for all”

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

ประชุมบุคลากรชี้แจงแนวทางการพัฒนาโครงการด้านอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น25 กุมภาพันธ์ 2565
25
กุมภาพันธ์ 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้ประชุมแนวทางการรวมรวบข้อมูลสถานการณ์ตามตัวชี้วัดด้านระบบอาหารและโภชนาการ โดยแนะนำการใช้ฐานข้อมูล HDC แผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อนำข้อมูลที่มีอยู่ในระบบมาใช้พัฒนาโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการ ซึ่งจากการประชุมพบว่าบุคลากรของท้องถิ่นไม่ทราบแหล่งข้อมูลด้านโภชนาการในฐานข้อมูล HDC

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

การประชุมการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้)28 มกราคม 2565
28
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้นำเสนอรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และรูปแบบการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ หลายแสนพื้นที่ต้นแบบของจังหวัดสงขลา โดยนักวิชาการ และเกษตรกรต้นแบบได้แลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุม จากนั้นได้ให้เกษตรกรที่เข้ามาร่วมประชุมจำนวน 38 คนจัดทำข้อมูลพื้นที่แปลงเกษตรของตนเอง พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกษตรกรจะปลูกทุเรียน มะพร้าว ลองกอง มังคุด หมาก กล้วย ร่วมกับปลูกยางพารา การเลี้ยงแพะ ไก่ วัว การเลี้ยงปลานิล ปลาดุก ปลายี่สก ปลาตะเพียน ปลาหมอ ปลาสวายขนาดพื้นที่ทำเกษตรอยู่ 2 – 200 ไร่ต่อราย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

การประชุมการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้)27 มกราคม 2565
27
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้นำเสนอรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และรูปแบบการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ หลายแสนพื้นที่ต้นแบบของจังหวัดสงขลา โดยนักวิชาการ และเกษตรกรต้นแบบได้แลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุม จากนั้นได้ให้เกษตรกรที่เข้ามาร่วมประชุมจำนวน 28 คนจัดทำข้อมูลพื้นที่แปลงเกษตรของตนเอง พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกษตรกรจะปลูกทุเรียน ละมุด มะพร้าว ฝรั่งกิมจู กาแฟ โกโก้ ร่วมกับปลูกยางพารา การเลี้ยงแพะ ไก่ วัว การเลี้ยงปลานิล ปลาดุก ปลายี่สก ปลาตะเพียน หอยขนาดพื้นที่ทำเกษตรอยู่ 1 – 20 ไร่ต่อราย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

การประชุมจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรจังหวัดปัตตานี เรื่องการพัฒนารูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้)26 มกราคม 2565
26
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้นำเสนอรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และรูปแบบการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ หลายแสนพื้นที่ต้นแบบของจังหวัดสงขลา โดยนักวิชาการ และเกษตรกรต้นแบบได้แลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุม จากนั้นได้ให้เกษตรกรที่เข้ามาร่วมประชุมจำนวน 25 คนจัดทำข้อมูลพื้นที่แปลงเกษตรของตนเอง พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกษตรกรจะปลูกทุเรียน มะพร้าว ลองกอง มังคุด มะนาว ร่วมกับปลูกยางพารา การเลี้ยงแพะ ไก่ วัว การเลี้ยงปลาหมอ ปลากระดี่ ปลาจาระเม็ด ขนาดพื้นที่ทำเกษตรอยู่ 1 – 70 ไร่ต่อราย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

การประชุมจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรจังหวัดยะลา เพื่อพัฒนารูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้)21 มกราคม 2565
21
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้นำเสนอรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และรูปแบบการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ หลายแสน ของพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยนักวิชาการ และเกษตรกรต้นแบบได้แลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุม จากนั้นเกษตรกรที่เข้ามาร่วมประชุมจำนวน 25 คนจัดทำข้อมูลพื้นที่แปลงเกษตรของตนเอง โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกษตรกรจะปลูกทุเรียน มะพร้าว ลองกอง มังคุด ร่วมกับปลูกยางพารา มีการทำปศุสัตว์ร่วมด้วย เช่น การเลี้ยงแพะ ไก่ วัว บางรายมีการทำประมงน้ำจืด การเลี้ยงปลานิล ปลาดุก ปลายี่สก ปลาตะเพียน ซึ่งขนาดพื้นที่ทำเกษตรอยู่ 1 – 40 ไร่ต่อราย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

ประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการระบบอาหารและโภชนาการ ในภาวะวิกฤตโดยกลไกชุมชน เพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และกลุ่มเปราะบาง10 มกราคม 2565
10
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้ชี้แจงการดำเนินงานโครงการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งแนวทางการดำเนินงานในแผนงานพัฒนารูปแบบการจัดการระบบอาหารในภาวะวิกฤต ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นปัญหาภาวะโภชนาการเด็กในช่วงการเกิดวิกฤติ Covid-19 ระบบการจัดการอาหารกลางวันที่ท้องถิ่นมีการจัดการในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น คือมีทั้งแบบที่ท้องถิ่นจัดการเองและให้ผู้ปกครองมารับ และรูปแบบที่ท้องถิ่นจ่ายเงินให้กับผู้ปกครองเป็นคนจัดการ ทางสถาบันจึงแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมถึงแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการอาหารในช่วงวิกฤติ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้โดยเฉพาะเด็กเล็ก เพื่อการแก้ปัญหาโภชนาการในระยะยาวของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

การประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยขยายผลการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราแบบ ก2,3 และการทำเกษตร 1 ไร่ หลายแสนสู่งานเชิงนโยบาย7 มกราคม 2565
7
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
  • ภาพประกอบการประชุมความมั่นคงทางอาหาร วัน.docx
  • ภาพ 070165 เม.docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้นำเสนอรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราและรูปแบบการทำเกษตร 1 ไร่ 1 แสน ซึ่งมีพื้นที่เรียนรู้อยู่ในจังหวัดสงขลา ซึ่งสถาบันนโยบายสาธารณะมีแนวทางที่จะขยายผลแนวคิดการเพิ่มพื้นที่แหล่งผลิตอาหารในพื้นที่สวนยางพารา พื้นที่นาข้าว โดยพัฒนาศักยภาพเกษตรกร จำนวน 150 ราย ให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำเกษตร โดยประยุกต์แหล่งการส่งเสริมการของจังหวัดสงขลาผู้แทนการยางแห่งประเทศไทยมีข้อเสนอแนะให้สถาบันนโยบายสาธารณะ ดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกร การจัดการตลาด เนื่องจากการยางแห่งประเทศไทยมีข้อจำกัด เพราะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จึงไม่มีงบสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ ทำให้ขาดการบูรณาการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ สำหรับกิจกรรมการขยายผลเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน มีแนวทางดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชน เนื่องจากสำนักงานพัฒนาชุมชนมีการปฏิบัติงานขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพอพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ นอกจากนี้สถาบันนโยบายสาธารณะ จะมีส่วนร่วมในการทำงานกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส เรื่องการทำแผนยางพาราแบบครบวงจร และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลากำลังส่งเสริมการผลิตอาหารเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถาบันนโยบายสาธารณะได้มีส่วนร่วมในการทำงานกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส เรื่องการทำแผนยางพาราแบบครบวงจร และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลากำลังส่งเสริมการผลิตอาหารเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว

ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหาร เพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัด สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสกับผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้27 ธันวาคม 2564
27
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ได้ให้ข้อเสนอต่อแนวทางการดำเนินงานเรื่องการประเมินโครงการในแผนปฏิบัติราชการของกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหาร หรือโภชนาการ ของกลุ่มจังหวัดจะมีน้อย เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่เป็นลักษณะสนับสนุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจระดับภาค เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เนื่องจากโครงการต้องมีเป้าหมายการพัฒนาในระดับจังหวัด 2 จังหวัดขึ้นไป หากจะเป็นโครงการที่เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร จะอยู่ในแผนเศรษฐกิจ สำหรับด้านโภชนาการ จะอยู่ในแผนสังคม อยู่ก็มีโครงการค่อนข้างน้อย  การที่สถาบันนโยบายสาธารณะจะดำเนินการประเมินผลลัพธ์การดำเนินโครงการในกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ ปี 2562 – 2565 จะเป็นผลดีให้กับหน่วยงาน แต่การประเมินควรประเมินให้เห็นผลลัพธ์ของโครงการที่เกิดขึ้นเกิดการพัฒนาการพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม หรือมิติอื่นๆด้วย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

การประชุมชี้แจงแนวทางพัฒนาระบบกระจายผลผลิตการเกษตรโดยกลไกสหกรณ์การเกษตรอำเภอควนเนียงและอำเภอบางกล่ำ21 ธันวาคม 2564
21
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถานการณ์การดำเนินงานระบบการผลิตอาหารเครือข่ายเกษตรกรของ โรงพยาบาลบางกล่ำ  ได้พัฒนามาตรฐานกับเกษตรกร  ส่วนตลาดสีเขียวยังมีอยู่ต่อเนื่อง สำหรับสหกรณ์การเกษตรอำเภอบางกล่ำ  มีเกษตรกรได้มาตรฐาน GAP จำนวน 25 ราย มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผักยกแค่ที่บ้านหาร โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสนับสนุนองค์ความรู้การปลูกผัก การทำปุ๋ย และประธานสหกรณ์มีพื้นที่ทำเกษตร มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สหกรณ์มีเวทีแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำเกษตร  เคยมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่ครัวเรือน มีจุดอ่อนเรื่องการทำตลาด และปัญหาการรับรอง GAP รับรองแค่พืชชนิดเดียวในขณะที่เกษตรกรมีการปลูกผสมผสานในแปลง ส่วนการรับรอง PGS มีข้อจำกัดขายเฉพาะในพื้นที่ แต่ไม่ได้มาตรฐานที่เป็นการรับรองโดยทั่วไป สหกรณ์ควนเนียง  มีเครือข่าย 7 ราย  สหกรณ์มีศูนย์เรียนรู้ มีการทำกลุ่มแตงโม  มีสวนพอเพียง  มีสมาชิกทำปลูกพืชผัก มีเกษตรกรที่กำลังปรับเปลี่ยนจาก GAP เป็นออแกนิกส์  สหกรณ์การเกษตรอำเภอควนเนียงให้สวนลุงวรเป็นหน่วยกระจายผลผลิตให้กับโรงพยาบาลหาดใหญ่ และ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สำหรับสวนลุงวร  มีสมาชิก 30 ราย มีการทำผักยกแคร่  ไม่มั่นใจเรื่องตลาด นอกจากนี้สหกรณ์ควนเนียงมีการพัฒนาโมเดลโรงเรือน  สูตรดินปลูก ที่จำหน่ายแก่สมาชิก สูตรดินเพาะปลูก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน มีการออกแบบฐานข้อมูลผลผลิตการเกษตร การพัฒนาแปลงปลูกผักแบบยกแคร่เพื่อเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกร การพัฒนาระบบการทำตลาดออนไลน์ และการสร้างแบรนด์สินค้า