สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

wanna เมื่อ 25 เม.ย. 2567
- ประชุมคณะทำงาน ทีมวิชาการ และทีมขับเคลื่อน กำหนดประเด็นขับเคลื่อนนโยบายงานสร้างสุขภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช มีกระบวนการ
1. วันที่ 4 ก.พ.66 ประชุมทีมหยวกกล้วยกำหนดประเด็นขับเคลื่อน
2. วันที่ 23 ก.พ.66 ประชุมระดมสมองทิศทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ทาง Zoom
3. วันที่ 26 มี.ค.66 ประชุมคัดเลือกพื้นที่ดำเนินงาน
ผลลัพท์: - กำหนดหัวเรื่องและทีมขับเคลื่อนดังนี้
1. ความมั่นคงทางอาหาร "กินเปลี่ยนเมือง" ผู้รับผิดชอบ นายอานนท์ มีศรี
2. ความมั่นคงทางทรัพยากร เรื่องภัยพิบัต นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล
3. ความมั่นคงทางมนุษย์ เรื่อง ชุมชนที่เป็นมิตรกับสังคม น.ส.วณิชญา ฉันสำราญ
4. ความมั่นคงทางสุขภาพ เรื่องการจัดการสุขภาพในมิติใหม่ในยุคการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น" ดร.กันตพงษ์ คงหอม และ อ.กำไล สมรัก
- การบริหารจัดการงบประมาณจาก สนส.ม.อ.จำนวน 200,000 บาท
- กำหนดให้มีทีมวิชาการ 2 ทีม คือ ทีมวิชาการกลาง อ.กำไล สมรักษ์ และทีมคณะทำงาน นายอานนท์ มีศรี
- จัดโครงสร้างบริหารจัดการแบ่งเป็น 3 ทีม คือ คณะทำงานเครือข่ายหยวกกล้วย เลขางานกลาง และเลขารายงานประเด็น
- ได้ข้อเสนอในการเลือกพื้นที่
1. บูรณาการได้ทั้ง 4 ประเด็น เพื่อสร้างสุขภาวะ นครศรีอยู่ดีมีสุข
2. มีเจ้าของพื้นที่และภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อน เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ ช่วยสนับสนุนตามบริบทของพื้นที่
3. พื้นที่มีนโยบายอยู่บ้างแล้ว ยกระดับให้ขยายผลในจังหวัดให้เห็นถึงการจัดการระดับนโยบาย
4. องค์ประกอบผู้เข้าร่วมมีครบและทีมวิชาการนัดหมายลงถอดบทเรียนได้
wanna เมื่อ 25 เม.ย. 2567
เข้าร่วมประชุมกับนายก อบจ.ปัตตานี และ ผอ.กองสาธารณสุข ร่วมกับแกนนำจังหวัดปัตตานี เรียนเชิญเป็นเจ้าภาพในการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 และนำเสนอการจัดงานสร้างสุขภภาคใต้ที่ผ่านมา
ผลลัพท์: - นายก อบจ.ปัตตานี ตอบรับการเป็นเจ้าภาพาในการจัดงาน และมีข้อเสนอแนะต่อกระบวนการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 และมติที่ประชุม ดังนี้
- 1) รูปแบบการจัดงานสมัชชาสร้างสุขในครั้งที่ 13 อยากให้มีความแตกต่างกว่า 12 ครั้งที่ผ่านมา และต้องทำให้ดีกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะปีนี้ที่จังหวัดปัตตานีและกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้เป็นเจ้าภาพ
- 2) จัดทำ Roadmap ระยะยาว กำหนดยุทธศาสตร์ และมีตัวชี้วัดของการจัดงานสมัชชาสร้างสุขภาคใต้ โดยตั้งเป้าหมายไว้ 3 - 5 ปี ที่จะทำให้เกิดภาคใต้แห่งความสุข ตัวชี้วัดของการเกิดภาคใต้แห่งความสุขมีอะไรบ้าง
- 3) ควรจัดทำข้อมูลให้เห็นชัดว่าการจัดงานมา 12 ครั้ง มีพัฒนาที่ดีขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างไรบ้าง
- 4) ธีมหลักของการจัดงานเน้นความเป็นพหุวัฒนธรรม ตามบริบทชายแดนใต้
- 5) การจัดงานในระดับจังหวัด ไม่จำเป็นต้องเลือกประเด็นทั้ง 4 ความมั่นคงมาขับเคลื่อน จังหวัดเลือกมา 1 ประเด็น เพื่อทำให้คมชัด และสามารถเชื่อมโยงไปยังประเด็นอื่นได้ เพราะทุกเรื่องที่ขับเคลื่อนจะเชื่อมโยงกัน
- 6) ข้อเสนอที่ได้จากการจัดงานสมัชชาสร้างสุขใน 14 จังหวัด ก่อนประมวลนำมารวมกับภาคใต้ อยากให้แบ่งโซนจังหวัดตามแผนกลุ่มจังหวัด เพื่อให้ข้อเสนอที่เกิดขึ้นมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ภาคใต้ และสามารถเห็นได้ว่าแต่ละกลุ่มจังหวัดจะมีประเด็นไหนร่วมกัน
- 7) ทบทวนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนงานและทำข้อเสนอในระดับจังหวัด และเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้จังหวัดได้เน้นว่าแต่ละจังหวัดควรมียุทธศาสตร์อะไรบ้าง
- 8) ทุกจังหวัดควรดึง อบจ.เข้ามาร่วมทำงานสมัชชาสร้างสุข และทาง อบจ.สามารถพิจารณาตั้งงบประมาณสนับสนุนการจัดงานสมัชชาสร้างสุขได้ ในการจัดงานครั้งต่อไปหรือปีถัดไปควรประสานเข้าพบ อบจ.เพื่อหารือให้ได้รับทราบ ทาง อบจ.จะได้ตั้งบสนับสนุน ซึ่งการจัดงานสมัชชาสร้างสุขภาคใต้ ได้ตอบตัวชี้วัดของ อบจ.ในด้านการได้เครือข่ายใหม่และข้อเสนอเชิงนโยบายสามารถเสนอเป็นแผนยุทธศาสตร์ ทาง อบจ.จึงสามารถจัดตั้งสนับสนุนงบเพิ่มเติมได้
- 9) การขับเคลื่อนประเด็นภาคใต้ 4 ประเด็น คือ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ เป็นประเด็นหลัก มีข้อเสนอว่าควรจะมีประเด็นรองหรือประเด็นย่อย และวิเคราะห์ประเด็นย่อยขึ้นมา จะทำให้ข้อเสนอที่ได้มีความคมชัด และตรงกับความต้องการของคนใต้
- 10) การจัดตั้งคณะทำงานสมัชชาสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ดำเนินการแต่งตั้งเป็นคำสั่งแล้ว มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีเป็นประธานคณะทำงาน คณะทำงานประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 และ 12 ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และประธานสมัชชาสร้างสุข 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และดร.เพ็ญ สุขมาก เป็นคณะทำงานและเลขานุการ โดยมติที่ประชุมเสนอให้เพิ่มผู้อำนวยการกองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ เพิ่มอีก 1 คน
wanna เมื่อ 25 เม.ย. 2567
ประชุมข้อเสนองานสร้างสุขภาคใต้ที่ผ่านมา และการจัดทำ roadmap การขับเคลื่อนข้อเสนอสู่การปฏิบัติการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผลลัพท์: กำหนดกรอบการทำร่าง roadmap ความมั่นคง 4 ประเด็น คือ ข้อมูลสถานการณ์ ผู้เกี่ยวข้อง กระบวนการ และผลลัพธ์ที่วางไว้
wanna เมื่อ 25 เม.ย. 2567
ประชุมเตรียมงานสมัชชาคนสตูล “กลุ่มรักจังสตูล”
วันที่ 7 เมษายน 2566
ณ. ห้องประชุมชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
ผลลัพท์: กรอบงานสมัชชาคนสตูลครั้งที่ 10
- งบประมาณในการจัดงานสมัชชาคนสตูลครั้งที่ 10 “สุข 10 ประการบนแผ่นดินอุทยานธรณีโลก” โดยประมาณ 250,000 บาท มีการสนับสนุนงบประมาณจากเครือข่ายสมาชิกกลุ่มรักจังสตูลและหน่วยงานอื่นๆ
- ร่างกำหนดการงานสมัชชาคนสตูลครั้งที่ 10 งานสมัชชาคนสตูล ครั้งที่ 10 “สุขสตูล 10 ประการ บนแผ่นดินอุทยานธรณีโลก” วันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ โรงเรียนบ้านเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
wanna เมื่อ 25 เม.ย. 2567
- ประชุมคณะทำงานสมัชชาสร้างสุขจังหวัดสตูล ดังนี้
1. ประชุมทบทวนทำความเข้าใจโครงการร่วมกันและร่วมวางแผนงานวันที่ 5 มีนาคม 2566 ณ. ห้องประชุมชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
2. ประชุมเวทีพัฒนาศักยภาพของภาคประชาสังคมจังหวัดสตูลเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่รูปธรรมในการจัดการตนเอง วันที่ 21 มี.ค.66 ณ ห้องประชุมชมรมประมงพื้นบ้านละงู
3.ประชุมร่วมกับหน่วยงานภาคีเพื่อพัฒนากลไกเครือข่ายในจังหวัดสตูล วันที่ 30 มี.ค.66 ณ วิทยาลัยชุมชนสตูล
ผลลัพท์: - ได้ข้อสรุปการจัดสมัชชาสร้างสุขคนสตูล กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 100 คน จัดเป็นเวทีเสวนาเชิงปฏิบัติการ มีเครือข่ายร่วมจัดดังนี้
1. สมัชชาคนสตูล
2. สภาองค์กรชุมชนระดับตำบลจังหวัดสตูล
3. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
4. มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
5. สำนักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสตูล
wanna เมื่อ 25 เม.ย. 2567
ประชุมทีมวิชาการ จัดทำข้อมูลแผนขับเคลื่อนนโยบายสร้างสุขภาคใต้ 4 ประเด็น โดยมีท่านรองอธิการ Pongthep Sutheravut ในการให้แนวทางการทำร่าง roadmap การขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายงานสร้างสุขภาคใต้
ผลลัพท์: - ได้สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นของงานสร้างสุขภาคใต้ ตั้งแต่ ปี 2559 - 2564 (รายละเอียดตามไฟล์แนบ)
wanna เมื่อ 25 เม.ย. 2567
ประชุมนำเสนอร่างRoad Map ข้อเสนอเชิงนโยบายงานสร้างสุขภาคใต้ เตรียมการจัดเวทีแกนนำขับเคลื่อนเลือกประเด็นและเติมข้อมูล
ผลลัพท์: มีการปรับร่าง ร่างRoad Map ข้อเสนอเชิงนโยบายงานสร้างสุขภาคใต้ 4 ประเด็นเพื่อเตรียมนำเข้าเวทีในวันที่ 29 เม.ย.66
wanna เมื่อ 25 เม.ย. 2567
ประชุมแกนนำ 3 ประเด็น คือ ความมั่นคงทางอาหาร ทรัพยากร และมนุษย์ เลือกประเด็นขับเคลื่อน
ผลลัพท์: ประเด็นอาหาร
- ขอทำทุกประเด็น คือ ข้าว ประมง ปศุสัตว์ และเพิ่มผลไม้
ประเด็นทรัพยากร
- เพิ่มเติมข้อมูลสถานการณ์
ประเด็นมนุษย์
- เพิ่มเติมข้อมูลสถานการณ์
wanna เมื่อ 25 เม.ย. 2567
ประชุมจัดทำข้อมูลกระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสร้างสุขในระดับจังหวัดและภาคใต้
ผลลัพท์: ได้สื่อขับเคลื่อนกระบวนการงานสร้างสุข 1 ชิ้น