สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ประชาสังคม-10
ประชาสังคม-10 เมื่อ 24 เม.ย. 2567
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่างแผน Check Plan “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์”

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม: เพื่อสรุปผลการดำเนินงานจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแผนและพัฒนาโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 และเพื่อวางแผนการจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2567

กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการข้อที่: ข้อที่ 1 และข้อที่ 2
และตัวชี้วัดผลงานของโครงการข้อที่: ข้อที่ 4

จำนวนผู้เข้าร่วม 75 คน ประกอบด้วย
1) ทีมวิชาการระดับเขต
2) คณะทำงานมูลนิธิประชาสังคม จังหวัดอุบลราชธานี
3) พี่เลี้ยงอำเภอ 5 อำเภอ ได้แก่
3.1 พี่เลี้ยงอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
3.2 พี่เลี้ยงอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
3.3 พี่เลี้ยงอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
3.4 พี่เลี้ยงอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
3.5 พี่เลี้ยงอำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
4) พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล 10 ตำบล
4.1 พื้นที่อำเภอกันทรลักษ์: ต.สวนกล้วย ต.ตระกาจ ต.น้ำอ้อม, ต.ขนุน, ต.รุง, ต.กุดเสลา, ต.โนนสำราญ
4.2 พื้นที่อำเภอเขื่องใน: ต.สร้าถ่อ, ต.ชีทวน, ต.โนนรัง, ต.บ้านไทย, ต.ยางขี้นก, ต.หนองเหล่า, ต.หัวดอน, ต.สหธาตุ
4.3 พื้นที่อำเภอม่วงสามสิบ: ต.เหล่าบก, ต.ดุมใหญ่, ต.หนองเหล่า. ต.ยางสักกะโพหลุ่ม, ต.ยางโยภาพ
4.4 พื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว: ต.โพนทัน, ต.ทุ่งมน, ต.สงเปือย, ต.ดงแคนใหญ่, ต.กู่จาน, ต.นาคำ, ต.เหล่าไฮ
4.5 อำเภอโนนคูณ : ต.บก, ต.เหล่ากวาง, ต.โนนค้อ, ต.หนองกุง, ต.โพธิ์

รายละเอียดกิจกรรม :
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
เริ่มเข้าสู่กระบวนการ โดย นายอรรถพล ต่องสุพรรณ เตรียมความพร้อม “เรียนรู้ เข้าใจ สุขภาวะชุมชน” ให้ผู้เข้าร่วมผ่านการสร้างความรู้จักสร้างความคุ้นเคย นันทนาการให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย และกิจกรรมองค์ประกอบการพัฒนาสุขภาวะ 4 มิติ การจับกลุ่มสภาพปัญหาสุขภาวะว่าอยู่ในมิติใด (สังคม กาย จิต ปัญญา) จากนั้น นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ชี้แจงวัตถุประสงค์และกระบวนการในการประชุม หลังจากนั้นเข้าสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาแผนโครงการ โดย ตัวแทนพี่เลี้ยงกองทุนตำบลฯ นำเสนอผลการดำเนินงานจัดทำแผนงาน/โครงการ ซึ่งมีประเด็น/โจทย์ ดังนี้
1) สถานการณ์ด้านสุขภาพในอำเภอของท่านมีสถานการณ์อย่างไรบ้าง
2) ท่านมีแผนในการจัดการสถานการณ์ปัญหาจำนวนเท่าไหร่ อย่างไร
3) มีการจัดทำโครงการ หรือกิจกรรมอะไร เพื่อรองรับแผนในการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาอย่างไร
4) ผลลัพธ์ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภาพรวมระดับอำเภอเป็นอย่างไร
5) กิจกรรมเด่น ๆ ที่ท่านคิดว่าเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จ
6) บทเรียน (ปัญหาอุปสรรค, แนวทางแก้ปัญหา) และข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแผนงานอำเภอในปี 2567
นำเข้ากระบวนการในช่วงบ่าย นายอรรถพล ต่องสุพรรณ ชวนผู้เข้าร่วม “ผ่อนพัก ตระหนักรู้” โดยการเคลื่อนไหวทางกายเพื่อเตรียมความพร้อม ได้แก่กิจกรรมจีบ-L, กำ-แบ สลับไปมาตามจังหวะ, ปรบมือตามจังหวะ ฯลฯ จากนั้น ทบทวนโครงการบนเว็บไซต์ร่วมกัน โดย อาจารย์สงกา สามารถ ผ่านการบรรยายหลักการ การเก็บข้อมูล เพื่อนำไปจัดทำแผนกองทุนและการพัฒนาโครงการ นำไปสู่โครงการติดตาม พร้อมฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบเว็บไซต์ “พาดู พาทำ” โดยให้ผู้เข้าร่วมเปิดหน้าเว็บไซต์โครงการตัวเอง เพื่อทบทวน และวิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อม ๆ กัน หลังจากนั้น นายรพินทร์ ยืนยาว สรุปผลการพัฒนาแผนงาน และโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 โดยระดมความคิดเห็น กลุ่มย่อยตามอำเภอ 4 กลุ่ม ผ่านโจทย์/ประเด็นร่วมดังนี้
1) การเก็บข้อมูลในปีที่ผ่านมา (เช่น คนเก็บข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย หลักเกณฑ์การเก็บ การบริหารจัดการ)
2) ผลการพัฒนาแผน และการเขียนโครงการ ปี 2566
3) แผนและโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากกองทุน ในปี 2566
4) การประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะประชาชนในพื้นที่
5) สิ่งที่ทำได้ดี เพราะอะไร
6) สิ่งที่ยังทำได้ไม่ดี เพราะอะไร

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567
เข้าสู่กระบวนการโดยการทบทวน ผลการเรียนรู้กิจกรรมวันแรก โดย นายอรรถพล ต่องสุพรรณ จากนั้นทบทวนผลการระดมสมอง ในเรื่องของปัญหาอุปสรรค เพื่อหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาในปี 2567 โดย นายรพินทร์ ยืนยาว และ ตัวแทนพี่เลี้ยงอำเภอนำเสนอผลการ “สรุปผลการพัฒนาแผนงาน และโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 ของแต่ละอำเภอ” และจากนั้นระดมจัดทำแผน และพัฒนาโครงการกองทุนตำบล ปี 2567 โดย อาจารย์วินัย วงศ์อาสา บรรยายและฝึกปฏิบัติการ โดยให้ผู้เข้าร่วมเปิดหน้าระบบเว็บไซต์เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน เริ่มตั้งแต่การวางแผนการจัดเก็บข้อมูลออกแบบ จัดทำแผนสุขภาวะระดับตำบล (การจัดทำแผนที่ดี) พัฒนาโครงการ ให้สอดคล้องกับแผนงาน (การพัฒนาโครงการที่ดี) โครงการที่คาดว่าจะได้รับการอนุมัติ สนับสนุน ปี 2567 การติดตามประเมินผลที่ดี (ประเมินคุณค่า) และแนวทางการขับเคลื่อน แผนตำบลสู่แผนอำเภอ (พชอ.) (Timeline การดำเนินงานแต่ละตำบล สู่แผนอำเภอ) โดยวิทยากรเปิดโอกาสให้พี่เลี้ยงแลกเปลี่ยน ซักถามเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน พร้อมรับความเห็นจากผู้ตรวจกกลาง โดยการให้ดาวสำหรับโครงการเด่น ทั้งนี้ พิจารณาจากโครงการที่แล้วเสร็จ ที่กดรายงานผลการดำเนินงานเข้าระบบ ซึ่งกระบวนการพิจารณาให้ดาวนี้ ส่วนกลางทำหน้าอ่านรายงานในระบบ และพี่เลี้ยงให้ข้อมูลเพิ่มเติมในวงใหญ่ เพื่อนำข้อมูลมาร่วมพิจารณาการให้คะแนน
ผลลัพท์: ผลลัพธ์เชิงปริมาณ
ผู้เข้าร่วมจำนวน 75 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลระดับอำเภอและระดับตำบลจากพื้นที่ 5 อำเภอ 3 จังหวัด
ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ
คณะทำงานทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบลได้ทบทวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาแผนโครงการ การพัฒนาแผน และการเขียนโครงการ ที่มีการดำเนินงานในปี 2566 และได้ทบทวนผลลัพธ์การดำเนินงานจากกระบวนการระดมความเห็นร่วมกัน ทั้งสิ่งที่สามารถดำเนินการผ่านไปได้ด้วยดีและปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนงาน และการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาแผนงาน/โครงการ ในระบบเว็บไซต์ localfund.happynetwork.org ตามพื้นที่อำเภอ-ตำบล ของทีมพี่เลี้ยง เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรมติดตามงานโครงการตามแผนงานของกองทุน และมีการร่วมกันออกแบบการพัฒนาแผนงาน/โครงการที่คาดว่าจะได้รับการอนุมัติ สนับสนุน ปี 2567
ประชาสังคม-10 เมื่อ 24 เม.ย. 2567
กิจกรรม/ประชุม
ประชุมเขิงปฏิบัติการ “พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์” โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต 10

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่เพื่อนำมาจัดทำแผนงาน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ ในพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงกองทุนระดับอำเภอและตำบล

กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ : ข้อที่ 1 และข้อที่ 2
และตัวชี้วัดผลงานของโครงการ : ข้อที่ 4 และข้อที่ 5

• กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมโดย น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10)
• สรุปผลการจัดทำแผนงานและโครงการในระบบ และร่วมแลกเปลี่ยน โดย นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10
o อ้างถึง การขับเคลื่อนที่ผ่านมาภายใต้กองทุนสุขภาพตำบล โดยโครงการฯ มีแผนงาน ขั้นตอนและกระบวนการที่ดำเนินการมาแล้วคือ การประชุมร่วมคณะทำงานระดับเขตและคณะทำงานระดับอำเภอ เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะพี่เลี้ยงกองทุนเพื่อให้สามารถจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการและเสนอโครงการ ติดตามประเมินผลโครงการในระบบเว็บไซต์ตั้งแต่การจัดทำแผนงาน การพัฒนาโครงการ และครั้งนี้คือการติดตามประเมินผลและรายงานโครงการ เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะ 8 ประเด็น คือ 1. การจัดการระบบอาหาร 2. การเพิ่มกิจกรรมทางกาย 3. การจัดการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ สารเสพติด 4. การจัดการปัญหาความปลอดภัยทางถนน 5. สุขภาพจิต 6. มลพิษทางอากาศ 7. การจัดการขยะ 8. การป้องกันโรคอุบัติใหม่
o การดำเนินการที่ผ่านมาเกิดผลลัพธ์ความสำเร็จจากการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนระเบตำบลและระดับอำเภอ คือ เกิดความร่วมมือ ลงนามข้อตกลง ความร่วมมือ ในการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและระดับอำเภอ เพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายร่วมกันของแต่ละอำเภอ เกิดคณะทำงานระดับเขตและระดับอำเภอจำนวน 20 คน เกิดคณะทำงานระดับพื้นที่ตำบล เพื่อเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยคัดเลือกตำบลละ 4-5 ท่าน รวมทั้งหมด 160 คน เกิดพื้นที่กองทุนศูนย์เรียนรู้ 22 แห่ง เกิดพื้นที่กองทุนขยายผล 10 แห่ง และเกิดการจับคู่พี่เลี้ยงระดับตำบลและระดับอำเภอรูปแบบของการเป็นบัดดี้ เพื่อหนุนเสริมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
o การดำเนินงานที่ผ่านมา (ปี 2566) กองทุนฯ สามารถพัฒนาแผนจำนวน 392 แผน พัฒนาโครงการเสนอขอรับงบประมาณจำนวน 336 โครงการ และมีโครงการที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณ 153 โครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ 15/11/66)
o การดำเนินงานที่ผ่านมา (ปี 2566) พี่เลี้ยงระดับตำบลและอำเภอ ได้สะท้อนถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมา เช่น พี่เลี้ยงกองทุนระดับพื้นที่ตำบล มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อ เนื่องจากการโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่การงาน จึงส่งผลต่อการเข้าร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพเกิดความไม่ต่อเนื่องและขาดความเข้าใจในภาพรวมของการขับเคลื่อนงาน การเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มเอกสารทาง สปสช. ส่งผลต่อการติดตามโครงการในระบบเว็บไซต์ไม่เป็นปัจจุบัน การเก็บข้อมูลและการระบุข้อมูล (ขนาดปัญหา) มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ส่งผลให้การกำหนดค่าเป้าหมายไม่สอดคล้องความจริง จึงได้มีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการการกำหนดตัวชี้วัดของโครงการฯ ที่เสนอต่อกองทุนฯ เพื่อ ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา และความเป็นไปได้จริงของการดำเนินงาน เช่น ระยะเวลา งบประมาณ และงบประมาณที่มีอยู่แล้ว
• แลกเปลี่ยนกระบวนการทำงานของกองทุนศูนย์เรียนรู้ เขตสุขภาพที่ 10 (กองทุนตำบลโนนสำราญ อ.กันทรลักษ์, กองทุนตำบลกู่จาน อ.คำเขื่อนแก้ว, กองทุนตำบลสร้างถ่อ อ.เขื่องใน กองทุนตำบลบก อ.โนนคูณ, กองทุนตำบลเหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ)
o ประเด็นการแลกเปลี่ยน 3 ประเด็น คือ 1) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คุณค่าจากผลการดำเนินงาน
2) ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จและที่เป็นอุปสรรค 3) แนวทางการแก้ไขและการพัฒนา
o กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โนนสำราญ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ นำเสนอแผนงานการจัดการขยะ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน (Reduce) เพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน เพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (Reuse) เพิ่มครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 (ตามรอบปีงบประมาณ 2566) โดยมีกิจกรรมสำคัญ เช่น การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยระดับตำบล เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานการจัดการขยะในพื้นที่ ระดับหมู่บ้าน /ตำบล สอดคล้องกับแผนงาน ระดับอำเภอ และจังหวัด การส่งเสริมและการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ตามนโยบาย รัฐบาล ภายใต้โครงการ "ถังขยะเปียกลดโลกร้อนของ อปท. ประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย โดยเกิดผลสำเร็จจากการดำเนินงานกองทุนฯ คือ อบต.โนนสำราญ ได้แจ้งความประสงค์เสนอซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ
o กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี นำเสนอแผนงานการการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เช่น โครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณภาพชีวอตผู้สูงอายุตำบลเหล่าบก โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น
o กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี นำเสนอแผนงานมลพิษทางอากาศ โดยยกตัวอย่างกรณีโครงการป้องกัน และดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เนื่องจากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่แพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่อำเภอเขื่องใน โดยส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคระดับตำบลสร้างถ่อ ได้พิจารณาแล้วว่า หากไม่รีบดำเนินการจัดการปัญหาดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทั้งในระยะสั้น และในระยะยาว จึงเสนอโครงการปี 2567 เพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชนจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) และให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตัวเอง สามารถป้องกันตนเองจากจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) และเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่ทันต่อสถานการณ์ โดยกำหนดกิจกรรมสำคัญ เช่น การอบรม สื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างความรอบรู้แก่ประชาชนในพื้นที่
• อภิปราย แลกเปลี่ยน และร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ในระยะต่อไป โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10
o โจทย์แลกเปลี่ยน (โดยการแบ่งกลุ่มตามพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยน และนำเสนอรายอำเภอ)
ถ้าจะมีการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น/ตำบล ควรทำอย่างไร
1.พัฒนาศักยภาพของคน ควรทำอย่างไรบ้าง (กรรมการกองทุน/ผู้รับผิดชอบกองทุน/ผู้ขอทุนจากกองทุน)
2.การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ ควรทำอะไร อย่างไร
3.การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพควรทำอย่างไร (การทำแผน/การเขียนโครงการ/การทำโครงการ/การติดตาม ประเมินโครงการ)
4.กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน ควรมีกลไกอะไรบ้าง/บทบาท/อย่างไร (กลไกวิชาการ/ กลไกพี่เลี้ยง/ กลไก พชอ.)

1.อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
การพัฒนาศักยภาพของคน
- จัดการศึกษาดูงานกรรมการกองทุน ศึกษาดูงานกองทุนต้นแบบ และอบรมเพิ่มศักยภาพระเบียบกฏหมาย ระเบียบการเบิกจ่ายกับกองทุน ให้กับคณะกรรมการกองทุน
- ฝึกอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้รับผิดชอบกองทุนแต่ละตำบล
- มีการจัดประชุมผู้ขอรับทุนโครงการ ชี้แจงการเขียนโครงการ การขอรับงบประมาณจากกองทุน
การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ
-จัดทำสื่อความรู้โดยใช้ทรัพยากรในชุมชน (เช่น ลานนวดเท้าจากกะลาไม้ไผ่)
การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ
• การวางแผน : ทำแผนสุขภาพให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน มีการจัดเวทีประชาคมทุกภาคีเครือข่าย
• การเขียนโครงการ : ต้องสอดคล้องกับแผน ถูกต้องตามระเบียบสามารถตรวจสอบได้
• การทำโครงการ : ดำเนินงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ของโครงการ และตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
• การติดตามและประมินผลโครงการ : แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ประเมินผลโครงการ และออกติตามเพื่อควบคุมและกำกับตามวัตถุประสงค์
กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน
• กลไกวิชาการ จัดทำข้อมูลวิชาการโครงการต้นแบบที่เป็นตัวอย่าง พัฒนาต้นแบบที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนอื่น ๆ ได้
• กลไกพี่เลี้ยง ช่วยกำกับ ติดตาม ดูแลให้คำแนะนำโครงการกับกองทุนตำบล
• กลไก พชอ. นำประเด็นที่ต้องการมาพัฒนา และแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เสนอต่อคณะกรรมการ พชอ. ระดับอำเภอ
2.อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
การพัฒนาศักยภาพของคน
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนระดับอำเภอ เรื่องการบริหารจัดการกองทุนให้กับคณะกรรมการ และผุ้ขอรับทุนกองทุน
- จัดอบรมการจัดทำแผนโครงการสำหรับผู้ขอรับทุน
การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ
-เลือกสื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย จัดเวทีถอดบทเรียนจัดการความรู้
การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ
• การวางแผน : ค้นหาสถานการณ์ปัญหา จัดลำดับความสำคัญ มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา
• การทำโครงการ : พิจารณาอนุมัติโครงการให้เร็วขึ้น
• การติดตามและประมินผลโครงการ : ลงติดตามผลเป็นระยะ ๆ
กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน
• กลไกวิชาการ เชื่อมประสานกับ สปสช. และส่วนกลาง สร้างเป็นกลไกวิชาการ คอยกลั่นกรองแลควบคุมคุณภาพวิชาการของโครงการ
• กลไกพี่เลี้ยง ดึง ผอ. รพ. นายอำเภอ สธ.อำเภอ ท้องถิ่นอำเภอช่วยเป็นพี่เลี้ยงกองทุน
• กลไก พชอ. บูรณาการระดับอำเภอสู่ตำบลขับเคลื่อนนโยบายระดับอำเภอ
3.อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
การพัฒนาศักยภาพของคน
- อบรมพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างความเข้าใจปัญหาของพื้นที่
- จัดอบรมผู้รับผิดชอบกองทุนให้มีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนโครงการ ให้ความรู้เรื่องระเบียบที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการโครงการ
การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ
- อบรมพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างความเข้าใจปัญหาของพื้นที่
- จัดอบรมผู้รับผิดชอบกองทุนให้มีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนโครงการ ให้ความรู้เรื่องระเบียบที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการโครงการ - วิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สร้างสื่อที่ทันสมัยและเข้าใจง่ายให้เหมาะกับคนทุกกลุ่มวัย
- แสวงหาความร่วมมือในการพัฒนา (ผู้รู้/ผุ้มีความสามารถ)
- นำชุดความรู้ที่ได้นำมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ร่วมกัน พัฒนาเป้นชุดความรู้
การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ
• การวางแผน : เขียนแผนให้สอดคล้องกับปัญหา
• การเขียนโครงการ : เขียนวัตถุประสงค์ชัดเจน ตรงประเด็น มีเป้าหมายที่ชัดเจน งบประมาณสมเหตุสมผล
• การทำโครงการ : ดำเนินโครงการตามแผน
• การติดตามและประมินผลโครงการ : มีการติดตามประเมินผล และมีการรายงานต่อคณะกรรมการ
กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน
• กลไกวิชาการ สร้างองค์ความรู้ตามบริบทของพื้นที่ สร้างสื่อวิชาการเพื่อการประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ
• กลไกพี่เลี้ยง สร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างพี่เลี้ยงและกองทุนโดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ (Admin) เพื่อประสาน
• กลไก พชอ. แต่งตั้งคณะทำงานแยกแต่ละด้าน
4.อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
การพัฒนาศักยภาพของคน
- พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ขอรับทุนในกองทุน ในการบริหารจัดการโครงการ ให้รู้ถึงการตั้งปัญหา และกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับปัญหา ระเบียบการบริหารจัดการการเงินการบัญชี ต่าง ๆ
การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ
- การใช้สื่อที่หลากหลายรูปแบบ เช่น สื่อโปสเตอร์แผ่นพับ สื่อออนไลน์ สื่อวิดีโอ เป็นต้น
- จัดทำบันทึกข้อตกลความร่วมมือ MOU กับผู้ขอรับทุนในการดำเนินงานโครงการ
- ให้ อสม. เป็นสื่อกลางในการถ่ายถอดข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ในชุมชน
การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ
• การวางแผน : จัดทำแผนให้สอดคล้องกับปัญหา และปัญหาต้องมาจากพื้นที่ ชุมชน หรือหน่วยงานในพื้นที่ เป็นผู้นำเสนอ งบประมาณไม่ควรสำรองไว้ 10 % ควรใช้ให้ครอบคลุม
• การเขียนโครงการ : ต้องสอดคล้องกับแผนงาน ผู้ที่ขอรับทุนจะต้องเป็นผู้เขียนโครงการ ในโครงกการต้องมีผังกำกับงานที่ชัดเจน ต้องมีการต่อยอดโครงการอย่างต่อเนื่อง
• การทำโครงการ : ทำตามผังควบคุมกำกับโครงการ เน้นคุณภาพไม่เน้นจำนวน
• การติดตามและประมินผลโครงการ : ตั้งคณะกรรมการประเมินผลอย่างชัดเจน นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ คัดเลือกโครงการเด่น สร้างแรงจูงใจ มีการให้รางวัล และต่อยอดโครงการ
กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน
• กลไกวิชาการ เน้น สปสช. อบรมนายก อบต. และปลัด เรื่องกลไกของกองทุน อบรมผู้รับผิดชอบงานกองทุน และอบรมคณะกรรมการกองทุนในเรื่องสุขภาพ
• กลไกพี่เลี้ยง สร้างเครือข่ายวิชาการสำหรับพี่เลี้ยง จัดอบรมให้พี่เลี้ยงกองทุน พี่เลี้ยงไปถ่ายทอดต่อให้คณะกรรมการกองทุน มีการประชุม และสื่อสารกันมากขึ้น (ระหว่างพี่เลี้ยงและสปสช.)
• กลไก พชอ. พัฒนาความรู้และศักยภาพ เลขา พชอ. เรื่องการประสานงานกับกองทุน **ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้ พชอ.ในเรื่องกองทุน
5.อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
การพัฒนาศักยภาพของคน
- เพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกองทุนให้คณะกรรมการกองทุน ให้รู้บทบาทของตนเอง มีส่วนร่วมในการจัดแผนงาน และแผนสุขภาพระดับตำบล
- พัฒนาศักยภาพ แลอบรมให้ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ กับผู้รับผิดชอบกองทุน ให้รู้บทบาทหน้าที่ และมีความเสียสละ
- สำหรับผู้ขอรับทุน จะมีการเพิ่มศักยภาพในการเขียนโครงการ และระเบียบทางการเงิน และรู้บริบทปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่ตนเอง
การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ
- จัดทำชุดสื่อประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Tiktok Facebook
- มีการวิเคราะห์ชุดความรู้ร่วมกันก่อนเผยแพร่
การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ
• การวางแผน : เครือข่ายต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนในตำบล (อบต. ผู้นำชุมชน และประชาชน)
• การเขียนโครงการ : มีรูปแบบผังการดำเนินงานของกองทุน มีองค์ความรู้ในการเขียนโครงการ
• การทำโครงการ : ทำตามโครงการตามแผนงานอย่างมีขั้นตอนตามกรอบงบประมาณ และระเวลาการจัดการ จัดเตรียม อุปกรณ์ คน ให้พร้อมดำเนินการ
• การติดตามและประมินผลโครงการ :ตั้งคณะกรรมการชุดติดตามประเมินผล ตามวัตถุประสงค์โครงการ
กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน
• กลไกวิชาการ มีการประสานงานระหว่างกลุ่มงาน ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น line เพื่อแจ้งแผนการปฏิบัติงานรายเดือน
• กลไกพี่เลี้ยง มีการติดตาม และมีความรับผิดชอบต่องาน คอยสนับสนุนงาน ให้ความช่วยเหลือ
• กลไก พชอ. ควบคุม กำกับติดตามพื้นที่ แก้ไขปัญหาเพิ่มเติม แจ้งให้ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์
6.อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
การพัฒนาศักยภาพของคน
- เพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกองทุนให้คณะกรรมการกองทุน ให้รู้บทบาทของตนเอง มีส่วนร่วมในการจัดแผนงาน และแผนสุขภาพระดับตำบล
- พัฒนาศักยภาพ แลอบรมให้ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ กับผู้รับผิดชอบกองทุน ให้รู้บทบาทหน้าที่ และมีความเสียสละ
- สำหรับผู้ขอรับทุน จะมีการเพิ่มศักยภาพในการเขียนโครงการ และระเบียบทางการเงิน และรู้บริบทปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่ตนเอง
การสร้างชุดความรู้ นวัตกรรมต่อการสร้างสุขภาพ
- จัดทำชุดสื่อประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Tiktok Facebook
- มีการวิเคราะห์ชุดความรู้ร่วมกันก่อนเผยแพร่
การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ
• การวางแผน : เครือข่ายต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนในตำบล (อบต. ผู้นำชุมชน และประชาชน)
• การเขียนโครงการ : มีรูปแบบผังการดำเนินงานของกองทุน มีองค์ความรู้ในการเขียนโครงการ
• การทำโครงการ : ทำตามโครงการตามแผนงานอย่างมีขั้นตอนตามกรอบงบประมาณ และระเวลาการจัดการ จัดเตรียม อุปกรณ์ คน ให้พร้อมดำเนินการ
• การติดตามและประมินผลโครงการ :ตั้งคณะกรรมการชุดติดตามประเมินผล ตามวัตถุประสงค์โครงการ
กลไกสนับสนุน/การขับเคลื่อนงานกองทุน
• กลไกวิชาการ มีการประสานงานระหว่างกลุ่มงาน ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น line เพื่อแจ้งแผนการปฏิบัติงานรายเดือน
• กลไกพี่เลี้ยง มีการติดตาม และมีความรับผิดชอบต่องาน คอยสนับสนุนงาน ให้ความช่วยเหลือ
• กลไก พชอ. ควบคุม กำกับติดตามพื้นที่ แก้ไขปัญหาเพิ่มเติม แจ้งให้ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์
ผลลัพท์: • ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : ผู้เข้าร่วมจำนวน 126 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลระดับอำเภอและระดับตำบลจากพื้นที่ 5 อำเภอ 3 จังหวัด คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบลระดับเขต (เขต 10) และผู้เข้าร่วมผ่านทางระบบ Zoom Meeting จากคณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบลระดับเขต (เขต 7, เขต 9)
• ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : คณะทำงานและทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ได้รับทราบความก้าวหน้าของโครงการ ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันถึงปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนงาน จากการนำเสนอการทำงาน 5 พื้นที่ และร่วมกันแลกเปลี่ยนวางแผนการดำเนินงานให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายการเป็นพื้นที่กองทุนศูนย์เรียนรู้ และเกิดพื้นที่กองทุนขยายผลต่อไป
• ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
o น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10) : จากการจัดประชุมครั้งนี้มีความคาดหวังว่าพี่เลี้ยงระดับตำบลและอำเภอจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพื้นที่ต่างๆ ไปปรับใช้กับการเขียนแผนงาน/โครงการที่มีคุณภาพในระบบเว็บไซต์ สามารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้เขียนโครงการได้ และมีการติดตามและสามารถขยายผลการดำเนินโครงการภายใต้กองทุนฯ ในปีต่อไป ให้เกิดความยั่งยืน โดยการผลักดันหนุนเสริมประเด็นสุขภาวะ 8 ประเด็น คือ 1. การจัดการระบบอาหาร 2. การเพิ่มกิจกรรมทางกาย 3. การจัดการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ สารเสพติด 4. การจัดการปัญหาความปลอดภัยทางถนน 5. สุขภาพจิต 6. มลพิษทางอากาศ 7. การจัดการขยะ 8. การป้องกันโรคอุบัติใหม่ เข้าสู่แผนงานการขับเคลื่อนด้วยกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชอ.)
o ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ (สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลานครินทร์) : จากการสะท้อนปัญหาการดำเนินการจากหลายพื้นที่ มีประเด็นที่สำคัญคือ ความเข้าใจของผู้บริหารหน่วยงาน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะผู้พิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการของพื้นที่ ที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนแผนงานให้เกิดความต่อเนื่อง จึงเสนอแนะหากมีการจัดประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับตำบล/อำเภอ หรือ การประชุมเพื่อวางแผนเตรียมการจัดกิจกรรมติดตามความก้าวหน้าและสรุปผลการดำเนินงาน หรือการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการยกระดับศักยภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อยากให้เรียนเชิญระดับผู้บริหารหรือผู้เกี่ยงข้องกับการพิจารณาอนุมัติแผนงงาน/โครงการ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เช่น นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
ประชาสังคม-10 เมื่อ 24 เม.ย. 2567
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
เพื่อจัดทำแผนงาน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ
กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ : ข้อที่ 1 และข้อที่ 2
และตัวชี้วัดผลงานของโครงการ : ข้อที่ 4

• กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมโดย น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10)

• สรุปผลการจัดทำแผนงานและโครงการในระบบ และร่วมแลกเปลี่ยน โดย นายวินัย วงศ์อาสา และคณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10
อ้างถึง การขับเคลื่อนที่ผ่านมาภายใต้กองทุนสุขภาพตำบล โดยโครงการฯ มีแผนงาน ขั้นตอนและกระบวนการที่ดำเนินการมาแล้วคือ การประชุมร่วมคณะทำงานระดับเขตและคณะทำงานระดับอำเภอ เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน, เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะ 8 ประเด็น คือ 1. การจัดการระบบอาหาร 2. การเพิ่มกิจกรรมทางกาย 3. การจัดการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ สารเสพติด 4. การจัดการปัญหาความปลอดภัยทางถนน 5. สุขภาพจิต 6. มลพิษทางอากาศ 7. การจัดการขยะ 8. การป้องกันโรคอุบัติใหม่ โดยได้มีการอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นการขับเคลื่อนข้อที่ 2 ที่ได้มีการประชุมกับส่วนกลางกับกิจกรรมที่กำลังผลักดัน คือ การเพิ่มกิจกรรมทางกาย หรือ กิจกรรม PA (Physical Activities) ความหมายของ PA ในโครงการ ไม่ใช่แค่การออกกำลังกาย การเต้นแอโรบิคเท่านั้น แต่เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายทุกมิติ ทั้งการทำงาน การนันทนาการ ฯลฯ
โจทย์ความท้าทาย ในการขับเคลื่อนงานกองทุนตำบล คือ เราจะตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาด้านสุขภาวะคนไทยได้อย่างไร ทางกองทุนร่วมกับภาควิชาการกำหนดตัวชี้วัดประเด็นครอบคลุมใน 8 มิติ ทั้งนี้ได้มีการพัฒนาระบบโปรแกรมการติดตามโครงการกองทุนขึ้นมาใช้ควบคู่กับ โปรแกรมของ สปสช. เป็นการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ สรุปงานส่ง เพื่อแก้ไขปัญหา สุขภาวะในชุมชน โดยมีตัวชี้วัดของกองทุน คือ จะต้องได้ 320 แผน (โครงการ) (โดยนับปี 66 - 67 ได้) อยากให้ช่วยกันผลักดันให้พื้นที่ที่ร่วมกับกองทุน เข้ามาใช้โประแกรมคู่ขนาน เพื่อเป็นการติดตามได้ และเป็นการเก็บข้อมูลการรายงานผลสำเร็จของโครงการ
ปัญหาอุปสรรคที่พบในการจัดทำข้อมูล แผนในระบบ (Excal) กับแผนในกองทุน (เว็บไซต์) ไม่ตรงกัน ทำให้ไม่สามารถนำแผนในระบบมาใช้กับกองทุนได้ คณะทำงานยังไม่เข้าใจระบบ เนื่องจากยังมีความซับซ้อน จึงได้มีการ Work Shop การใช้งานในระบบโปรแกรมคู่ขนาน ในการใช้ติดตามรายงานผลของโครงการ ขอความช่วยเหลือจากทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบลให้ช่วยเข้าไปดู และดำเนินการทำรายงานติดตามโครงการ โครงการไหนยังไม่กดติดตามให้ช่วยเข้าไปกดติดตามในเมนู เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนของการขับเคลื่อนงานกองทุน
จากนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนกันในการกำหนดตัวชี้วัดในโครงการ ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา และความเป็นไปได้ของการดำเนินงาน เช่น ระยะเวลา งบประมาณ และทุนที่มีอยู่
• ร่วมวางแผนและออกแบบกำหนดการเวที และการทำแผนโครงการ
การเตรียมความพร้อม ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ครั้งที่ 3 ได้รายงานความก้าวหน้าของแต่ละตำบล เพื่อรวบรวมผลการติดตาเป็นข้อมูลในเวทีเพื่อแลกเปลี่ยน รวมทั้งได้ช่วยกันเติมเต็ม แนวทางการขับเคลื่อนงานที่ยังไม่สำเร็จ
• ร่วมแลกเปลี่ยนพร้อมสรุปผลและมอบหมายงาน
กำหนดการ สถานที่ประชุม และ การกำหนดการเตรียมความพร้อมข้อมูลในการนำเสนอ
ผลลัพท์: • ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : ผู้เข้าร่วมจำนวน 18 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลระดับอำเภอและระดับตำบลจากพื้นที่ 5 อำเภอ 3 จังหวัด
• ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : คณะทำงานทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ได้รับทราบความก้าวหน้าของโครงการ ได้เกิดการเรียนรู้การกำหนดตัวชี้วัดที่มีความสอดคล้องกับกับสถานการณ์ปัญหา และความเป็นไปได้ของการดำเนินงาน เช่น ระยะเวลา งบประมาณ และทุนที่มีอยู่ เกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรมติดตามงานโครงการตามแผนงานของกองทุน
• ได้กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ : ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ครั้งที่ 3เพื่อติดตามแผนงานโครงการ ทั้ง 8 ประเด็นของปี2566และ2567 ในวันที่30 พฤศจิกายน2566 เวลา 08.00 - 16.30 น. ห้องประชุมอเนกประสงค์ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนรีสอร์ท อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี (พี่เลี้ยงกองทุนละ 5 คน)
ประชาสังคม-10 เมื่อ 24 เม.ย. 2567
ประชุมเขิงปฏิบัติการ : พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ครั้งที่ 2 โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต10

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
1. เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต 10 ที่ผ่านมา
2. เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนในการดำเนินการพัฒนาการเขียนแผนงานและการเขียนโครงการในระบบเว็บไซต์
3. เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการและติดตามและสนับสนุนการจัดทำโครงการคุณภาพ การเสนอโครงการขอรับงบกองทุนฯ และการรายงานผลการดำเนินงานในระบบเว็บไซต์
กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ : ข้อที่ 1 และข้อที่ 2
และตัวชี้วัดผลงานของโครงการ : ข้อที่ 1 และ 4
• กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดย นายวินัย วงษ์อาสา (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10)
• แนะนำคณะทำงาน คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบล
• รายงานผลภาพรวมของการดำเนินงานโครงการ ฯ ที่ผ่านมา โดย คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอ (นำเสนออำเภอละ 5-7 นาที)
o อำเภอกันทรลักษ์ ได้แก่ ตำบลโนนสำราญ ตำบลตระกาจ
o อำเภอม่วงสามสิบ ได้แก่ ตำบลหนองเหล่า ตำบลเหล่าบก
o อำเภอเขื่องใน ได้แก่ ตำบลสร้างถ่อ ตำบลหัวดอน
o อำเภอโนนคูณ ได้แก่ ตำบลบก ตำบลโนนค้อ
o อำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้แก่ ตำบลสงเปือย ตำบลกู่จาน
เป็นการนำเสนอการดำเนินโครงการ ฯ ภาพรวมระดับอำเภอ โดย คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอ โดยมีรายละเอียดในการนำเสนอ คือ จำนวนโครงการที่ดำเนินการและบันทึกข้อมูลในระบบเว็บไซต์ การพัฒนาการเขียนแผนงาน/โครงการ และการนำไปปฏิบัติงาน เพื่อให้เห็นความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงของแผนงาน/โครงการ กะบประเด็นสุขภาวะทั้ง 8 ด้าน
• นำเสนและแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดี และแผนที่ดีของกองทุนฯ โดย คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับตำบล (นำเสนอตำบลละ 5-7 นาที)
o ตำบลโนนสำราญ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
o ตำบลตระกาจ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
o ตำบลหนองเหล่า อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี
o ตำบลเหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี
o ตำบลสร้างถ่อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
o ตำบลหัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
o ตำบลบก อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ
o ตำบลโนนค้อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
o ตำบลสงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
o ตำบลกู่จาน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
• เป็นการนำเสนอการดำเนินโครงการ ฯ รายตำบล โดยให้พี่เลี้ยงระดับตำบลเป็นผู้นำเสนอผลการดำเนินงานการพัฒนาแผนงาน/โครงการ โดยนำเสนอเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่อื่นๆ ตั้งแต่สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ บริบทประเด็นปัญหาที่มีความสอดคล้องกับขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้แก่ ยาสูบ สุราและสิ่งเสพติด อาหาร กิจกรรมทาง กาย ความปลอดภัยทางถนน สุขภาพจิต มลพิษจากสิ่งแวดล้อม และปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ และความเชื่อมโยงของการดำเนินการบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานท้องถิ่น เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีจำนวนแผนงาน/โครงการที่มีการดำเนินการไปแล้วจำนวนเท่าใด หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการ หรือเป็นโครงการบูรณาการร่วมกับท้องถิ่น เช่น การได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต. เทศบาล เพื่อขับเคลื่อนโครงการตามที่ได้มีการขอสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสุขภาพระดับตำบล ความคาดหวังต่อการดำเนินโครงการในช่วง 1 ปี รวมถึงการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดี และแผนที่ดีของแต่ละตำบล เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมกับพื้นที่
• ร่วมแลกเปลี่ยน / ข้อเสนอแนะ การพัฒนาโครงการและแผนงาน โดย คณะทำงานโครงการฯ จาก สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
o จากการนำเสนอของพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบล ทางคณะทำงานโครงการฯ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เรื่องความถูกต้องสมบูรณ์ของการเก็บข้อมูลที่นำมาลงในระบบเว็บไซต์ ก่อนที่จะมีการพัฒนาแผนงาน/โครงการ เนื่องจาก ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากการทำแบบสอบถาม ซึ่งอาจมีปู้ตอบแบบสอบถามไม่ครอบคลุมทั้งหมดของพื้นที่แต่ละตำบล จึงมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลและการนำมาเขียนแผนงาน/โครงการ เช่น การอ้างอิงข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด หรือข้อมูลจากหน่วนงานภาครัฐที่มีการจับเก็บอย่างต่อเนื่อง เพื่อมาประกอบกับการเขียนแผรงาน/โครงการ ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ และสอดคล้องกับบริบทพื้นที่
• มอบหมายการติดตามแผนงาน/โครงการ โดย การจับคู่ (BUDDY) พี่เลี้ยงในพื้นที่ใกล้เคียง
o เพื่อการติดตามแผนงาน/โครงการที่มีคุณภาพ พื้นที่เขต 10 มีความเห็นร่วมกันในการเสนอและนำรูปแบบการจับคู่พี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลในพื้นที่ที่มีความใกล้เคียงกัน เนื่องจากแต่ละพื้นที่จะมีบทเรียนของการพัฒนาแผนงาน/โครงการที่แตกต่างกัน หากเป็นพื้นที่ที่มีรูปแบบการบูรณาการ หรือการเขียนแผนงาน/โครงการ ในประเด็นใกล้เคียงกัน ก็สามารถที่จะมีการปรึกษาหารือและให้คำแนะนำร่วมกันได้ จึงมีการจับคู่พื้นที่และมอบหมายการติดตามการพัฒนาแผนงาน/โครงการ
ผลลัพท์: • ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ผู้เข้าร่วมจำนวน 100 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลระดับอำเภอและระดับตำบลจากพื้นที่ 5 อำเภอ 3 จังหวัด
• ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ จากการประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการประชุมเขิงปฏิบัติการ : พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ครั้งที่ 2 โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต10 พบว่า พื้นที่ดำเนินการพื้นที่เขต 10 จำนวน 5 อำเภอ 3 จังหวัด • มีความคืบหน้าในการเขียนแผนงาน/โครงการในระบบเว็บไซต์ และได้จำนวนแผนงาน/โครงการที่สามารถขออนุมัติจากกองทุนพัฒนุขภาพระดับตำบลได้ แต่ยังมีปัญหาอุปสรรค เช่น การสลับเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลในระบบเว็บไซต์ การบันทึกข้อมูลในระบบเว็บไซต์ การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบ เกิดรูปแบบการติดตามการพัฒนาศักยภาพ คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการจับคู่ (BUDDY) และการเขียนแผนงาน/โครงการ มีการบูรณาการกับหน่วยงานท้องถิ่น เช่น เช่น การได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนโครงการตามที่ได้มีการขอสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสุขภาพระดับตำบล หรือนำแผนงาน/โครงการของพื้นที่ตำบลที่มีอยู่แล้วมาปรับให้เข้ากับสถกานการณ์ประเด็นปัญหาของพื้นที่
ประชาสังคม-10 เมื่อ 24 เม.ย. 2567
• กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมโดย น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10)
• ทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดย นายรพินทร์ ยืนยาว มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10)
o โดยโครงการฯ มีแผนงาน ขั้นตอนและกระบวนการที่ดำเนินการมาแล้วคือ การประชุมร่วมคณะทำงานระดับเขตและคณะทำงานระดับอำเภอ เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน, ชี้แจงเป้าหมายการดำเนินงานโครงการและสานความร่วมมือ (MOU) เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะ 8 ประเด็น, ชี้แจงทำความเข้าใจและพัฒนาทักษะการเก็บข้อมูลและจัดทำแผนงานสุขภาวะ 8 ประเด็นให้กับพี่เลี้ยงกองทุน, การสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำแผน 8 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ 1. การจัดการระบบอาหาร 2. การเพิ่มกิจกรรมทางกาย 3. การจัดการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ สารเสพติด 4. การจัดการปัญหาความปลอดภัยทางถนน 5. สุขภาพจิต 6. มลพิษทางอากาศ 7. การจัดการขยะ 8. การป้องกันโรคอุบัติใหม่ และการพัฒนาทักษะพี่เลี้ยงกองทุนเพื่อให้สามารถจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการและเสนอโครงการ ติดตามประเมินผลโครงการในระบบเว็บไซต์ มาแล้ว 1 ครั้ง ในพื้นที่เขต 10 จำนวน 5 อำเภอ 3 จังหวัด (พื้นที่ดำเนินการ 32 แห่ง)
• นำเสนอและร่วมแลกเปลี่ยนความคืบหน้าการเขียนแผนงานและโครงการ ภายหลังจากการพัฒนาทักษะการจัดทำแผนงาน/โครงการ ให้กับพี่เลี้ยงกองทุนและการเขียนข้อเสนอโครงการในระบบเว็บไซต์
ครั้งที่ 1 โดย คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบล
o ตำบลโนนสำราญ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้แผนงาน 10 ด้าน และนำไปสู่การพัฒนากองทุนสุขภาพตำบล โดยบางเรื่องได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.โนนสำราญ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ และบางเรื่องเป็นเรื่องที่ทางท้องถิ่นดำเนินการอยู่แล้ว และบางเรื่องต้อของบประมาณจากกองทุนฯ เพื่อดำเนินการในพื้นที่ แต่มีปัญหาอุปสรรคในการกรอกข้อมูลผ่านทางระบบเว็บไซต์ เนื่องจาก ผู้ปฏิบัติงานและผู้ลงข้อมูลในระบบอาจจะเป็นคนละคนกัน และมีข้อเสนอแนะว่าให้สามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา เพื่อให้ข้อมูลของโครงการมีรายละเอียดมากขึ้น เพราะเมื่อมีการกดอนุมัติโครงการแล้วจะไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้
o ตำบลหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี แรกเริ่มได้มีการนำข้อมูลเข้าระบบเว็บไซต์ได้จำนวน 10 โครงการ แต่เมื่อมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ก็ได้ทราบว่าการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับโครงการบางส่วนยังไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องตามประเด็นปัญหา และพบปัญหาสรรคในการดำเนินงานคือโครงการที่ได้รับการอนุมัติ แต่ไม่ใช้ประเด็นตามแผนงานสุขภาวะ 8 ประเด็น ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ในระบบเว็บไซต์
o ตำบลเหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี แผนงานที่ได้กรอกในระบบเว็บไซต์ มี 8 แผนงาน 15 โครงการ มีโครงการด้านการจัดการขยะ การป้องกันโรคติดต่อ กิจกรรมทางการโดยการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุ การจัดการความปลอดภัยทางถนน โครงการงานบุญปลอดเหล้า โดยได้มีการพัฒนาโครงการและบางกิจกรรมตามโครงการหรือแผนงานที่เราเขียนไปนั้น ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ
o ตำบลสร้างถ่อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เนื่องจากผู้บันทึกข้อมูลจะเป็นคณะทำงานจาก อบต.สร้างถ่อ อ.เขื่องใน จ.อุบลฯ แต่ข้อมูลที่บันทึกในโครงการนั้นจะมาจากหลากหลายภาคส่วนร่วมกันเขียนโครงการ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ อสม. สถานศึกษา (โรงเรียน) รพ.สต. ตำบลสร้างถ่อ มีการพัฒนาแผนงานโครงการ เช่น กิจกรรมทางกาย มีการเขียนโครงการ 17 โครงการ (ดำเนินการทุกหมู่บ้าน) ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสุขภาพตำบล ประเด็นเรื่องยาเสพติด/ยาสูบ/สุรา มี 2 โครงการ ประเด็นความปลอดภัยทางถนน มีการร่วมเขียนโดยกลุ่มประชาชนในพื้นที่ ประเด็นมลพิษทางอากาศ จัดทำในนามหมู่บ้าน และได้รับงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมจาก อบต.สร้างถ่อ ด้วย ส่วนแผนงานด้านสุขภาพจิต ผู้ดำเนินงานจะมีทีม อสม. และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่ร่วมเขียนโครงการด้วย กิจกรรมทางกาย ส่งเสริมกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ โดยทาง อบค.มีการร่วมสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ดำเนินการต่อไปได้ รวมถึงการช่วยเขียนแผนงาน โครงการ ทำให้กิจกรรมในพื้นที่มีความหลากหลาย
o ตำบลตระกาจ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พื้นที่ตำบลตระกาจ มีการทำงานที่สอดคล้องกับประเด็นสุขภาวะอยู่แล้ว แต่เมื่อเขียนแผนงาน/โครงการในระบบเว็บไซต์ อาจจะมีชื่อแผนงาน/โครงการที่ไม่สอดคล้องกับประเด็นสุขภาวะทั้ง 8 และ อบต.ตระกาจ ก็มีการกระจายงบประมาณเพื่อสนับสนุนแผนงานตามนโยบายด้วย
o ตำบลกู่จาน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร มีการดำเนินการ 4 แผนงาน คือ แผนงานสุขภาพจิต แผนงานโรคอุบัติใหม่ แผนงานมลพิษและสิ่งแวดล้อม แผนงานความปลอดภัยทางถนน โดยเป็นแผนงานที่ยกระดับจากการสนับสนุนงบประมาณของกองทุนพัฒนาสุขภาพตำบล แต่ในการกรอกข้อมูลทางระบบเว็บไซต์ พบปัญหาเนื่องจากการกรอกข้อมูลชื่อโครงการจะไม่ตรงกับแผนงานของท้องถิ่น จึงแก้ปัญหาโดยการนำแผนงานของท้องถิ่นเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ใน เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการต่อไปได้ และเชื่อมโยงความสอดคล้องแผนงานของพื้นที่และแผนงานที่ขอสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสุขภาพตำบล
o ตำบลสงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ก่อนที่จะมีการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเว็บไซต์กองทุนพัฒนาสุขภาพตำบลนั้น ทางท้องถิ่นได้มีการจัดทำแผนสุขภาพก่อน เพื่อให้เห็นว่าในพื้นที่มีประเด็นปัญหาเรื่องใด และจะได้มีการเขียนแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ ซึ่งได้แผนที่สอดคล้องกับประเด็นในพื้นที่และประเด็นสุขภาวะ 2 แผน คือ เรื่องปัญหาสุขภาพจิตและประเด็นสิ่งเสพติด
• ข้อเสนอแนะ
o เพื่อให้แผนงาน/โครงการมีความครอบคลุมทั้ง 8 ประเด็นสุขภาวะ เห็นว่าถ้าได้มีการทำงานหรือปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ท้องถิ่น รพ.สต. จะทำให้เห็นว่ามีโครงการที่สอดคล้องตามประเด็นสุขภาวะอยู่แล้ว และมีการดำเนินการอยู่ แต่ไม่ได้นำมาเป็นแผนงาน/โครงการ ที่ขอสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสุขภาพตำบล ซึ่งถ้าได้มีการประชุมร่วมกันอาจจะได้แผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับประเด็นสุขภาวะ และสามารถนำไปบูรณาการพื่อทำงานร่วมกันได้
o จากการเขียนแผนงาน/โครงการในระบบเว็บไซต์ จะพบมีปัญหาเรื่องการกรอกข้อมูลอยู่ เช่น การกรอกชนาดของปัญหา ซึ่งหลายพื้นที่อาจจะยังไม่เข้าใจในรายละเอียดส่วนนี้ แต่ก็มีหลายพื้นที่ที่สามารถกรอกได้อย่างสมบูรณ์ จึงอยากให้มีโมเดลหรือแผนภาพขั้นตอนการกรอกข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนสมบูรณ์ จะสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
• แนะนำขั้นตอน การติดตามโครงการทางระบบเว็บไซต์ โดย นายวินัย วงษ์อาสา (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10)
• ร่วมวางแผนและออกแบบกำหนดการประชุมเขิงปฏิบัติการ : พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ครั้งที่ 2 โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต10
o เป้าหมาย/วัตถุประสงค์การจัดการประชุม : เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและแลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินงานในการพัฒนาแผนงาน/โครงการปี 2566 และร่วมกันวางแผนงานโครงการระยะต่อปี 2567
o ผู้เข้าร่วม : ประกอบด้วย คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลในพื้นที่เขต 10 จำนวน 5 อำเภอ 3 จังหวัด (พื้นที่ดำเนินการ 32 แห่ง)
o กระบวนการสำคัญ : 1) คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมาในภาพรวม 2) คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับแลกเปลี่ยนบทเรียนโครงการที่ดีแผนที่ดีของตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ตำบลอื่นๆ 3) การเติมเต็มข้อมูลและแนวทางการพัฒนาแผนงาน/โครงการ การติดตามแผนงาน/โครงการที่มีคุณภาพของคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบล
ผลลัพท์: • ผลลัพธ์เชิงปรอมาณ ผู้เข้าร่วมจำนวน 25 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลระดับอำเภอและระดับตำบลจากพื้นที่ 5 อำเภอ 3 จังหวัด
• ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ จากการประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการประชุมเขิงปฏิบัติการ : พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ครั้งที่ 2 โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต10 พบว่า พื้นที่ดำเนินการพื้นที่เขต 10 จำนวน 5 อำเภอ 3 จังหวัด (พื้นที่ดำเนินการ 32 แห่ง) มีความคืบหน้าในการเขียนแผนงาน/โครงการในระบบเว็บไซต์ โดยมีคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลช่วยพัฒนาศักยภาพผู้เขียนแผนงาน/โครงการ โดยการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน เช่น ท้องถิ่น สถานศึกษา อสม. ประชาชนทั่วไป และมีการยกระดับศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการจับคู่ (BUDDY) คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลใกล้เคียง
• ได้กำหนดการประชุมเขิงปฏิบัติการ : พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ครั้งที่ 2 โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต10 ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมอิ่มบุญ 1 โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
ประชาสังคม-10 เมื่อ 24 เม.ย. 2567
1.กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม
2.ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุม
3.ทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและนำเสนอกระบวนการการพัฒนาโครงการ
4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 แลกเปลี่ยน/ถาม-ตอบ, ช่วงที่ 2 การแบ่งกลุ่มเพื่อให้แต่ละพื้นที่กรอกข้อมูลแผนงานในระบบเว็บไซต์ และช่วงที่ 3 รับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการ โดยทีมวิทยากรและทีมพี่เลี้ยง
ผลลัพท์: ทำให้พี่เลี้ยงที่มีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการของ กองทุนฯ ซึ่งภาพรวมจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาทักษะการจัดทำแผนงานสุขภาวะ 8 ประเด็นให้กับพี่เลี้ยงกองทุนและการเขียนข้อเสนอโครงการผ่านทาง Website”
- พื้นที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ มีแผนงานที่เสนอผ่านทางเว็บไซต์แล้ว ทั้งสิ้น 88 แผน 19 โครงการ (ตามภาพประกอบ/ข้อมูล ณ วันที่ 25 เมษายน 2566)
- พื้นที่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี มีแผนงานที่เสนอผ่านทางเว็บไซต์แล้ว ทั้งสิ้น 58 แผน 30 โครงการ (ตามภาพประกอบ/ข้อมูล ณ วันที่ 26 เมษายน 2566)
- พื้นที่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี มีแผนงานที่เสนอผ่านทางเว็บไซต์แล้ว ทั้งสิ้น 58 แผน 30 โครงการ (ตามภาพประกอบ/ข้อมูล ณ วันที่ 27 เมษายน 2566)
- พื้นที่ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร มีแผนงานที่เสนอผ่านทางเว็บไซต์แล้ว ทั้งสิ้น 87 แผน 19 โครงการ (ตามภาพประกอบ/ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2566)
- พื้นที่ อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ มีแผนงานที่เสนอผ่านทางเว็บไซต์แล้ว ทั้งสิ้น 63 แผน 16 โครงการ (ตามภาพประกอบ/ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน 2566)
ซึ่งหลังจากนี้จะได้ดำเนินการพัฒนาแผนงานและเขียนโครงการให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ความเชื่อมโยง และการประสานงานกันกับกิจกรรมหรือโครงการอื่นๆ หรือผู้มีส่วนได้เสียหรือหน่วยงานองค์กรอื่นๆ:
มีกระบวนการทำงานร่วมกันผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมพี่เลี้ยงแต่ละพื้นที่ที่มีการจัดทำแผนงานและโครงการผ่านทาง Website กองทุนสุขภาพตำบล สามารถยกระดับทีมพี่เลี้ยงให้สามารถนำกลับไปทำในพื้นที่และถ่ายทอดการเขียนแผนงานและโครงการให้พื้นที่อื่นๆ ได้
ประชาสังคม-10 เมื่อ 24 เม.ย. 2567
1.ชี้แจงแผนการดำเนินงาน โดย น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานโครงการฯเขตสุขภาพที่ 10
2.ร่วมวางแผนและออกแบบกำหนดการเวที และการทำแผนโครงการ โดยนายเชษฐา คันธจันทร์ ทีมพี่เลี้ยงระดับอำเภอเขื่องใน
3.อธิบายการสรุปผลการเก็บข้อมูล และร่วมแลกเปลี่ยนโดยทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ ได้แก่ นายชาญชัย เสี้ยวทอง ทีมพี่เลี้ยงระดับอำเภอคำเขื่อนแก้ว พร้อมด้วยนางสุขกาย นาคผล ทีมพี่เลี้ยงระดับอำเภอเขื่องใน
4.สะท้อนผลการดำเนินงาน พร้อมสรุปผลและมอบหมายงาน หลังจากนั้นรับฟังข้อเสนอแนะ
ผลลัพท์: •ฐานข้อมูล (ก่อน-หลัง) ใช้ข้อมูลที่เก็บใหม่ เชื่อมโยงกับโครงการในปีงบ 2566 และใช้ขยายผลมากขึ้นในปีงบประมาณ 2567 (พิจารณาจากข้อมูลใน 10 ประเด็นที่มีการจัดเก็บข้อมูล)
•ประเด็นปัญหาสุขภาพ (ในระบบโปรแกรมของ สสส.+มอ.-มองเห็นภาพข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสุขภาพในรวมทั้งตำบล) ในระบบ สปสช.เห็นข้อมูลเฉพาะประเด็นที่มีการนำเสนอจากหน่วยงานขอรับสนับสนุนงบประมาณ
•การพัฒนาศักยภาพ ทำอย่างไรจะไปถึงคณะกรรมการกองทุน เช่น นำใช้ข้อมูลจากการสำรวจ นำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุน
•ใน อ.เขื่องใน มีการจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมทุกมิติ และทุกกลุ่มวัย ครบทุกครัวเรือน (โปรแกรมออนไลน์ ของ สสส.สำนัก 3-TACNAP)
•การบูรณาการข้อมูลจากระบบโปรแกรม (ถ้ากรอกข้อมูลในโปรแกรม สสส.+มอ.ก่อน แล้วนำไปใช้กับโปรแกรม สปสช.จะเกิดประโยชน์ได้มาก)
•การจัดสรรงบประมาณ แบบแบ่งสัดส่วนตามกลุ่มเป้าหมายและหน่วยงาน
ตัวชี้วัดโครงการ ข้อที่ 1 และ 2 ได้กองทุนฯ เป้าหมายเข้าร่วมดำเนินงานเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการสร้างเสริมสุขภาวะที่สอดคล้องแผนงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น และข้อที่ 3 ได้คณะทำงาน/พี่เลี้ยงเข้าร่วมดำเนินการเพื่อเสริมทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการของ
ประชาสังคม-10 เมื่อ 24 เม.ย. 2567
1. ประชุมคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจวิธีการเก็บข้อมูล และออกแบบวางแผนการเก็บข้อมูล
2. ประชุมทีมเก็บข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจแบบเก็บข้อมูลและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
3. ดำเนินการเก็บข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. รวบรวมแบบเก็บข้อมูลเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
ผลลัพท์: สรุปผลการดำเนินการเก็บข้อมูลของกองทุนฯ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ดังนี้
1. กองทุนฯ อบต.สงเปือย ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ประชุมคณะทำงานเพื่อออกแบบและวางแผนการเก็บข้อมูล โดยคัดเลือกตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 เป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บ (9 คน) การกำหนดกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูได้คำนวณเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน โดยกลุ่มตัวอย่างระดับบุคคล กับระดับครัวเรือน (แยกกัน) มีรายชื่อบุคคลให้กับทีมเก็บข้อมูล (เพื่อประโยชน์ในการเก็บข้อมูลหลังการดำเนินงาน) ส่วนข้อมูลระดับชุมชน/กองทุน แจกให้กับผู้นำชุมชนช่วยกรอกข้อมูล
2. กองทุนฯ อบต.เหล่าไฮ ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ คณะทำงานกำหนดกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลเฉลี่ยให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน คัดเลือกตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คนเป็นผู้ดำเนินการเก็บข้อมูลและรวบรวมส่งที่ รพ.สต.เขตพื้นที่รับผิดชอบ
3. กองทุนฯ อบต.นาคำ ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ตำบลนาคำมี 6 หมู่บ้าน คำนวณกลุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ประมาณหมู่บ้านละ 25 – 28 ชุด เฉลี่ยตามประชาการครอบคลุมทุกหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างช่วงอายุ 18 – 64 ปี และ 65 ปีขึ้นไป จะให้ทีม CG แต่ทุกหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการเก็บข้อมูล ส่วนช่วงอายุ 5 – 17 ปี ทีมคณะทำงานดำเนินการเก็บข้อมูลในโรงเรียน 3 แห่ง และคณะทำงานเป็นรวบรวมข้อมูลระดับชุมชน/กองทุน
4. กองทุนฯ อบต.กู่จาน ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ตำบลกู่จานมี 12 หมู่บ้าน ได้คำนวนกำหนดกลุ่มตัวอย่างประชากรเฉลี่ยตามประชาการครอบคลุมทุกหมู่บ้าน คัดเลือกทีมเก็บข้อมูล อสม.หมู่บ้านละ 1 คน เจ้าหน้าที่ อบต.รวบรวมข้อมูลระดับชุมชน/กองทุน โดยเข้าขอข้อมูลจากหน่วยงานราชการในพื้นที่(รร.+ชุมชน+รพ.สต.) และได้มีการกรอกข้อมูลในระบบก่อนแล้ว โดยมีทีมกรอกข้อมูล 4 คน (เจ้าหน้าที่ อบต.) กรอกข้อมูลในระบบเสร็จแล้ว
5. กองทุนฯ อบต.โพนทัน ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ตำบลโพนทันมี 5 หมู่บ้าน กำหนดกลุ่มตัวอย่างเฉลี่ยตามจำนวนประชาการให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน เฉลี่ยหมู่บ้านละ 50 ชุด โดยมีคณะทำงาน 5 คนเป็นผู้เก็บรับผิดชอบหมู่บ้านละ 1 คน (อบต.+รพ.สต.) ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเองและรวบรวมมาลงข้อมูลในระบบ
6. กองทุนฯ ทต.ดงแคนใหญ่ ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ตำบลดงแคนใหญ่มี 13 หมู่บ้าน คำนวนกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลเฉลี่ยหมู่บ้านละ 10 – 14 ชุด (บ้านใหญ่เล็ก) โดยแบ่งเป็นกลุ่มช่วงอายุ 5 – 17 ปี จะเก็บที่โรงเรียน 2 แห่ง (จำนวน 50 ชุด) ส่วนกลุ่มช่วง 18 ปีขึ้นไปเก็บตามที่กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยมีทีมเก็บข้อมูล คือ เจ้าหน้าที่เทศบาล 5 คน และรวบรวมข้อมูลระดับชุมชน
7. กองทุน อบต.ทุ่งมน ดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ ตำบลทุ่งมนมี 9 หมู่บ้าน กำหนดกลุ่มตัวอย่างงให้ข้อมูลโดยเฉลี่ยตามประชาการให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านเฉลี่ยประมาณหมู่บ้านละ 22 – 24 ชุด โดยให้ประธาน อสม. ประจำหมู่บ้านละ 1 คน เป็นผู้ดำเนินการเก็บข้อมูล ในส่วนข้อมูลระดับชุมชนเป็นทีมคณะทำงาน 3 คน เป็นทีมรวบรวมรวบรวมข้อมูลระดับชุมชน/กองทุน

สรุปผลการดำเนินการเก็บข้อมูลของกองทุนฯ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ดังนี้
1. กองทุนฯ อบต.สร้างถ่อ มีการดำเนินงาน ดังนี้ 1) จัดประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วย นายก อบต. ปลัด อบต. ผอ.รพ.สต. ทั้ง 3 แห่ง และทีมเลขานุการ เพื่อออกแบบวางแผนการเก็บข้อมูลและกำหนดกลุ่มตัวอย่างและช่วงอายุในเขตรับผิดชอบ 2) ประชุมเตรียมทีมเก็บข้อมูล 17 คน (ตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คน) เก็บข้อมูลผ่าน app มี 17 หมู่บ้านๆ ละ 10-12 ชุด (ระดับบุคคล) เช่น หมู่ที่ 1 อายุ 5-17 จำนวน 3 คน อายุ 18-64 จำนวน 6 คน อายุ 64 ปีขึ้นไป จำนวน 3 ชุด โดยระดับบุคคล กับระดับครัวเรือนคนละกลุ่มกัน ข้อจำกัด คือ ไม่สามารถตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลทั้ง 3 ระดับได้
2. กองทุนฯ อบต.บ้านไทย ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ 1) ประชุมเตรียมทีมเก็บข้อมูล 12 คน (ตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คน ตำบลบ้านไทยมี 12 หมู่บ้าน) เก็บข้อมูลผ่าน app และกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่จะคัดเลือกเก็บข้อมูลเฉลี่ยหมู่บ้านประมาณ 15 - 18 ชุด
3. กองทุนฯ อบต.ยางขี้นก มีการดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมเตรียมทีมเก็บข้อมูลและวางแผนการเก็บข้อมูล กำหนดทีมเก็บข้อมูลหมู่บ้านละ 2 คน (ตัวแทน อสม.) และกำหนดกลุ่มตัวอย่างการเก็บข้อมูลเฉลี่ยหมู่บ้าน 20 ชุด
4. กองทุนฯ อบต.โนนรัง มีการดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมทีมคณะทำงานเพื่อคัดเลือกทีมเก็บข้อมูล (ตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คน) และชี้แจงวิธีการเก็บข้อมูลกับทีมเก็บข้อมูล ตำบลโนนรังมี 7 หมู่บ้านเฉลี่ยหมู่บ้านละ 25 ชุด
5. กองทุนฯ อบต.หนองเหล่า มีการดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมเตรียมทีมเก็บข้อมูล คัดเบือกตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คน กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่จะเก็บข้อมูลหมู่บ้านละ 10 – 12 ชุด นัดหมายรวมรวบข้อมูลที่ รพ.สต.ในพื้นที่
6. กองทุนฯ อบต.สหธาตุ มีการดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมคณะทำงานเพื่อคัดเลือก อสม. (ตัวแทน อสม.หมู่บ้านละ 1 คน) และประชุมเตรียมทีมเก็บข้อมูล กำหนดกลุ่มตัวอย่างการเก็บข้อมูลเฉลี่ยหมู่บ้าน 22 – 25 ชุด ขณะนี้รวบรวมข้อมูลได้ประมาณ 70% และอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลส่วนที่เหลือ
7. กองทุนฯ อบต.หัวดอน มีการดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ตำบลหัวดอนมี 11 หมู่บ้าน เฉลี่ยหมู่บ้านละ 10-12 ชุด โดยมอบหมายให้ตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คนดำเนินการเก็บข้อมูล ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลแบบเก็บข้อมูล
8. กองทุนฯ อบต.ชีทวน อยู่ระหว่างการประสานการเก็บข้อมูล คัดเลือกหาทีมเก็บข้อมูลจากทั้ง อบต. และ รพ.สต. โดยจะเร่งดำเนินการต่อไป

สรุปผลการดำเนินการเก็บข้อมูลของกองทุนฯ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ดังนี้
1. กองทุนฯ อบต.โนนสำราญ มี 11 หมู่บ้าน กลุ่มวัยเด็กเก็บข้อมูลนักเรียนประถมกับมัธยมต้น โรงเรียน 2 แห่ง (โรงเรียนละ 20 คน) และอบต.สุ่มเก็บเองบางส่วน กลุ่มวัยทำงาน เก็บข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนร่วมกับเวทีประชาคม เฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างตามประชากร/ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ มอบให้ CG เก็บข้อมูล (แบ่งออกเป็น 2 โซน) และอบต.สุ่มเก็บเองบางส่วน รวบรวมข้อมูลระดับชุมชน/กองทุน ขอข้อมูลจาก รพ.สต. ชุมชน อบต. (ข้อมูลใหม่ ได้แก่ สุรา บุหรี่) *งานที่ทำมาก่อนแล้ว ได้แก่ การลดอุบัติเหตุทางถนน
2. กองทุน ฯ อบต.กุดเสลา มี 16 หมู่บ้าน เฉลี่ยทุกหมู่บ้านๆละ 13 ชุด โดยใช้เวทีประชุมสภา อบต.ชี้แจงการเก็บข้อมูล โดยใช้ทีม ส.อบต.เป็นทีมเก็บข้อมูล
3. กองทุนฯ อบต.รุง มี 10 หมู่บ้าน เก็บข้อมูลเฉลี่ยหมู่บ้านละ 20 ชุด มีการแต่งตั้งคณะทำงาน 10 หมู่บ้านๆละ 2 คน (คัดเลือก อสม.) และประชุมชี้แจงการเก็บข้อมูล
4. กองทุนฯ อบต.ตระกาจ มี 12 หมู่บ้าน (บ้านม่วง 8 ศรีอุดม 4) ทีมเก็บโดย อสม. หมู่บ้านละ 1-2 คน มีโครงการขยะเปียกในชุมชน (จัดกิจกรรมพร้อมกับเก็บข้อมูลด้วย) ในกลุ่มวัยเด็ก (สุ่มในโรงเรียนมัธยม)
5. กองทุนฯ อบต.ขนุน มี 15 หมู่บ้าน ใช้การสุ่มตัวอย่าง เน้นให้เกิดการกระจายของข้อมูล หมู่บ้านละ 15-20 ชุด มี 2 รพ.สต. เลือก อสม.เป็นทีม(5 คน) โดยมีการชี้แจงการเก็บข้อมูล และให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นทีม
6. กองทุนฯ อบต.น้ำอ้อม มี 9 หมู่บ้าน เฉลี่ยตามจำนวนประชากร/ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มในชุมชนและผู้มาติดต่อราชการในอบต. ทีมคณะทำงาน 5 คน เป็นทีมเก็บข้อมูล
7. กองทุนฯ ทต.สวนกล้วย มี 12 หมู่บ้าน เฉลี่ยตามหมู่บ้านๆละ 20 ชุด ทีมเก็บข้อมูลมาจาก 2 รพ.สต. เลือกทีม อสม. 2 คนต่อ รพ.สต. (ลงเก็บข้อมูลเป็นทีม) *สร้างความเข้าใจกับทีมก่อน
ประชาสังคม-10 เมื่อ 24 เม.ย. 2567
1. ประชุมคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจวิธีการเก็บข้อมูล และออกแบบวางแผนการเก็บข้อมูล
2. ประชุมทีมเก็บข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจแบบเก็บข้อมูลและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
3. ดำเนินการเก็บข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. รวบรวมแบบเก็บข้อมูลเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
ผลลัพท์: สรุปผลการดำเนินการเก็บข้อมูลของกองทุนฯ อ.ม่วงสามสิบ ดังนี้
1. กองทุนฯ อบต.หนองเหล่า อ.ม่วงสามสิบ มี 15 หมู่บ้าน ทีมเก็บข้อมูลเป็น อสม.หมู่บ้านละ 1 คน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลโดยเฉลี่ยตามจำนวนประชากร/กระจายทุกหมู่บ้าน ชุดแบบสอบถามเก็บข้อมูลที่จัดเก็บได้ ประเภทบุคคล 204 ชุด ประเภทครัวเรือน 99 ชุด ประเภทชุมชน 1 ชุด
2. กองทุนฯ อบต.ดูมใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ มี 13 ทีมเก็บข้อมูลเป็น อสม. หมู่บ้านละ 2 คน โดยมีเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. ทั้ง 2 แห่ง เป็นพี่เลี้ยง รวบรวมข้อมูลส่ง อบต. เฉลี่ยตามจำนวนประชากร/กระจายทุกหมู่บ้าน ชุดแบบสอบถามเก็บข้อมูลที่จัดเก็บได้ ประเภทบุคคล 202 ชุด ประเภทครัวเรือน 102 ชุด ประเภทชุมชน 1 ชุด
3. กองทุนฯ อบต.ยางสักกะโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ มี 11 หมู่บ้าน มี รพ.สต. 3 แห่ง ใช้ทีม อสม.หมู่บ้านละ 1 คน เฉลี่ยตามจำนวนประชากร/กระจายทุกหมู่บ้าน ชุดแบบสอบถามเก็บข้อมูลที่จัดเก็บได้ ประเภทบุคคล 212 ชุด ประเภทครัวเรือน 110 ชุด ประเภทชุมชน 1 ชุด
4. กองทุนฯ อบต.เหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ ได้มีจัดเวทีประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการเก็บข้อมูลกับทีมเก็บข้อมูล มี 12 หมู่บ้าน จึงได้แบ่งให้ อสม. หมู่บ้านละ 1 คน รับผิดชอบเก็บข้อมูล และรวบรวมส่งที่ รพ.สต. ประจำเขต ใช้เกณฑ์เฉลี่ยตามจำนวนประชากร/กระจายทุกหมู่บ้าน ชุดแบบสอบถามเก็บข้อมูลที่จัดเก็บได้ ประเภทบุคคล 234 ชุด ประเภทครัวเรือน 108 ชุด ประเภทชุมชน 1 ชุด
5. กองทุนฯ อบต.ยางโยภาพ อ.ม่วงสามสิบ มี 3 รพ.สต. มอบประธาน อสม. รับผิดเก็บข้อมูล เฉลี่ยตามจำนวนประชากร/กระจายทุกหมู่บ้านชุดแบบสอบถามเก็บข้อมูลที่จัดเก็บได้ ประเภทบุคคล 215 ชุด ประเภทครัวเรือน 198 ชุด ประเภทชุมชน 1 ชุด

สรุปผลการดำเนินการเก็บข้อมูลของกองทุนฯ อ.โนนคุณ ดังนี้
1. กองทุนฯ อบต.โนนค้อ มี 20 หมู่บ้าน เฉลี่ยตามประชากร/กระจายทุกหมู่บ้าน มี 3 รพ.สต. ใช้ทีม อสม. เป็นทีมเก็บข้อมูล อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล
2. กองทุนฯ อบต.บก มี 17 หมู่บ้าน จัดประชุมทีมเก็บข้อมูล คือ อสม. โดยแบ่งทีมตาม รพ.สต. 2 แห่ง ชุดแบบสอบถามเก็บข้อมูลที่จัดเก็บได้ ประเภทบุคคล 213 ชุด ประเภทครัวเรือน 192 ชุด ประเภทชุมชน 1 ชุด
3. กองทุนฯ อบต.โพธิ์ มี 13 หมู่บ้าน เฉลี่ยแบบสอบถามให้เท่าๆ กันทุกหมู่บ้าน ทีมเก็บข้อมูล คือ มีทีมคณะทำงานกับทีมเยาวชน 5 คน (สภาเด็กและเยาวชนตำบล) *อยู่ระหว่างเก็บข้อมูล ข้อมูลชุมชน ยังไม่ได้เก็บรวบรวม ชุดแบบสอบถามเก็บข้อมูลที่จัดเก็บได้ ประเภทบุคคล 165 ชุด ประเภทครัวเรือน 121 ชุด ประเภทชุมชน 1 ชุด
4. กองทุนฯ อบต.หนองกุง มี 18 หมู่บ้าน 2 รพ.สต. เฉลี่ยแบบสำรวจตามหมู่บ้าน ใช้ทีมคณะทำงานหลายภาคส่วน ได้แก่ อบต.+ทีม รพ.สต.+ อสม. เป็นทีมเก็บข้อมูล/ ชุดแบบสอบถามเก็บข้อมูลที่จัดเก็บได้ ประเภทบุคคล 198 ชุด ประเภทครัวเรือน 102 ชุด ประเภทชุมชน 1 ชุด
5. กองทุนฯ อบต.เหล่ากวาง มี 12 หมู่บ้าน เฉลี่ยตามจำนวนประชากร/ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ทีมเก็บข้อมูล คือ อสม. ใช้การจับคู่เป็นทีม (5 ทีมๆละ 2 คน) เก็บข้อมูลได้ครบแล้ว ชุดแบบสอบถามเก็บข้อมูลที่จัดเก็บได้ ประเภทบุคคล 202 ชุด ประเภทครัวเรือน 151 ชุด ประเภทชุมชน 1 ชุด
ประชาสังคม-10 เมื่อ 24 เม.ย. 2567
- กล่าวต้อนรับและมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องประเด็นในการขับเคลื่อน 8 ประเด็นสุขภาวะกับประเด็นยุทธศาสตร์ ของ พชอ.
โดยนายธีรศักดิ์ แย้มศรี สาธารณสุขอำเภอโนนคูณ
- ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และนำเสนอการเก็บข้อมูลของกองทุนตำบลแต่ละพื้นที่ โดยนายสงกา สามารถ วิทยากรคณะทำงาน/พี่เลี้ยงระดับเขต
- วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาสุขภาวะของชุมชน แต่ละพื้นที่ โดยนายรพินทร์ ยืนยาว วิทยากรคณะทำงาน/พี่เลี้ยงระดับเขต
- แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการ “พัฒนาทักษะการเก็บข้อมูล”โดย นายวินัย วงศ์อาสา วิทยากรคณะทำงาน/พี่เลี้ยงระดับเขต
- สรุปผลการประชุมนัดหมายกิจกรรมต่อไปและปิดประชุม
ทีมพี่เลี้ยงสรุป AAR ร่วมกัน
ผลลัพท์: - พื้นที่เป้าหมาย 5 กองทุน ได้แก่
1. กองทุนฯอบต.โนนค้อ
- มี 20 หมู่บ้าน เฉลี่ยตามประชากร/กระจายทุกหมู่บ้าน
- มี 3 รพ.สต. ใช้ทีม อสม. เป็นทีมเก็บข้อมูล
- อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล

2. กองทุนฯอบต.บก
- มี 17 หมู่บ้าน
- จัดประชุมทีมเก็บข้อมูล คือ อสม. โดยแบ่งทีมตาม รพ.สต. 2 แห่ง
-
3. กองทุนฯอบต.โพธิ์
- มี 13 หมู่บ้าน เฉลี่ยเท่าๆกันทุกหมู่บ้าน
- ทีมเก็บข้อมูล คือ มีทีมคณะทำงานกับทีมเยาวชน 5 คน (สภาเด็กและเยาวชนตำบล) *อยู่ระหว่างเก็บข้อมูล
- ข้อมูลชุมชน ยังไม่ได้เก็บรวบรวม
-
4. กองทุนฯอบต.หนองกุง
- มี 18 หมู่บ้าน 2 รพ.สต. เฉลี่ยแบบสำรวจตามหมู่บ้าน
- ใช้ทีมคณะทำงานหลายภาคส่วน ได้แก่ อบต.+ทีม รพ.สต.+ อสม. เป็นทีมเก็บข้อมูล/

5. กองทุนฯอบต.เหล่ากวาง
- มี 12 หมู่บ้าน เฉลี่ยตามจำนวนประชากร/ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
- ทีมเก็บข้อมูล คือ อสม. ใช้การจับคู่เป็นทีม (5 ทีมๆละ 2 คน)
- เก็บข้อมูลได้ครบแล้ว

คณะทำงานกองทุนฯ ได้บันทึกข้อมูลแบบสอบถามเข้าในระบบเว็บไซต์ ซึ่งสามารถดูผลความก้าวหน้าการบันทึกข้อมูล ดังนี้
ชื่อกองทุน จำนวนการกรอกข้อมูล (ชุด)
บุคคล
(200) ครัวเรือน
(100) ชุมชน
(1)
กองทุนฯ อบต.โนนค้อ 174 165 -
กองทุนฯ อบต.บก 213 192 1
กองทุนฯ อบต.โพธิ์ 165 121 -
กองทุนฯ อบต.หนองกุง 198 102 1
กองทุนฯ อบต.เหล่ากวาง 202 151 1
- คณะทำงานกองทุนฯ เข้าไปสร้างแผนงานสุขภาพปี 2566 ในระบบเว็บไซต์ จำนวน 10 แผน และได้วิเคราะห์ข้อมูลโครงการที่ควรจะดำเนินงานในแต่ละแผนงาน อย่างน้อย 5 โครงการ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาโครงการต่อไป
- นัดหมายจัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อจัดทำแผนงานและโครงการสุขภาวะ วันที่ 30 มีนาคม 2566