โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Farmer ในจังหวัดพัทลุง

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Farmer ในจังหวัดพัทลุง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Farmer ในจังหวัดพัทลุง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
หน่วยงานหลัก คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
หน่วยงานร่วม - Dragon farm ตำบลท่าแค จังหวัดพัทลุง -บริษัท โฮมมาร์ทมังกรทอง จำกัด
ชื่อชุมชน พื้นที่การทำเกษตรกรรมไม้ผลได้แก่ มะละกอพันธุ์เรด เลดี้ ในพื้นที่ ตำบลท่าแค จังหวัดพัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อ.ดร.ปริศนา วงศ์ล้อม ผศ.ดร.สรพงค์ เบญจศรี
การติดต่อ 074-609605
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 60,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง เมืองพัทลุง ท่าแค place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
เกษตรกรขาดองค์ความรู้ด้านใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในธุรกิจเกษตร ความรู้ด้านการตลาด และเทคนิคการเพิ่มมูลค่าการขายสินค้า
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในธุรกิจเกษตร ความรู้ด้านการตลาด และเทคนิคการเพิ่มมูลค่าการขายสินค้า

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในธุรกิจเกษตร และความรู้ในการเกษตร การบริหารจัดการทั้ง การผลิต การตลาด รวมถึงวิเคราะห์ เชื่อมโยงให้คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค สังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อม

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

สาขาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ได้เห็นความสำคัญของเกษตรกรซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการยกระดับประชากรไทย และพัฒนาให้ไทยก้าวไปสู่การเป็นประเทศดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบตามนโยบาย Thailand 4.0 ดังนั้นแนวคิดเรื่อง Smart Farmer ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดที่ต้องการให้คนไทยที่มีความรอบรู้ หรือทำอาชีพด้านเกษตรกร มีความภูมิใจในการเป็นเกษตรกร โดยครอบคลุมด้านความรู้ในการเกษตร สามารถบริหารจัดการทั้ง การผลิต การตลาด รวมถึงวิเคราะห์ เชื่อมโยงให้คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค สังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ที่สนใจในการทำการเกษตรตามแนวคิด smart farmer ในจังหวัดพัทลุงยังขาดองค์ความรู้ต่างๆ ในการส่งเสริมการก้าวเข้าสู่การเป็น Young Smart Farmer ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในธุรกิจเกษตร ความรู้ด้านการตลาด และเทคนิคการเพิ่มมูลค่าการขายสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง
สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มีความตั้งใจในการร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาระบบการผลิตให้เป็นไปตามนโยบายในการพัฒนาเกษตรกรไทยเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) จึงต้องมีการ พัฒนาเกษตรกรที่อยู่ในกลุ่ม Existing Smart Farmer ให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ (Model) เพื่อให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดในการประกอบอาชีพการเกษตร โดยใช้ แหล่งเรียนรู้จากหน่วยงานต่างๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และมีเครือข่ายที่สามารถประสานงานในด้านต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ได้ ดังนั้น สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น Young smart farmer ในจังหวัดพัทลุง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเห็นความสำคัญ สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นเกษตรกรแห่งยุคสมัยใหม่ที่เพิ่มความภูมิใจได้ด้วยแนวคิดของ Smart Farmer และให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาประเทศต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • Smart Farmer

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 16:55 น.