โครงการ การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

โครงการ การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม โครงการ การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
หน่วยงานหลัก สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา ม.ทักษิณ
หน่วยงานร่วม -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน -โรงพยาบาลป่าพะยอม -สำนักงานสาธารณสุขอำเภอป่าพะยอม
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านศาลาน้ำ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติยศ วรเดช
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา รศ.ดร.ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา
การติดต่อ 074 609 613
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 100,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ป่าพะยอม บ้านพร้าว place directions
พัทลุง ป่าพะยอม บ้านพร้าว ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ความต้องการ ความสามารถและศักยภาพในการทำงานและการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีจำนวนประชากรรวดเร็วมากโดยเป็นผลจากนโยบายการเพิ่มประชากรก่อนปี พ.ศ.2500 จากที่มีประชากรเพียง 20 ล้านคนในปี พ.ศ. 2493 เพิ่มขึ้นเป็น 67.4 ล้านในปี 2555 (สำนักงานประชากรขององค์การสหประชาชาติ, 2555) ผลกระทบจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีการประกาศนโยบายประชากรอย่างเป็นทางการและบรรจุนโยบายการลดอัตราเพิ่มประชากรไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) เป็นครั้งแรก และมีการดำเนินงานตามนโยบายลดอัตราเพิ่มประชากรดังกล่าวในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อๆ มา จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) ซึ่งทำให้อัตราเจริญพันธุ์รวมยอดหรือจำนวนการมีบุตรเฉลี่ยของผู้หญิงลดลงจาก 6.3 คนในช่วงปี พ.ศ.2507-2508 เหลือแค่ 1.83 คนในช่วงปี พ.ศ.2543-2548 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าระดับทดแทนซึ่งกำหนดไว้ที่ 2.1 คน (Replacement Level) จึงทำให้สิ้นสุดนโยบายลดการเพิ่มประชากร อย่างไรก็ตามภายหลังสิ้นสุดนโยบายเพิ่มประชากรแล้ว ผู้หญิงไทยก็ยังคงมีจำนวนบุตรเฉลี่ยน้อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ รายงานว่าในปี 2553 ผู้หญิงไทยมีจำนวนบุตรเฉลี่ยเหลือแค่ 1.62 ในขณะที่สหประชาชาติคาดประมาณการจำนวนบุตรเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่ 1.4 เท่านั้น จากผลของนโยบายลดอัตราการเพิ่มประชากรดังกล่าวทำให้ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่จะมีอัตราการเติบโตของประชากรติดลบ โดยสำนักงานประชากรแห่งสหประชาชาติระบุว่า ประเทศไทยจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นไปอีกระยะหนึ่ง และจะมีจำนวนประชากรสูงสุดจำนวน 67.9 ล้านคน ในปี พ.ศ.2568 และจำนวนประชากรจะค่อยๆ ลดลง เหลือประมาณ 40 ล้านคนในปี พ.ศ.2643 หรืออีกประมาณ 80 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการลดลงของจำนวนประชากรในอนาคตนั้นอาจจะยังมีเวลาตั้งรับและปรับนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญแล้วและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็คือ ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว โดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุจำนวนผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ในปี พ.ศ.2513 มีจำนวน 1.7 ล้านคน (ร้อยละ 4.9) เพิ่มขึ้นเป็น 8.4 ล้านคน (ร้อยละ 13.2) ในปี 2553 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในอีก 30 ปีข้างหน้า หรือ พ.ศ.2583 และข้อมูลจากสหประชาชาติพบว่า ในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศไทยมีร้อยละของประชากรที่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีสูงเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ และอัตราการเติบโตของประชากรสูงวัยของไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 2 เท่าในอีก 15 ปีข้างหน้า ซึ่งผลกระทบจากการมีสัดส่วนผู้สูงอายุจำนวนมาก จะทำให้มีภาระพึ่งพิงทางเศรษฐกิจสูง ประชากรวัยแรงงานจะมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ครัวเรือนมีภาระหนี้สินสูง มีการออมต่ำไม่พียงพอต่อการใช้จ่ายในยามเกษียณ ภาครัฐจึงต้องนำเงินงบประมาณมาจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชากร จนอาจลุกลามเป็นหนี้สินของประเทศส่งผลทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและตกต่ำได้
จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงประชากรอย่างรวดเร็วดังกล่าว ประทศไทยได้จัดทำแผนประชากรขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 2555 – 2559 โดยกำหนดวิสัยทัศน์คือ “ประชากรไทยทุกคนเกิดมามีคุณภาพ ได้รับการพัฒนาทุกช่วงวัยให้สามารถเป็นพลังในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของประเทศ มีหลักประกันที่มั่นคงพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุที่มีการจัดสวัสดิการอย่างยั่งยืนโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม” และกำหนดยุทธศาสตร์หลัก 3 ข้อ คือ 1) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้ประชากรไทยทุกคนเกิดมามีคุณภาพ พร้อมที่จะพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพเมื่อเติบโตขึ้น 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพประชากรไทยทุกช่วงวัย เพื่อเป็นพลังต่อการเจริญเติบโตของประเทศ และยุทธศาสตร์ข้อที่ 3 คือ ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมประชากรไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุที่มีสวัสดิการทางสังคมอย่างยั่งยืน และในปัจจุบันก็กำลังจัดทำแผนประชากรในการพัฒนาประเทศระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2559 – 2579) เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ด้านประชากรของประเทศไทย
จากวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 คือ “ประชากรไทยทุกคนเกิดมามีคุณภาพ ได้รับการพัฒนาทุกช่วงวัยให้สามารถเป็นพลังในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของประเทศ มีหลักประกันที่มั่นคงพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุที่มีการจัดสวัสดิการอย่างยั่งยืนโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม” จะเห็นได้ว่า ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุโดยครบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ประกอบกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทักษิณข้อที่ 4 การจัดการบริการวิชาการร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ขับเคลื่อนการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต ความมั่นคง และการพัฒนาในภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬาข้อที่ 4 บริการวิชาการเพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ดังนั้นสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการบริการวิชาการเรื่อง การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนขึ้น โดยใช้กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และกระบวนการพัฒนาสุขภาพชุมชนซึ่งเป็นทางเลือกที่ดี เพราะเป็นกลวิธีที่ให้ชุมชนเป็นผู้ระบุปัญหา หาสาเหตุและเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมของชุมชนเอง และนอกจากนี้เป็นการพัฒนาประชาชนในชุมชนให้เรียนรู้และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในระยะยาวด้วย โดยจัดทำโครงการในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านศาลาน้ำ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม ซึ่งเป็นหมู่บ้านซึ่งมีที่ตั้งติดกับมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และที่ผ่านมาภาระการดูแลผู้สูงอายุเป็นบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็นภาระที่ค่อนข้างหนักและส่งผลกระทบในระยะยาวต่อครอบครัวและชุมชนด้วย ดังนั้นในฐานะที่มาหวิทยาลัยทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนดังกล่าวจึงควรเข้ามามีบทบาทในการร่วมกันดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วย

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 14:35 น.