โครงการถ่ายทอดระบบการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงชุมชนเครือข่ายขยายผลสู่ชุมชนบ้านพร้าว ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

โครงการถ่ายทอดระบบการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงชุมชนเครือข่ายขยายผลสู่ชุมชนบ้านพร้าว ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม โครงการถ่ายทอดระบบการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงชุมชนเครือข่ายขยายผลสู่ชุมชนบ้านพร้าว ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
หน่วยงานหลัก สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน่วยงานร่วม - คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน - คณะวิทยาศาสตร์
ชื่อชุมชน 9.1 ชุมชนตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง / ชุมชนดอนประดู่ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง / ชุมชนบ้านพร้าว ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวจิตรา จันโสด
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ ดร.เปลื้อง สุวรรณมณี ที่ปรึกษาโครงการ
การติดต่อ 074-443948
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 190,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ป่าพะยอม place directions
พัทลุง ตะโหมด ตะโหมด ชนบท place directions
พัทลุง ปากพะยูน ดอนประดู่ ชนบท place directions
พัทลุง ป่าพะยอม บ้านพร้าว ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่ใช้ระบบเคมี ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูงเพราะยังพึ่งปัจจัยการผลิตจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การทำเกษตรอินทรีย์ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำเนินชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในราชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา ปัจจุบันประชาชนได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทุกระดับ สำหรับเศรษฐกิจการเกษตรพบว่าเกษตรกรต้องเผชิญกับความเสี่ยงทั้งภัยธรรมชาติ น้ำท่วมฝนแล้ง เผชิญราคาขึ้นลงของสินค้าที่เกษตรกรไม่ได้เป็นผู้กำหนด ปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรต้องซื้อตามราคาที่ถูกกำหนด เผชิญกับการเจ็บไข้ได้ป่วยจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการผลิต กล่าวได้ว่ากระบวนการผลิตทางการเกษตรกรส่งผลกระทบทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และด้านสุขภาวะ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องยืนอยู่บนหลักเหตุและผล มีการบริหารจัดการที่มีภูมิคุ้มกันตามหลักความพอเพียง
ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการมีการสนับสนุนการบริการวิชาการที่ส่งเสริมให้เกษตรกรในชุมชนตะโหมด และชุมชนดอนประดู่ มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดหลักการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อขับเคลื่อนชุมชนให้พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนิสิต และเสริมสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนแก่ชุมชน มีการร่วมคิดร่วมทำกับชุมชนในการผลิตพืชระบบอินทรีย์ ได้แก่ การผลิตข้าวและผักอินทรีย์ เป็นการให้บริการวิชาการที่ส่งเสริมผลิตสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีมาตรฐานความปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการส่งเสริมและร่วมรณรงค์ให้ชุมชนตะโหมดและชุมชนดอนประดู่มีการทำเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรเห็นความสำคัญของการการรวมกลุ่มเพราะสามารถเป็นเครื่องมือในการควบคุมการผลิต ทำให้เกิดการต่อรองทางเศรษฐกิจที่เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จนปัจจุบันชุมชนตะโหมดและชุมชนดอนประดู่มีการจัดตั้งกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ กลุ่มปลูกผักอินทรีย์ และกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สามารถเป็นตัวอย่างจริงในชุมชนที่เกษตรกรรายอื่นๆ สามารถเรียนรู้และเห็นผลจริงซึ่งช่วยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนทัศนคติและสร้างความมั่นใจในระบบเกษตรอินทรีย์ สามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและเป็นฐานการเรียนรู้ในการพัฒนานิสิต
จากการขับเคลื่อนชุมชนให้เข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นกระบวนการสร้างชุมชนต้นแบบขยายไปสู่ชุมชนเครือข่าย ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้มหาวิทยาลัยทักษิณได้รับการเชื่อถือศรัทธาจากชุมชนและสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดของชุมชนได้เป็นอย่างดี สำหรับเกษตรกรชุมชนหมู่ที่ 3 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณรอบรั้วมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง พบว่า ยังประสบปัญหาและยังขาดภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ยังยึดหลักการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่ใช้ระบบเคมี ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูงเพราะยังพึ่งปัจจัยการผลิตจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ จากผลการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชนบ้านพร้าว ในปีงบประมาณ 2561 สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ จึงมีเป้าประสงค์ที่จะดำเนินการโครงการถ่ายทอดระบบการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงชุมชนเครือข่ายขยายผลสู่ชุมชนบ้านพร้าว โดยพัฒนาชุมชนเครือข่าย ได้แก่ ชุมชนตะโหมดและชุมชนดอนประดู่ เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนกลุ่มผลิตพืชอินทรีย์ชุมชนบ้านพร้าว เป็นการถ่ายทอดกรอบคิดและเทคโนโลยีการผลิตพืชระบบอินทรีย์ที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน มุ่งเน้นให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนได้อย่างยั่งยืน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การทำเกษตรอินทรีย์ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 13:44 น.