การพัฒนาชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาศาสตร์ ม.ทักษิณ
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน ชุมชนบ้านพร้าวหมู่ที่ 3 อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.สุนิสา คงประสิทธิ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะวิทยาศาสตร์ ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ผศ.ดร.อุษา อ้นทอง
รศ.ดร.จอมภพ แววศักดิ์
ผศ.ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม
การติดต่อ 074-609600 ต่อ 2273
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 189,400.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ป่าพะยอม บ้านพร้าว place directions
พัทลุง ป่าพะยอม บ้านพร้าว ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ความต้องการของชุมชนบ้านพร้าวหมู่ที่ 3 อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง ที่เกี่ยวพันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในชุมชน เช่น การเลี้ยงกบและการเลี้ยงปลาน้ำจืด เพื่อการเศรษฐกิจ การทำแก๊สชีวภาพจากเศษอาหารหรือของเสียในครัวเรือน การบริหารจัดการด้านการเกษตร เพื่อการบริโภคและเพื่อการจำหน่ายสำหรับเป็นรายได้ในครัวเรือน การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรใช้ในชุมชน เป็นต้น

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การทำระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน การจัดการอาหารและสุขภาพสัตว์น้ำ พลังงานแสงอาทิตย์และการผลิตไฟฟ้าแบบเชื่อต่อกับระบบสูบน้ำ

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

จากการที่ฝ่ายวิชาการ สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ลงพื้นที่เพื่อจัดประชุมหารือและรับฟังความต้องการหรือโจทย์ปัญญาชุมชนบ้านพร้าว หมู่ที่ 3 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.บ้านพร้าว อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง เพื่อใช้เป็นแนวทางการให้บริการวิชาการในลักษณะโครงการบริการเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง โดยการนำปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือจากชุมชน มาเป็นโจทย์ในการจัดกิจกรรมด้านบริการวิชาการ ซึ่งมุ่งเน้นให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนได้ โดยให้มีการบูรณาการในหลายมิติทั้งในด้านพื้นที่เป้าหมาย ผู้ให้บริการ องค์ความรู้ และช่วงเวลาดำเนินการซึ่งให้เป็นไปตามหลักการของพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม คือ ร่วมคิดร่วมทำแบพันธมิตรและหุ้นส่วนเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดผลงานวิชาการ ส่งผลกระทบต่อสังคมที่สามารถประเมินได้ นำพาไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นปัญหาและความต้องการของชุมชนบ้านพร้าวหมู่ที่ 3 อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง ที่เกี่ยวพันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในชุมชน เช่น การเลี้ยงกบและการเลี้ยงปลาน้ำจืด เพื่อการเศรษฐกิจ การทำแก๊สชีวภาพจากเศษอาหารหรือของเสียในครัวเรือน การบริหารจัดการด้านการเกษตร เพื่อการบริโภคและเพื่อการจำหน่ายสำหรับเป็นรายได้ในครัวเรือน การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรใช้ในชุมชน เป็นต้น
คณะวิทยาศาสตร์ จึงเห็นว่าประเด็นปัญหาและความต้องการของชุมชน สามารถดำเนินการแก้ไขได้โดยการใช้องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนไปพร้อมๆ กัน โดยมีนักวิชาการ นักวิจัยและบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษาทำให้ชุมชนเกิดความมั่นใจ และไว้วางใจว่าคณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยทักษิณเป็นที่พึ่งทางวิชาการสำหรับคนพัทลุงอย่างแท้จริง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การพัฒนาชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 13:28 น.