การจัดการขยะอินทรีย์จากครัวเรือน ด้วยระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพ

การจัดการขยะอินทรีย์จากครัวเรือน ด้วยระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การจัดการขยะอินทรีย์จากครัวเรือน ด้วยระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
หน่วยงานหลัก หน่วยสาธิตและวิจัยก๊าซชีวภาพ สำหรับชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน่วยงานร่วม หน่วยสาธิตและวิจัยก๊าซชีวภาพ สำหรับชุมชน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง บริษัทไทยออยล์ (มหาชน) จำกัด
ชื่อชุมชน • ชุมชนนาท่อม ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง • ชุมชนโคกม่วง ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง • ชุมชนเขาหัวช้าง ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง• ชุมชนบ้านในกอย ตำบลบ้านหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ. ดร. อุษา อ้นทอง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ ดร. นิรมล จันทรชาติ
อาจารย์ ดร. อรสา อันันต์
อาจารย์ วิกาญดา ทองเนื้อแข็ง
การติดต่อ 086-961-4556
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 70,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
พัทลุง เมืองพัทลุง นาท่อม place directions
พัทลุง เมืองพัทลุง นาท่อม ชนบท place directions
พัทลุง ตะโหมด ตะโหมด ชนบท place directions
พัทลุง ปากพะยูน ดอนประดู่ ชนบท place directions
พัทลุง เขาชัยสน โคกม่วง ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ส่วนหนึ่งที่เกิดจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งขยะในครัวเรือนประมาณ 40-50% นั้นจะเป็นขยะที่สามารถเน่าเสียได้ มีผลให้เกิดความเน่าเสียส่งกลิ่นเน่าเหม็น มีผลให้การจัดการขยะอื่นๆ มีความยุ่งยากมากขึ้น
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การจัดการขยะอินทรีย์จากครัวเรือน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การถ่ายทอดเทคนิควิธีการออกแบบ การจัดทำระบบหมักก๊าซชีวภาพ เพื่อให้เป็นแหล่งกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ให้สามารถได้รับก๊าซชีวภาพใช้การทดแทนก๊าซเพื่อการหุงต้ม ในระดับครัวเรือน

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

การลดรายจ่าย แบบเกิดจากกระบวนที่สร้างความเชื่อมั่น ซึ่งปัจจุบันปัญหาของขยะอินทรีย์เป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง โดยปัญหาที่เกิดขึ้นมีผลมาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งที่เกิดจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งขยะในครัวเรือนประมาณ 40-50% นั้นจะเป็นขยะที่สามารถเน่าเสียได้ มีผลให้เกิดความเน่าเสียส่งกลิ่นเน่าเหม็น มีผลให้การจัดการขยะอื่นๆ มีความยุ่งยากมากขึ้นอีก และจากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้รัฐบาลจะต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นงบประมาณในการจัดการขยะในแต่ละปีค่อนข้างสูง ดังนั้นแนวทางหนึ่งที่มีต้นทุนต่ำ และมีการจัดการที่ไม่ยุ่งยาก และไม่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการจัดการขยะอื่นๆ คือ การจัดการกำจัดในแต่ละครัวเรือน ด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ เทคโนโลยีการกำจัดของเสียแบบไร้อากาศ (Anaerobic Digestion) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้การบำบัดของเสียอินทรีย์ที่ให้ก๊าซชีวภาพเป็นผลพลอยได้ ก๊าซชีวภาพโดยทั่วไปเป็นก๊าซผสม ประกอบไปด้วยก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ (H2S) เป็นต้น ซึ่งก๊าซมีเทนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของก๊าซชีวภาพโดยก๊าซมีเทนนี้จะถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การหุงต้มประกอบอาหารภายในครัวเรือนแล้วผลพลอยได้จากการทำก๊าซชีวภาพอย่างหนึ่ง ก็คือน้ำหมักชีวภาพซึ่งเกิดจากการหมักของเสียอินทรีย์ สามารถนำมาเป็นน้ำปุ๋ยอินทรีย์ใช้ในการเพิ่มสารอาหารให้แก่พืชและช่วยในการลดใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยแนวทางการหมักแบบไร้อากาศ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครัวเรือนถึงสามต่อด้วยกันคือ ได้รับก๊าซชีวภาพซึ่งสามารถนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้มในครัวเรือนได้ ช่วยลดต้นทุนการใช้ก๊าซ LPG ที่กำลังมีราคาแก๊สต่อถังสูงขึ้นทุกช่วงเวลา หากชาวบ้านมีแหล่งพลังงานทดแทนแก๊ส LPG และแหล่งพลังงานทดแทนนั้นชาวบ้านสามารถผลิตได้เอง จะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น ลดรายจ่ายของครอบครัว ลดการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ทั้งในส่วนของก๊าซ LPG และน้ำมันดีเซลในการขนส่งก๊าซหุงต้ม LPG และช่วยลดปัญหาของเสียอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของชุมชน
ดังนั้นการนำของเสียอินทรีย์มาผลิตก๊าซชีวภาพ จึงสามารถช่วยให้ครัวเรือนลดการใช้พลังงานในรูปแบบเดิมได้มาก ได้แก่ ลดการใช้แก๊สหุงต้ม และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่งแก๊สหุงต้มเป็นการสร้างตัวอย่างความสำเร็จในการจัดการของเสียด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพ และเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเรื่องของขยะอินทรีย์ สร้างความมั่นคงในการใช้พลังงานให้เกิดการเรียนรู้หรือเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และยังสามารถสร้างบ้านนำร่องเป็นตัวอย่างของการสร้างต้นทุนพลังงานในชุมชนด้วยของเสียในชุมชนของตนเอง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การจัดทำระบบหมักก๊าซชีวภาพ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 11:50 น.