การใช้เปลือกเมล็ดกาแฟหมักลดต้นทุนอาหารหยาบในโคนม

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การใช้เปลือกเมล็ดกาแฟหมักลดต้นทุนอาหารหยาบในโคนม
สถาบันอุดมศึกษาหลัก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
หน่วยงานหลัก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคนมชุมโค ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.สุธีรวัฒน์ พันธุ์มาลัย อาจารย์ประจำหลักสูตรสัตวศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร 17/1 หมู่ 6 ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 86160
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 08-6260-6210 ,06-1542-9891
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ชุมพร ปะทิว ชุมโค place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ในอดีตแถบภาคใต้ตอนบน เกษตรกรจะมีการปลูกปาล์มและยางพารากันมาก ส่วนสัตว์จะเลี้ยงแพะเพียงบางพื้นที่ ซึ่งยังไม่มีการเลี้ยงโคนม แต่แล้วเมื่อปี 2534 ได้เกิดวาตภัยพายุไต้ฝุ่นเกย์พัดขึ้นแถบภาคใต้ตอนบน คือ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ บางสะพานน้อย บางสะพาน และจุดศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอท่าแซะ และปะทิว จังหวัดชุมพร ซึ่งพายุเกย์ส่งผลให้บ้านเรือนเสียหาย ทำนบและฝายพัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 80,900,105 ไร่ และสัตว์เลี้ยงตาย 83,490 ตัว โดยประเมินความเสียหาย 11,257 ล้านบาท
ต่อมาปี 2535 รัฐบาลได้มีโครงการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบวาตภัยพายุใต้ฝุ่นเกย์ โดยมีโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในจังหวัดชุมพร ให้เกษตรกรมีงานทำ โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นผู้ดำเนินการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรเพื่อนำเงินไปซื้อแม่พันธุ์โคนม โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มสมาชิก
ร่วมโครงการ 2 อำเภอ คือ อำเภอปะทิว และอำเภอท่าแซะ ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 109 ราย ต่อมาปี 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงรับสหกรณ์โคนมจังหวัดชุมพรไว้ในโครงการ
ส่วนพระองค์ โดยได้พระราชทานที่ดินซึ่งตั้งอยู่ ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เพื่อสร้างศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ขนาด 6 ตันต่อวัน พร้อมอุปกรณ์ จากนั้น ได้สร้างโรงแปรรูปน้ำนมกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เพื่อแปรรูปน้ำนมดิบของสหกรณ์โคนมจังหวัดชุมพร และสหกรณ์จังหวัดใกล้เคียง ซึ่งโรงแปรรูปน้ำนมอยู่ในพื้นที่
ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
โดยตั้งอยู่ ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร เพื่อแปรรูปน้ำนมดิบ และส่งจำหน่ายแก่ผู้บริโภคและส่งโรงเรียนต่าง ๆ
ในภาคใต้ และภาคกลาง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 ตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนโยบายขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค
ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อผลิตบัณฑิตและบุคลากรในระดับปริญญาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณเป็นมาตรฐาน โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยแผนพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร (พ.ศ. 2555-2564)
มีปรัชญา คือ การศึกษา เกษตร อาหาร และพลังงาน เป็นรากฐานของชีวิตที่ยั่งยืน และมีปณิธาน คือ มุ่งมั่นจัดการศึกษาด้านเกษตร อาหาร พลังงาน เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน และมีวิสัยทัศน์ คือ
เป็นสถาบันอุดมศึกษาอันดับ 1 ของภาคใต้ทางเทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และพลังงาน ในปี พ.ศ. 2564
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรสัตวศาสตร์ และได้มีงานฟาร์มโคนมควบคู่ไปกับหลักสูตร โดยในหลักสูตรสัตวศาสตร์ จะมีวิชาบังคับ คือ การผลิตโคเนื้อและโคนม โรคสัตว์และการจัดการระดับฝูง และโภชนศาสตร์สัตว์ และมีวิชาเลือก คือ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และวิทยาศาสตร์น้ำนม ซึ่งวิชาดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ฟาร์มโคนมเป็นส่วนหนึ่งในการสอนภาคปฏิบัติ โดยให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติจริง อีกทั้งบุคลากรในวิทยาเขตฯ สามารถทำการวิจัยพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านโคนม ไปสู่เกษตรกรและผู้สนใจได้
การเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยเฉพาะโคนมในประเทศไทย ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงด้วยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทราบกันดีอยู่แล้วว่า ต้นทุนของการผลิตสัตว์ส่วนใหญ่เป็นค่าอาหารสัตว์ ประมาณ 50 - 80 % โดยขึ้นกับชนิดของอาหารและการจัดการด้านอาหารในแต่ละฟาร์ม ซึ่งโคจะกินอาหารหยาบเป็นหลัก คือ หญ้าชนิดต่างๆ และในช่วงฤดูกาลแล้งซึ่งขาดแคลนหญ้า ซึ่งเกษตรกรจะใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร หรือวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมมาเลี้ยงโค ในแถบภาคใต้ตอนบน พบว่ามีวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น จุกใบสับปะรด และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก เช่น กากปาล์มน้ำมัน และเปลือกกาแฟ
กาแฟ (Coffee) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea Arabica L. มีหลายชนิดสาคัญทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไปจะอาศัยพื้นฐานจาก 3 สายพันธุ์หลักคือ พันธุอาราบีก้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea Arabica พันธุโรบัสต้า
มีชื่อวทยาศาสตร์ว่า Coffea Canephora หรือ Coffea Robusta และพันธุ์ลิเบอริกา มีชื่อวิทยาศาสตร์
ว่า Coffea Liberica กาแฟจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางสูงประมาณ 3-5 เมตร ลาต้นของกาแฟมีลักษณะตั้งตรง กิ่งจะขนานไปกับระดับพื้นดินหรือห้อยต่าลงดินซึ่งเป็นที่เกิดของดอกและผลต่อไป ดอกของกาแฟจะออกเป็นจานวนมาก แต่จะมีการติดผลเพียง 16-26 % เท่านั้น ลักษณะของผลกาแฟจะคล้ายลูกหว้า ภายในผลจะ
แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งมีเมล็ดกาแฟ 1 เมล็ด เมล็ดกาแฟเป็นส่วนที่อยู่ในกะลาซึ่งห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆ อีกชั้นหนึ่ง ส่วนเนื้อกาแฟจะถูกห่อหุ้มด้วยกะลากาแฟเมื่อสุกจะเป็นสีแดง โดยแบ่งพันธุ์ที่ปลูก คือ
1. อาราบีก้า (Arabica หรือ Coffee Arabica)
เป็นพันธุ์ที่คนไทยนิยมมากที่สุด มีลักษณะเด่นที่มีกลิ่นและรสชาติหอมหวานเป็นที่นิยมของ
คนทั่วโลก มีรสชาติที่กลมกล่อมไม่ขม และมีกาแฟอีนน้อยประมาณ 1-1.6% ต่อน้าหนัก ลักษณะเฉพาะ
ของเมล็ดกาแฟอาราบีก้าจะมีทรงเรียว มีกลิ่นหอม
2. โรบัสต้า (Robusta หรือ Coffee Sobusta)
เป็นพันธุ์กาแฟที่ทนทานต่อโรคและสภาพดินฟ้าอากาศ แต่มีรสชาติและกลิ่นเข้มกระด้าง ไม่อ่อนละมุนเหมือนกาแฟอาราบีก้า มีคาแฟอีน 2-3 % ต่อน้าหนัก และเนื่องจากมีรสชาติเข้มทาให้กาแฟโรบัสต้าเป็นที่นิยมในการผลิตกาแฟสาเร็จรูป หรือกาแฟพร้อมดื่ม เช่น กาแฟกระป๋อง ลักษณะเฉพาะของเมล็ดกาแฟโรบัสต้า จะอ้วนกลม กลิ่นฉุนเหมือนเมนทอล ให้รสชาติที่เข้มข้น ในกาแฟโรบัสต้ามีปริมาณแทนนิลมากกว่ากาแฟอาราบีก้า นิยมปลูกมากใน จังหวัดชุมพร และนครศรีธรรมราช 2
ผลและเมล็ด
ผลของกาแฟมีลักษณะคล้ายลูกหว้า รูปรี ก้านผลสั้น ผลดิบสีเขียว เมื่อเวลาผลสุกจะมีสีเหลือง สีส้ม สีแดง ผลของกาแฟจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. เปลือก (Skin) 2. เนื้อ (Pulp) มีสีเหลือง เมื่อสุกมีรสหวาน
3. กะลา (Parchment) จะห่อหุ้มเมล็ด ช่วงระหว่างเมล็ดกับกะลาจะมีเยื่อบางๆ หุ้มเมล็ดอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มเมล็ด (Silver Skin) ผลกาแฟแต่ละผลจะมี 2 เมล็ดประกบกัน ด้านที่ประกบกันจะอยู่ด้านในมีลักษณะแบน
มีร่องบริเวณกลางเมล็ด 1 ร่อง ส่วนด้านนอกมีลักษณะโค้ง ลักษณะเมล็ดจะเป็นเดี่ยวหรือเมล็ดโทน
(Pea Bean, Pea Berry) ในบางครั้งหากการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ จะทาให้ผลติดเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว
ผลกาแฟมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียวรูปร่างกลมรีทั้งเมล็ด โดยมีร่องบริเวณกลางเม็ด 1 ร่อง
ตารางที่ 1 แสดงองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดกาแฟ
องค์ประกอบทางเคมี กะลากาแฟ (%) เนื้อกาแฟ (%)
โปรตีน 8-11 4-12
ลิพิด 0.5-3 1-2
คาร์โบไฮเดรต 58-85 45-89
คาเฟอีน 1 1
แทนนิน 5 1-9
แร่ธาตุ 3-7 6-10
น้ำตาลซูโครส 12 12

สำนักงานเศรษฐกิจเกษตร (2562) รายงานว่า ปี 2561 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกาแฟทั้งหมด 272,797 ไร่ โดยให้ผลผลิตทั้งหมด 23,617 ตัน ซึ่งภาคใต้มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด เท่ากับ 181,137 ไร่ โดยให้ผลผลิต 13,327 ตัน โดยชุมพร มีพื้นที่ปลูกกาแฟมากที่สุดของประเทศ เท่ากับ 124,463 ไร่ รองลงมา
คือ ระนอง เท่ากับ 53,571 ไร่ และเชียงราย เท่ากับ 40,520 ไร่ และ โดยผลผลิตมากที่สุดของประเทศ
คือ ชุมพร เท่ากับ 8,802 ตัน รองลงมา คือเชียงราย เท่ากับ 4,922 ตัน และ ระนอง เท่ากับ 4,325 ตัน
ในปี 2561 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานว่า ประเทศไทยมีโคนม 660,155 ตัว ผลิตน้ำนมได้ 1,233,482 ตัน ต่อปี โดยค่าเฉลี่ยน้ำนม เท่ากับ 12.23 กิโลกรัม ต่อตัว ต่อวัน และจังหวัดชุมพรมีโคนม
1,258 ตัว ผลิตน้ำนมได้ 6,121 ตัน ต่อปี โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์นม 245,800 ตัน เป็นมูลค่า 19,930 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นว่า การผลิตโคนม ในการบริโภคภายในประเทศยังมีความต้องการสูง ฉะนั้น ประเทศไทยควรที่จะลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากโคนม และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนมในประเทศ
ฉะนั้น การใช้เปลือกเมล็ดกาแฟหมัก นอกจากจะเป็นการเพิ่มคุณค่าในอาหารหยาบแล้ว ยังเป็น
การทดแทนอาหารหยาบแก่โคในช่วงขาดแคลน โดยใช้วัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอีกทางเลือกของอาหารโค

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • โคนม
  • ชุมโค
  • ชุมพร
  • นวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตร
  • เปลือกเมล็ดกาแฟ
  • ลดต้นทุน
  • อาหารโคนม

ภาพถ่าย

  • photo ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562
  • photo ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562
  • photo ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562
  • photo ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562
  • photo ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562
  • photo ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562
  • photo ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562
  • photo ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562
  • photo ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562ภาพโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ปี งปม.2562

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย tippawan tippawan เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 09:42 น.