ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนนวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
จากผลสำเร็จของการดำเนินโครงการหนึ่งคณะ หนึ่งชุมชน ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2558 ถึงปัจจุบัน โดยมีชุมชนตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนตะแพนเป็นอย่างดี และกิจกรรมส่วนใหญ่ที่จัดขึ้นล้วนมาจากผลความต้องการของชุมชน ที่อยากให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ดำเนินการช่วยเหลือ และในปี พ.ศ.2560 คณะวิทยาศาสตร์ ยังรับผิดชอบดูแลและเป็นพี่เลี้ยงด้านบริการวิชาการให้กับพื้นที่ชุมชนตะแพน อย่างที่ผ่านมา ซึ่งจะสนับสนุนงานด้านการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ชุมชนเป็นห้องเรียนด้านวิทยาศาสตร์ โดยเป็นการบูรณการระหว่างโครงการบริการวิชาการและงานด้านการเรียนการสอนตามยุทธศาสตร์
โดย พ.ศ. 2560 คณะวิทยาศาสตร์ มีแผนจัดกิจกรรมให้กับชุมชนตะแพนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะที่ 3 โดยกำหนดแผนการดำเนินงานไว้ 2 ปี ได้แก่
ระยะที่ 3 ปีที่ 1 พ.ศ. 2560 ส่งเสริมการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยมุ่งเน้นในกลุ่มสถานศึกษา ในชุมชนตะแพน ประกอบด้วย โรงเรียนวัดตะแพน โรงเรียนวัดสวนโหนด และโรงเรียนตะแพนพิทยา โดยคณะวิทยาศาสตร์ จะดำเนินการจัดทำแผนกิจกรรมประจำปี เพื่อกำหนดทิศทางการให้บริการวิชาการอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมให้มีการบูรณาการการจัดกิจกรรมร่วมกับงานการเรียนการสอนในรายวิชาของคณะวิทยาศาสตร์
โดยใน ปี พ.ศ. 2560 คณะวิทยาศาสตร์ ต้องการศึกษาชุมชนคู่เทียบด้านบริการวิชาการ ระหว่างชุมชนตะแพน และชุมชนลานข่อย โดยคณะวิทยาศาสตร์ จะขยายงานไปยังชุมชนลานข่อย อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง โดยการลงพื้นที่พบปะและชี้แจงความเป็นมาของโครงหนึ่งคณะ หนึ่งชุมชน และการสำรวจปัญหาและความต้องการที่อยากให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือ แบ่งประเภทปัญหา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการเกษตร และด้านการศึกษา เพื่อสรุปประเด็นปัญหาและคัดเลือกปัญหาที่คณะวิทยาศาสตร์สามารถบรรเทาแก้ไขโดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระยะที่ 3 ปีที่ 2 พ.ศ. 2561 คณะวิทยาศาสตร์ มีนโยบายจะส่งเสริมการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร โดยใช้การเชื่อมโยงกิจกรรมในระยะที่ 3 ปีที่ 1 จากผลการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมโรงเรียนในชุมชนตะแพน ขยายงานการจัดการสิ่งแวดล้อมไปยังชาวบ้าน ประชาชนในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนตระรู้และเห็นประโยชน์ในการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อันจะเป็นผลทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในชุมชนตะแพน
หลังจากการดำเนินกิจกรรมตามแผนทั้ง 2 ปีแล้ว คณะวิทยาศาสตร์ จะดำเนินการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกำหนดทิศทางด้านการบริการวิชาการ สำหรับชุมชนภายในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย โดยส่งเสริมให้ชุมชนตะแพน เป็นชุมชนกรณีศึกษาตัวอย่างด้านบริการวิชาการ และสนับสนุนให้เป็นชุมชนต้นแบบในด้านการบริการวิชาการต่อไป