โครงการ ถ่ายทอดระบบการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงชุมชนตะโหมด และขยายผลสู่ชุมชนดอนประดู่

โครงการ ถ่ายทอดระบบการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงชุมชนตะโหมด และขยายผลสู่ชุมชนดอนประดู่

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม โครงการ ถ่ายทอดระบบการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงชุมชนตะโหมด และขยายผลสู่ชุมชนดอนประดู่
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
หน่วยงานหลัก สถาบันปฏิบัติการเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน่วยงานร่วม สภาลานวัดตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง - กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง - เทศบาลตำบลตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง - กำนันและผู้ใหญ่บ้านต าบลตะโหมด - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง - เทศบาลตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง - กลุ่มสหกรณ์การเกษตรแม่บ้านภักดีร่วมใจ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง - โรงเรียนปากพะยูนพิทยาคาร - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พัทลุงเขต 2 (โรงเรียนบ้านดอนประดู่ โรงเรียนวัดควนเผยอ โรงเรียนวัดหัวควน และโรงเรียนวัดไทรพอน)
ชื่อชุมชน ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวจิตรา จันโสด
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สถาบันปฏิบัติการเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ ดร.เปลื้อง สุวรรณมณี
การติดต่อ 074-443948
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 160,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ตะโหมด ตะโหมด place directions
พัทลุง ตะโหมด ตะโหมด ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การลดละเลิกการใช้เคมีในกระบวนการผลิต ด้านการเกษตร
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การทำเกษตรอินทรีย์

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ถ่ายทอดระบบการทำเกษตรอินทรีย์

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ สภาลานวัดตะโหมด
และกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มทำนาอินทรีย์ในชุมชนตะโหมด ได้ใช้วิธีการถ่ายทอดองค์
ความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชน การเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งส่งเสริมและร่วมรณรงค์ให้ชุมชนมีการท าเกษตรอินทรีย์มา
อย่างต่อเนื่อง จากเดิมมีจำนวนสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ จำนวน 8 ครัวเรือน พื้นที่นาจ านวน 20 ไร่ ซึ่งจากผล
การดำเนินโครงการบริการวิชาการในปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า มีสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มท านาอินทรีย์ชุมชนตะโหมด
เพิ่มขึ้นเป็นจ านวน 27 ครัวเรือน มีการปลูกข้าวในพื้นที่นาต่อเนื่องกันในหมู่ที่ 12 จ านวน 93 ไร่ กระบวนการ
รวมกลุ่มสามารถช่วยให้เกษตรกรชุมชนตะโหมดเห็นความส าคัญในการทำนาข้าวอินทรีย์บนวิถีความพอเพียง
เพราะกลุ่มเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนที่มีครูคอยให้ความรู้ มีการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมเรียนรู้พัฒนาเทคนิคและการ
จัดการต่างๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด กระบวนการ
ปฏิบัติ สามารถปลูกข้าวสังข์หยดได้ผลผลิตที่ไม่แตกต่างจากการทำนาระบบเคมี ซึ่งพบว่าได้ผลผลิตเฉลี่ย 330
กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้จากการผลิตข้าวของสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ชุมชนตะโหมดสามารถช่วยลดรายจ่ายด้าน
ปัจจัยการผลิต เกี่ยวกับปุ๋ย พันธุ์ข้าว และการกำจัดศัตรูข้าว โดยเกษตรกรหันมายึดหลักการพึ่งตนเองเป็นส่วน
ใหญ่ เริ่มต้นจากการเปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าว มีการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใน
ชุมชนตะโหมดที่มีการพัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์ส าหรับนาข้าวไว้บริการแก่สมาชิก มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง อีกทั้ง
มีการใช้ยาสมุนไพรในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว และความรู้ในการประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต ได้แก่ ตัวห้ า และตัวเบียน
ส าหรับใช้ในการก าจัดศัตรูข้าวโดยชีววิธี กลุ่มทำนาอินทรีย์ชุมชนตะโหมดจึงถือได้ว่าเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้
ปรับเปลี่ยนการทำนาเคมีสู่การทำนาอินทรีย์ สามารถเป็นตัวอย่างจริงในชุมชนที่เกษตรกรรายอื่นๆ สามารถเรียนรู้
และเห็นผลจริงซึ่งช่วยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนทัศนคติและสร้างความมั่นใจในระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ พัฒนา~ 5 ~
ไปสู่การทำเกษตรอินทรีย์บนวิถีความพอเพียง จากการดำเนินการทำนาอินทรีย์ ส่งผลทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญ
ของการทำเกษตรอินทรีย์ โดยนำองค์ความรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ถ่ายทอดให้กับเกษตรกรในชุมชนตะ
โหมดเพื่อเป็นต้นแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ในชุมชนตะโหมด เป็นการเพิ่มทางเลือกในการทำเกษตร
อินทรีย์เสริมสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนแก่ชุมชน
ดังนั้นในปีงบประมาณ 2560 สถาบันปฏิบัติการชุมชนฯ จึงมีเป้าประสงค์ที่จะดำเนินการโครงการถ่ายทอด
ระบบการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงชุมชนตะโหมด และขยายผลสู่ชุมชนดอนประดู่ เพื่อพัฒนากลุ่มทำนา
อินทรีย์ชุมชนตะโหมดให้เข้มแข็งสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจในการ
ทำนา และการเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ ทั้งขยายผลการทำนาอินทรีย์ไปสู่ชุมชนดอนประดู่ โดยร่วมมือกับเทศบาล
ตำบลดอนประดู่ โรงเรียนปากพะยูนพิทยาคาร และโรงเรียนต่างๆ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา พัทลุงเขต 2 ส่งเสริมและรณรงค์ให้นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในชุมชนดอนประดู่เห็นคุณค่าและ
ความสำคัญของการทำนาอินทรีย์ ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมระบบการทำนาอินทรีย์เพื่อเป็น
แนวทางในการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับแก่เกษตรกรชุมชนดอนประดู่ และใช้เป็นแปลง
นาอินทรีย์ตัวอย่างเพื่อขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่นในชุมชนดอนประดู่ต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ระบบการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 14:41 น.