การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างเสริม รายได้ให้ชาวสวนยางและสวนปาล์ม
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างเสริม รายได้ให้ชาวสวนยางและสวนปาล์ม
ข้อมูลโครงการ
ชื่อนวัตกรรม | การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างเสริม รายได้ให้ชาวสวนยางและสวนปาล์ม |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง |
หน่วยงานหลัก | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ ถนนแก้ว |
หน่วยงานร่วม | 1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต าบลวังอ่าง อ าเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช (โครงการ พัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ าปากพนังอันเนื่องมาจาพระราชด าริ) 2) ส านักงานเทศบาลต าบลลานข่อย อ าเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 3) องค์การบริหารส่วนต าบลปันแต อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 4) ส านักงานเทศบาลต าบลแหลมโตนด อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 5) ส านักงานเทศบาลต าบลการะเกด อ าเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 6) องค์การบริหารส่วนต าบลบ้านเนิน อ าเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 7) องค์การบริหารส่วนต าบลขอนหาด อ าเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 8) ส านักงานเกษตรอ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 9) ส านักงานเกษตรอ าเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 10)กองทุนสงเคระห์การท าสวนยาง |
ชื่อชุมชน | ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ ถนนแก้ว |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ ม.ทักษิณ วิทยาเขคตพัทลุง |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | |
การติดต่อ | 074-693996 |
ปี พ.ศ. | 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 |
งบประมาณ | 100,000.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
ภาคใต้ | place directions | ||||
พัทลุง | ควนขนุน | ปันแต | place directions | ||
พัทลุง | ป่าพะยอม | ลานข่อย | ชนบท | place directions | |
นครศรีธรรมราช | ชะอวด | วังอ่าง | ชนบท | place directions | |
นครศรีธรรมราช | เชียรใหญ่ | การะเกด | ชนบท | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัญหาด้านราคาผลผลิตมีความไม่แน่นอนข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การแสวงหารายได้จากแหล่งอื่น เพื่อเพียงต้องการพยุงตัวเองให้อยู่รอดในระหว่างที่ราคาตกต่ำประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล
ภาคใต้ของไทยถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันที่สำคัญของไทยมากที่สุด และเกษตรกรในภาคใต้ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยางพารา แต่อาชีพการเกษตรมักประสบปัญหาด้านราคาผลผลิตมีความไม่แน่นอน เพราะกลไกลของตลาดโลก ภาวะวิกฤตของราคายางพาราดังกล่าว ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราโดยเฉพาะภาคใต้ลดลง ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรด้อยลง และภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนมีความฝืดเคืองเพิ่มมากขึ้น ในสถานการณ์เช่นนี้เกษตรกรจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นการแสวงหาแหล่งได้จากแหล่งอื่น โดยการพึ่งทรัพยากรของตนที่มีอยู่จึงจะสามารถประคองสถานะเศรษฐกิจของครัวเรือนได้ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีความคาดหวังว่าการแสวงหารายได้จากแหล่งอื่นเพื่อเพียงต้องการพยุงตัวเองให้อยู่รอดในระหว่างที่ราคาตกต่ำเท่านั้น สังคมครัวเรือนก็จะไม่มีภูมิคุ้มกันหากได้รับผลกระทบเช่นเดิม ดังนั้น การสร้างอาชีพเสริมและต่อยอดผลผลิตจนถึงแหล่งตลาดหรือจนถึงมือผู้บริโภคให้แก่เกษตรกรและเพื่อให้เกษตรกรมีได้รายได้เพิ่มขึ้น จึงเป็นหนทางหนึ่งเพื่อความอยู่รอดได้ในภาวะเช่นนี้ และยังเป็นหนทางที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพได้เช่นกัน
การหารายได้ในพื้นที่สวนยางและสวนปาล์ม เช่น การเลี้ยงผึ้งโพรง เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถทำเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สวนยางและยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาติ อีกทั้งวิธีการเลี้ยงผึ้งดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของการทำอาชีพสวนยางของเกษตรกร ซึ่งจากการลงสำรวจพื้นที่และการบริการวิชาการในศาสตร์ต่างๆให้แก่เกษตรกร พบว่า ในพื้นที่หมู่ 3, 5, 6, 9 และ 11 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีประชากรส่วนหนึ่งมีอาชีพเสริมโดยการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรงตำบลปันแต” จากข้อมูลเบื้องต้น พบว่า การเลี้ยงผึ้งในสวนยางทำได้ไม่ยาก แต่ผู้ที่เลี้ยงจำเป็นต้องมีความรู้ในเบื้องต้นและต้องมีการเรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงบางประการเพื่อให้ได้น้ำผึ้งที่มีคุณภาพ เช่น แหล่งน้ำหวานของผึ้ง ซึ่งจากการให้ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งบอกว่าแหล่งน้ำหวานของผึ้งคือยอดและดอกยางพารา ดังนั้นการเลี้ยงผึ้งในสวนยางจึงเป็นวิถีที่สอดคล้องกับวิถีของการทำสวนยาง และเมื่อเปรียบเทียบวิธีการเลี้ยงผึ้งแบบดั้งเดิม (เลี้ยงแบบธรรมชาติ) ของเกษตรกรจะขายน้ำผึ้งได้น้อยกว่าการเลี้ยงแบบประณีต (มีเทคนิคการเลี้ยง) ซึ่งปัจจุบันพบว่า เกษตรกรที่ใช้วิธีการเลี้ยงแบบประณีตจะสามารถขายผึ้งโพรงได้ขวดละ 500 บาท และชันโรงขวดละ 1,500-2,100 บาท จะเห็นว่าการเลี้ยงผึ้งมีแนวโน้มที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ นอกจากนั้นแล้วผลผลิตจากการเลี้ยงผึ้ง เช่น น้ำผึ้ง รังผึ้ง ขี้ผึ้ง ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง เช่น สบู่น้ำผึ้ง คีมบำรุงผิว อาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้ง หรือเครื่องดื่ม และยาสมุนไพร เเป็นต้น
จากการที่ทีมนักวิจัยดำเนินโครงการวิจัยและโครงการบริการวิชาการในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง มาอย่างน้อย 5 ปี จึงทำให้ทราบความต้องการของเกษตรกรในการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากผึ้ง ทางหน่วยงานต่าง ๆ ได้ติดต่อมาทางนักวิจัยให้จัดอบรมเรื่องการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้ในหลาย ๆ ครั้ง เช่น อบต. ขอนหาด อบต. ลานข่อย และ อบต.การะเกด ดังนั้นในโครงการบริการวิชาการประจำปี 2560 นี้ ทางคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชนได้ร่วมกับวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ดำเนินโครงการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างเสริมรายได้ให้ชาวสวนยางและสวนปาล์มในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง” จึงมีความมุ่งหวังที่จะสร้างจิตสำนึกให้กับเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มให้เข้าใจระบบอาชีพการทำสวนพืชเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน โดยเน้นให้เกษตรกรชาวสวนให้เข้าใจธรรมชาติการผันแปรของราคาผลผลิต และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์ม โดยเน้นอาชีพการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ในครัวเรือนของประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- เทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูป
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ