โครงการ การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าขมิ้นชันสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชัน

โครงการ การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าขมิ้นชันสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชัน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม โครงการ การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าขมิ้นชันสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชัน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
หน่วยงานหลัก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน่วยงานร่วม คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชื่อชุมชน หมู่บ้ำนตำบลลำนข่อย อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร. รัทรดา เทพประดิษฐ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
การติดต่อ 074-609600 ต่อ 3318
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 18 มิถุนายน 2560
งบประมาณ 100,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ป่าพะยอม ลานข่อย place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตำบลลานข่อย ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอป่าพะยอม ประมาณ 15 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดพัทลุงประมาณ 44 กิโลเมตร
เนื้อที่และภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลลานข่อย มีเนื้อที่ประมาณ 37,344 ไร่ คิดเป็น 59.75 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่ของเทศบาลตำบลลานข่อย เป็นที่ลาดเชิงเขา ไม่มีน้ำท่วมขัง โดยมีพื้นที่ลาดจากทิศตะวันตกลงไปทิศตะวันออก โดยมีแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชัน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ขาดความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การแปรรูปผลิตภัณฑ์

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ควำมรู้ในเรื่องแปรรูปขมิ้นแห้งและขมิ้นผง

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ขมิ้นชัน เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าขมิ้นชันมีสีเหลืองเข้ม จนถึงสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เหง้าของขมิ้นชัน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ ใช้รักษาโรคผิวหนัง ผื่น คัน โดยการทำเป็นผงผสมน้ำ หรือเอาเหง้าสดฝนน้ำทา สามารถรักษาแผลได้ดี ขมิ้นชันเป็นพืชสมุนไพรพื้นเมืองของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก ขมิ้นชันที่ปลูกในภาคใต้ พบว่ามีคุณสมบัติที่ดีที่สุด ซึ่งพื้นที่ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เป็นแหล่งผลิตขมิ้นชันที่สำคัญ จากการทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในท้องถิ่น ปี 2558 โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปขมิ้นแห้งและขมิ้นผง ซึ่งเป็นการแปรรูปเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาขมิ้นชันจากขมิ้นชันสดที่เก็บรักษาได้ในระยะเวลาสั้น เมื่อนำมาทำแห้งและทำเป็นผงจะทำให้เก็บรักษาขมิ้นชันได้นานและยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการใช้ประโยชน์ของขมิ้นชัน เช่น ยาทาภายนอก ซึ่งรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลาก เกลื้อน รักษาแผลพุพอง สำหรับการใช้ภายใน จะช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น อาหารไม่ย่อย ทดแทนการใช้ยาในปัจจุบัน (พนิดา, 2540) สำหรับทางเภสัชวิทยาขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการขับลม เนื่องจากขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย ฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นสามารถนำไปใช้สำหรับเป็นเครื่องสำอางค์หรือเครื่องประทินผิวต่างๆ ที่มีขมิ้นเป็นส่วนผสมได้
อีกทั้งเป็นการช่วยนำตัวอย่างขมิ้นชันที่ปลูกในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลลานข่อยไปทำการวิเคราะห์สารเคอร์คูมินอยด์หรือปริมาณสารเคอร์คูมิน (curcumin content) และปริมาณน้ำมันหอมระเหย (volatile oil content) พบว่า มีปริมาณที่สูงเกินค่ามาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับขมิ้นจากภาคอื่นๆ ดังตาราง
ตารางที่ 1 แสดงผลการวิเคราะห์คุณภาพของขมิ้นชันจากแหล่งต่างๆ
ตัวอย่างขมิ้น ปริมาณเคอร์คูมินอยด์ น้ำมันหอมระเหย
ขมิ้นชันตำบลลานข่อย 9.55% w/w 6.50% v/w
ขมิ้นอ้อย ราชบุรี 2.02% w/w 6.50% v/w
ขมิ้นชัน ราชบุรี 6.40% w/w 7.50% v/w
References not less than 5.0% w/w 6.0% v/w
ซึ่งจะเห็นได้ว่าขมิ้นชันที่ปลูกในพื้นที่ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นแหล่งที่ปลูกขมิ้นที่ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพมากอีกแหล่งหนึ่ง แต่เนื่องจากราคาขมิ้นสดตกต่ำ ช่องทางการจำหน่ายน้อยและยังมีการผูกขาดของราคาของพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาการขายขมิ้นชัน ทั้งนี้ทางผู้วิจัยตระหนักว่าการที่ชุมชนมีทรัพยากรที่มีคุณภาพดี แต่การนำไปใช้ประโยชน์ยังน้อยนั้นเป็นการเสียโอกาสในการทำรายได้ให้แก่ชุมชนเป็นอย่างมากซึ่งควรให้การสนับสนุนในแง่ของการปลูกและการแปรรูปให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการนำมาใช้ประโยชน์โดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากยังไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานใดที่จะเข้าไปส่งเสริมในการวิจัยและพัฒนา เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ซึ่งทางคณะผู้วิจัยได้ทำโครงการวิจัยกับทางกลุ่มผู้ปลูกขมิ้นชันเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2559 ในหัวข้อเรื่อง การสำรวจข้อมูลและการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของขมิ้นชันในพื้นที่ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นของเกษตรกรผู้ปลูกในแง่ของการปลูก ปริมาณผลผลิต ปัญหาการเพาะปลูกและการวิเคราะห์สาระสำคัญของขมิ้นชัน คือ ปริมาณเคอร์คิวมินอยด์ และน้ำมันหอมระเหย เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเข้ามาพัฒนาให้กับชุมชนต่อไป อีกทั้งทางคณะผู้วิจัยได้มีการสำรวจความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชันในตำบลลานข่อยร่วมกับเทศบาลตำบลลานข่อย พบว่า ความต้องการในลำดับแรกของชุมชนคือต้องการความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ต้องการฝึกปฏิบัติในการแปรรูปขมิ้นชันเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งคาดหวังว่าจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพได้
ทั้งนี้ทางคณะผู้วิจัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาการใช้ประโยชน์ของขมิ้นชันดังกล่าว จึงมีความสนใจที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการให้กับเกษตรกรตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และช่วยผลักดันในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อพัฒนาให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นได้มาตรฐานคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การแปรรูปขมิ้นชัน

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 13:55 น.