การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะครบวงจรด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะครบวงจรด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะครบวงจรด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
หน่วยงานร่วม องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง
ชื่อชุมชน ชุมชนตำบลป่าแป๋
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เพียงตะวัน พลอาจ
การติดต่อ 0896315018
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
เชียงใหม่ แม่แตง ป่าแป๋ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลขยะในพื้นที่ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณขยะในพื้นที่ตำบลป่าแป๋ ปริมาณ 1 ตัน/วัน แยกเป็นขยะเปียก 0.80 ตัน/วัน และขยะแห้ง 0.20 ตัน/วัน โดยพื้นที่ที่มีปริมาณขยะมากที่สุด ได้แก่ บ้านแม่เลา หมู่ที่ 5 รองลงมาคือ บ้านแสะ หมู่ที่ 8 และบ้านปาง มะกล้วย หมู่ 2 เนื่องจากพื้นที่ 3 หมู่บ้านเป็นพื้นที่ที่มีจุดพักรถของนักท่องเที่ยว ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่มาจากนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทาง เนื่องจากตำบลป่าแป๋ เป็นเส้นทางระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ซึ่งเส้นทางสายนี้มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมากจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวและผู้ที่สัญจรผ่านไปมาอยู่เสมอ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รับนโยบายในการจัดการขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งที่ผ่านมาต้องใช้งบประมาณในการจัดการขยะสูง ปริมาณขยะในพื้นที่ 1 ตัน/วัน โดยแยกเป็นขยะแห้ง 0.20 ตัน/วัน โดยพื้นที่ที่มีปริมาณขยะมากที่สุดคือพื้นที่บ้านแม่เลาและ บ้านแสะเนื่องจากเป็นพื้นที่จุดพักรถปริมาณขยะที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่มาจากนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทาง เนื่องจากต าบลป่าแป๋ เป็นเส้นทางระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ซึ่งเส้นทางสายนี้มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมากจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวและผู้ที่สัญจรผ่านไปมาจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยมีความโดดเด่นที่ชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวในจังหวัด
เชียงใหม่ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาคือ ปัญหาขยะ เนื่องจากการที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเข้ามาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ทำให้เกิดการบริโภคมากขึ้น ดังนั้นในแต่ละวันจึงมีขยะเพิ่มมากขึ้นโดยมีปริมาณขยะถึงวันละ 284 ตันต่อวัน ขยะส่วนใหญ่เป็นเศษพืช ใบไม้ ผ้า กระดาษ กล่องทำให้หน่วยงานรับผิดชอบไม่สามารถดูแลและควบคุมปริมาณขยะได้ทั่วถึง ประชาชนในเขตชนบทจึงเกิดการกำจัดขยะขึ้นเองโดยการเผาขยะซึ่งทำให้เกิดหมอกควันที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่กระทบกับระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจ ระบบสมอง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
พื้นที่ตำบลป่าแป๋ เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์และเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำจึงไม่สามารถดำเนินการขุดบ่อขยะได้ การกำจัดขยะในชุมชนจึงใช้วิธีการเผาในครัวเรือน การเผาขยะอินทรีย์ในพื้นที่ป่าชุมชน ขนส่งขยะออกจากชุมชนยาก ขยะจากการท่องเที่ยว ส่งผลต่อระบบนิเวศน์ การก่อเกิดมลภาวะ ไฟป่าและสุขภาพของคนในชุมชน ปัญหาขยะที่กล่าวมาหน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามจัดการตามหลักสุขลักษณะและอย่างไรก็ตามการดูแลของหน่วยงานยังไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ ดังนั้นการกำจัดขยะมูลฝอยในชุมชนส่วนหนึ่งถูกกำจัดตามความเข้าใจของชุมชนซึ่งไม่ถูกสุขลักษณะอยู่มาก รวมทั้งบางชุมชนเมื่อได้รับผลกระทบจากปัญหาขยะและหน่วยงานรับผิดชอบไม่สามารถให้บริการได้ จึงเกิดการต่อต้านคัดค้านจากประชาชนจนทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปจัดการขยะชุมชนได้ จึงมีแนวคิดในการจัดการขยะโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะในชุมชนขับเคลื่อนโดยชุมชนที่มีความพร้อมและจิตอาสาในการทำงานเพื่อชุมชน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแป๋ได้กำหนดปัญหาด้านขยะเป็นปัญหาหลักที่จะต้องแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากตำบลป่าแป๋เป็นพื้นที่การท่องเที่ยวจึงประสบปัญหาการ
ขนย้ายขยะเข้าพื้นที่จากนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งนอกจากนี้ตำบลป่าแป๋ยังเป็นพื้นที่การเกษตรซึ่งมีขยะชีวมวลจากธรรมชาติ เช่น เศษใบไม้ หญ้า และกิ่งไม้ เป็นต้น

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

เตาเผาชุมชนตำบลป่าแป๋

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

การสร้างเตาเผาชุมชนตำบลป่าแป๋เลือกใช้การเผาไหม้ในเตาเผาแบบตะกรับ (Stoker firing) ซึ่งเป็นวิธีการเผาดั่งเดิมที่นิยมใช้กันมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะชุมชนขนาดเล็ก โดยการป้อนขยะเข้าเตาเผาด้วยแรงงานคน (Manual Firing) ระบบการเผาของเตาจะเป็นการเผาไหม้เชื้อเพลิงขณะวางอยู่บนตะกรับเตา มีอากาศส่วนแรกป้อนผ่านจากด้านล่างและอากาศส่วนที่สองป้อนจากด้านบนเหนือเบด การเผาไหม้ในเตาเผาแบบตะกรับ มีข้อดีคือ มีขนาดไม่ใหญ่การควบคุมการเผาได้ง่าย สามารถปิดเตาได้ขณะเผาและสามารถเร่งเตาขึ้นใช้ได้ทันทีใช้พลังงานในการเตรียมเชื้อเพลิงน้อยไม่ต้องมีเครื่องบด

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การจัดการขยะครบวงจร
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ภาพถ่าย

  • photo การจัดเวทีระดมความคิดเห็นในการจัดโครงสร้างการทำงานการจัดเวทีระดมความคิดเห็นในการจัดโครงสร้างการทำงาน
  • photo การกำจัดขยะของชุมชนด้วยการเผากลางแจ้งการกำจัดขยะของชุมชนด้วยการเผากลางแจ้ง
  • photo การปรับพื้นที่เพื่อเตรียมติดตั้งเตาเผาและเป็นจุดกำจัดขยะของชุมชนการปรับพื้นที่เพื่อเตรียมติดตั้งเตาเผาและเป็นจุดกำจัดขยะของชุมชน
  • photo การท าโครงสร้างของเตาเผาขยะการท าโครงสร้างของเตาเผาขยะ
  • photo การท าโครงสร้างของเตาเผาขยะการท าโครงสร้างของเตาเผาขยะ
  • photo ปล่องควันขนาดสูง 5 เมตร เพื่อให้ควันลอยให้ป่าไม่ดูดซับปล่องควันขนาดสูง 5 เมตร เพื่อให้ควันลอยให้ป่าไม่ดูดซับ
  • photo การติดตั้งเตาโดยการเทพื้นซีเมนต์เป็นฐานการติดตั้งเตาโดยการเทพื้นซีเมนต์เป็นฐาน
  • photo ช่องสำหรับเขี่ยให้ขี้เถ้าจากห้องเผาล่วงลงในถาดรองขี้เถ้าช่องสำหรับเขี่ยให้ขี้เถ้าจากห้องเผาล่วงลงในถาดรองขี้เถ้า
  • photo การทดสอบระบบการเผาเชื้อเพลิงของเตาเผาขยะการทดสอบระบบการเผาเชื้อเพลิงของเตาเผาขยะ
  • photo ควันจากการเผาผ่านออกทางปล่องควันที่มีความสูงเพื่อให้ป่าไม้ช่วยดูดซับควันควันจากการเผาผ่านออกทางปล่องควันที่มีความสูงเพื่อให้ป่าไม้ช่วยดูดซับควัน
  • photo การอบรมวิธีการกำจัดขยะอินทรียการอบรมวิธีการกำจัดขยะอินทรีย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Prakardao.a01 Prakardao.a01 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 10:13 น.