การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวไร่ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโค จังหวัดชุมพร

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวไร่ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโค จังหวัดชุมพร

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวไร่ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโค จังหวัดชุมพร
สถาบันอุดมศึกษาหลัก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
หน่วยงานหลัก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์
หน่วยงานร่วม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวไร่ชุมโค
ชื่อชุมชน ชุมชนชุมโค จังหวัดชุมพร
ชื่อผู้รับผิดชอบ รศ.ดร.ร่วมจิตร นกเขา อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการผลิตพืช ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตรชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ 17/1 หมู่ 6 ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จ.ชุมพร
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 094-487-0848,061-542-9891
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ชุมพร place directions
ชุมพร ปะทิว ชุมโค ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

คณะนักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร ได้นำพันธุ์ข้าวไร่ที่ได้จากการคัดเลือกบริสุทธิ์ 11 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สามเดือน ดอกขาม ภูเขาทอง เล็บนก เล็บมือนาง นางเขียน นางครวญ นางดำ ดำกาต้นดำ ดำกาต้นเขียว และแม่ผึ้ง ขยายผล
ให้เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโค อำเภอปะทิว และเกษตรกรในหลายพื้นที่ของจังหวัดชุมพร
และจังหวัดใกล้เคียงปลูกเพื่อการบริโภคและจำหน่ายในชุมชน (ข้าวกล้องและข้าวขัดขาว กิโลกรัมละ 60 บาท) พันธุ์ข้าวเหล่านี้เป็นพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพ เนื่องจากให้ผลผลิตต่อไร่สูง ทนทานต่อโรค และแมลง มีลักษณะ
การบริโภคที่ผู้บริโภคชื่นชอบ มีทั้งพันธุ์ข้าวเจ้า และพันธุ์ข้าวเหนียวดำ บางพันธุ์มีกลิ่นหอม มีแร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก และคุณค่าทางอาหารสูง แต่ประสิทธิภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ยังไม่สามารถที่สร้างมูลค่าเพิ่มที่สามารถนำไปสู่เชิงพานิชย์ได้ และจากการหารือกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโคที่ปลูกข้าวไร่ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ปัญหาหลักของการปลูกข้าวไร่ คือ ต้นทุนการผลิตสูง (ได้รับผลตอบแทนเมื่อหักต้นทุนต่ำ)
การแปรรูปข้าวไร่ (สีเป็นข้าวกล้องหรือขัดขาว) ร้อยละต้นข้าวต่ำ กล่าวคือเมื่อนำข้าวไร่ที่เก็บเกี่ยวได้มาผ่านกระบวนการสีข้าว เมล็ดข้าวจะแตกหักจำนวนมาก เนื่องจากมีฝนตกชุก ส่งผลให้ราคาในการจำหน่ายลดลง กลุ่มขาดความรู้เรื่องการวางแผนการตลาดและรูปแบบบรรจุภัณฑ์ กลุ่มผู้ปลูกเข้าไร่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ และเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจน ดังนั้นเพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโคให้สูงขึ้น จำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมเข้ามาใช้ร่วมด้วยเพื่อลดต้นทุนค่าแรงงานและปัจจัยการผลิต เพิ่มคุณภาพข้าว และส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ในงานวิจัยนี้จึงมีแนวความคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวไร่ โดยการลดต้นทุนการผลิตข้าวไร่ในรูปแบบการจัดการระบบการเขตกรรม การเพิ่มคุณภาพของข้าวไร่ด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดร่วมกับหลอดฮาโลเจน และ
การเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจชุมชน ส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนข้าวไร่ชุมโค
ดังนั้นจากวิสัยทัศน์และแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่ให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นหัวใจสำคัญ
ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ดังที่กำหนดไว้ในแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 โดย
การดำเนินงานผ่านกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและการสร้าง
องค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของ
การขับเคลื่อนประเทศให้สามารถ ลดความเหลื่อมล้ำทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจของคนไทยได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร
เขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร ในฐานะเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมทั้งกลุ่มเกษตรกร (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร) สถานที่ นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์และนักศึกษา ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวไร่ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโค เพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็ง
ในอาชีพหรือยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร สามารถช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนได้ ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนฐานรากแล้วยังช่วยพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเกิดทักษะแห่งอนาคตอย่างเป็นรูปธรรมจากการดำเนินโครงการ

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ข้าวไร่
  • ชุมพร
  • เพิ่มประสิทธิภาพ
  • วิสาหกิจชุมชน

ภาพถ่าย

  • photo ภาพกิจกรรมข้าวไร่ภาพกิจกรรมข้าวไร่
  • photo ภาพกิจกรรมข้าวไร่ภาพกิจกรรมข้าวไร่
  • photo ภาพกิจกรรมข้าวไร่ภาพกิจกรรมข้าวไร่
  • photo ภาพกิจกรรมข้าวไร่ภาพกิจกรรมข้าวไร่
  • photo ภาพกิจกรรมข้าวไร่ภาพกิจกรรมข้าวไร่

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย tippawan tippawan เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 15:02 น.