บ่อกุ้งร้างสร้างสุขบ้านหนองนกไข่

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม บ่อกุ้งร้างสร้างสุขบ้านหนองนกไข่
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
หน่วยงานหลัก สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน
ชื่อผู้รับผิดชอบ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2557
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
นครศรีธรรมราช place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

บ้านหนองนกไข่มีนากุ้งถูกปล่อยร้างเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้ร่วมมือกันพัฒนาบ่อกุ้งรกร้างและพื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ โดยแบ่งกลุ่มการทำงานเป็นโซน ร่วมลงแขก ร่วมเรียนรู้ จนเกิดกลุ่มต่างๆ เพื่อการพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ มีกติกากลุ่มเป็นกลไกการขับเคลื่อนให้เกิดผลสำเร็จ ดังนี้
1. การปรับเปลี่ยนนากุ้งร้าง โดยการลงแขกช่วยเหลือกัน โดยปรับให้นากุ้งสามารถปลูกผัก และเลี้ยงปลาได้
2. เกิดการทำงานเป็นโซน 3 โซน ได้แก่ หนำหย่อม บางขอน หนองนกไข่ ในแต่ละโซนมีสมาชิก 20 คน ผลัดเปลี่ยนเวียนกันไปช่วยในทุกโซน มีหัวหน้าโซนเป็นผู้จัดการ ชักชวนให้เยาวชนมาร่วมกิจกรรมในทุกวันเสาร์ หมุนเวียนกัน 4 เดือน ในขณะที่ช่วยกันลงแขกปรับพื้นที่นากุ้งร้างได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลผลิตและเล่าเรื่องดี เกิดประโยชน์ในการนำความรู้ของหมู่บ้านมาถ่ายถอดให้เยาวชนและเพื่อนบ้านได้
3. ใช้กติกากลุ่มเกษตรกรอินทรีย์เป็นกลไกการขับเคลื่อนให้หมู่บ้านจัดการตนเองได้ มีความเข้มแข็ง
4. เกิดแกนนำ กลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มเลี้ยงไก่ กลุ่มเลี้ยงปูดำ กลุ่มเก็บพริก กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์ กลุ่มนาอินทรีย์ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ เกิดเครือข่ายชมรมคนรักษ์สมุนไพรอำเภอหัวไทร
5. กลุ่มเลี้ยงปลาได้แปรรูปปลาเป็นปลาร้า ปลาแดดเดียว ปลาเปรี้ยว ปลาเค็ม จำหน่ายในตลาดชุมชน
6. เกิดต้นแบบครัวเรือนพอเพียง ต้นแบบปุ๋ยหมัก ต้นแบบน้ำยาเอนกประสงค์ ต้นแบบเลี้ยงไก่ไข่ ต้นแบบผักปลอดสารพิษ
7. ผลที่เกิดขึ้นคือ พื้นที่บ่อร้างได้นำมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ กลุ่มเกษตรกรที่มีบ่อร้างสามารถเพิ่มรายได้จากการทำเกษตร ลดการใช้สารเคมี ดีต่อสิ่งแวดล้อม ดีต่อสุขภาพ ความเครียดลดลง สภาพน้ำและดิน มีความอุดมสมบูรณ์เอื้อต่อทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น
8. เกิดการรวมกลุ่มนำผลผลิตจากโครงการ ได้แก่ มะนาว ใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำยาอเนกประสงค์ แบ่งปันให้เพื่อนบ้านได้ลองใช้

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • สร้างสุขบ้านหนองนกไข่

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562 05:53 น.