ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
จุดเริ่มต้นของการทำโครงการปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง คือ ต้องการให้เป็นชุมชนบริหารจัดการสุขภาพซึ่งในปี 2554 พบผู้ป่วยเป็นมะเร็งจำนวน 5 คน และสาเหตุหลักของการเป็นโรคมะเร็งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย เกิดการรวมตัวของคนในชุมชนร่วมมือกันหาแนวทางหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหาร โดยใช้หลักการพึ่งตนเอง ยึดหลักวิถีพอเพียง และการฟื้นฟูสานต่อวัฒนธรรมแหล่งอาหารพื้นบ้านตามความถนัดของแต่ละคน ได้แก่
- การทำปุ๋ยหมัก
- การรวมกลุ่มทำนาอินทรีย์
- นวัตกรรมการทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ที่เกิดจากการทดลองของคนในชุมชน และได้องค์ความรู้ใหม่ คือ การนำใบเตยที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นโดยเพิ่มกลิ่นใบเตย จะได้ผลผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นกลิ่นใบเตย ทำให้มีกลิ่นหอม ป้องกันกลิ่นหืน และสามารถเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน โดยไม่มีกลิ่นหืน และสร้างรายได้เพิ่มให้ชุมชน
- มีการจัดกิจกรรมออกกําลังกายที่สอดคล้องกับทุกวัยโดยชวนลูกหลานรําพรานโนห์รา ซึ่งท่ารําพรานโนห์ราอยู่ในการแสดงโนห์ราอันเป็นศิลปะการแสดงท้องถิ่นภาคใต้ ได้ประยุกต์มาเป็นท่าออกกําลังกายที่เข้าถึงชาวบ้านได้ง่าย
- มหาวิทยาลัยหมู่บ้านหัวลำภู เป็นมหาวิทยาลัยที่ชาวบ้านคิดขึ้นมาหลักสูตรขึ้นมาทำการสอนโดยชาวบ้านหัวลำภูให้กับคนที่สนใจ มีหลักสูตร 3 ด้าน คือ เกษตรกรรมยั่งยืน วัฒนธรรมยั่งยืน และสวัสดิการชุมชน
ผลที่เกิดขึ้นในปี 2558 มีครัวเรือนต้นแบบที่พึ่งตนเองและจัดการตนเองได้จำนวน 30 ครัวเรือน และได้ขยายไปยังเครือข่ายอีก 5 หมู่บ้าน โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพเพิ่มรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจของคนในชุมชน