การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านถ้ำเสือ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านถ้ำเสือ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
หน่วยงานหลัก สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.)
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน
ชื่อผู้รับผิดชอบ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
กระบี่ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ชุมชนบ้านถ้ำเสือ มีแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ดังนี้
1. มีข้อตกลงร่วมกันเพื่อการดูแลสัตว์น้ำในพื้นที่ เช่น การหาหอย ให้ชาวบ้านหาหอยด้วยมือ และห้ามการใช้เรือลากและใช้ตะแกรงเหล็กลากหอย ครอบคลุมพื้นที่แหล่งน้ำทั้งสองฝั่ง คือ ฝั่งบ้านถ้ำเสือ และฝั่งโคกไคร้ จังหวัดพังงา
2. การส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน ทั้งป่าโกงกาง ป่าจาก ทั้งที่เป็นกิจกรรมที่ชาวบ้านในพื้นที่ทำร่วมกัน และเป็นกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว พื้นที่ปลูกป่าส่วนหนึ่งเป็นบ่อกุ้งร้าง โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของพื้นที่ อีกส่วนหนึ่งปลูกในพื้นที่ป่าชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนจากราชการ มีการดำเนินการทำเรื่องขอกันพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อปลูกป่าจำนวน 100 กว่าไร่ มีคณะกรรมการป่าชุมชนของหมู่บ้านและชาวบ้านช่วยกันดูแล สำหรับต้นกล้าที่ใช้ปลูกป่า บางครั้งจะมีการประสานขอต้นกล้ากับหน่วยงานราชการ และชาวบ้านดูแลเพาะกล้าให้ นักท่องเที่ยวที่มาปลูกป่าจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อต้นไม้ แต่บางครั้งการปลูกป่าในบางแห่ง เช่น ที่วัด นักท่องเที่ยวก็ต้องซื้อต้นไม้บ้าง กิจกรรมการปลูกป่าทำให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นอย่างเช่นพื้นที่บริเวณถ้ำเสือนอกซึ่งเดิมเป็นป่าโล่ง นักท่องเที่ยวมาช่วยกันปลูกป่าจนปัจจุบันกลายเป็นป่าเต็ม
3. มีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน ได้แก่ การตัดหญ้า เก็บขยะข้างถนน หรือการจัดกิจกกรมแข่งเรือ ซึ่งใช้เป็นเหตุผลที่ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางในคลอง

การจัดการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน
โปรแกรมการท่องเที่ยวชุมชนโดยปกติจะมีกิจกรรม CSR การปลูกป่าชายเลน ปรับภูมิทัศน์ และให้นักท่องเที่ยวเข้ามาจัดการตามโปรแกรม ซึ่งตัวนี้ก็เป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วย เช่น โปรแกรมสปาโคลน ก็อาจมีกิจกรรมปลูกป่าซึ่งแล้วแต่แพคเกจ อย่างไรก็ตาม รายได้ส่วนหนึ่งจากการท่องเที่ยวในโปรแกรมก็เอาเข้ากองกลางท่องเที่ยวของบ้านถ้ำเสือ เพื่อใช้ในการรักษาทรัพยากร โดยในแต่ละปีได้จ่ายเงินให้กับการพัฒนาหมู่บ้าน และหมู่บ้านก็เอาเงินส่วนนี้ไปจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องขยะ ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม หรืออื่นๆ ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบ้านถ้ำเสือทุกคนมีส่วนช่วยดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับบทบาทหลักในการท่องเที่ยวชุมชนคือการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

กฎ กติกาหรือ มาตรการในการจัดการ การท่องเที่ยวร่วมกัน
บ้านถ้ำเสือได้มีกฎ กติกาหรือมาตรการในการจัดการการท่องเที่ยวร่วมกัน ดังนี้
1. การควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกติกาของการเข้าออกพื้นที่ระหว่างนักท่องเที่ยวกับผู้ให้บริการ เช่นแหล่งทะเลควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวไม่เกิน จำนวน 40-50 คนต่อวัน หรือเข้าถ้ำก็ไม่เกิน 60 คนต่อวัน ไม่เกินขีดจำกัดในแหล่งที่อ่อนไหว เสียหายง่าย และจะไม่ให้มีการเก็บหินต่าง ๆ หรือโคลนในแหล่งท่องเที่ยวออกมา
2. การเน้นใช้วัสดุพวกชานอ้อย ใบตอง ปิ่นโต แทนโฟม ถุงพลาสติก ถุงกอบแกบ
3. การจัดการขยะ โดยการชี้แจงเพื่อสร้างความตระหนักให้แก่นักท่องเที่ยว การจัดอบรมให้กับไกด์ เกี่ยวกับสำนึกรักษ์บ้านเกิด มีข้อตกลงร่วมกันกับนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ ให้นำขยะไปในแหล่งท่องเที่ยวให้น้อยที่สุด และนำขยะกลับออกมาให้หมด บางครั้งก็ให้ไกด์เป็นผู้จัดการเก็บขยะ หรือบางครั้งไกด์กับนักท่องเที่ยวร่วมกันเก็บขยะ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) จะเป็นผู้มาจัดการขยะจากแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ รวมถึงขยะจากที่พักต่อไป ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบปัญหาการจัดการขยะจากการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นของการท่องเที่ยว
4. การจัดการน้ำมันเรือ ซึ่งมีจำนวน 10 กว่าลำ จะไม่มีการถ่ายน้ำมันลงทะเล จะถ่ายน้ำมันใส่กระป๋อง ซึ่งจะมีคนรับซื้อต่อ

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ท่องเที่ยวโดยชุมชน

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Syuwari Syuwari เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 10:57 น.