การเลี้ยงผึ้งเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมปลอดสารพิษในชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง

การเลี้ยงผึ้งเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมปลอดสารพิษในชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การเลี้ยงผึ้งเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมปลอดสารพิษในชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
หน่วยงานหลัก ชุมชนหูยาน/สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ / สสส.โครงการชุมชนน่าอยู่
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน
ชื่อผู้รับผิดชอบ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
พัทลุง เมืองพัทลุง นาท่อม place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

- ชุมชนหูยานได้รับรางวัล ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัดที่มีผลงานเด่นคือการปลูกผักปลอดสารพิษ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทุกชนิด มีการทำกันเป็นชุมชน 50 ครัวเรือน เกิดนวัตกรรม จากผึ้งภูมิปัญญาฟื้นชุมชนให้น่าอยู่ ครัวเรือนต้นแบบเลี้ยงผึ้ง (ณ ปี 2558)
- ชุมชนหูยานพลิกจากชุมชนที่เคยมีปัญหากลายมาเป็นชุมชนที่มีความพร้อมที่สุดของตำบลนาท่อม โดยเฉพาะภาพของประชาชนมีความพร้อมในการทำงานเป็นกลุ่มสูง
- มีวิทยากรเจ้าของแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนผึ้ง ได้รับความไว้วางใจให้เป็นคณะทำงานขับเคลื่อนเมืองพอเพียงของผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ขยายประเด็นผึ้งในระดับจังหวัด ส่งผลให้มีชุมชนจากภายนอกมาเรียนรู้ดูงาน เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
- มีตลาดเขียวแหล่งอาหารปลอดภัย

จากการดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่ 2555-2558 ในระยะเวลา 3 ปี พบว่า สามารถชักชวนชาวบ้านในพื้นที่ให้มาเป็นครัวเรือนต้นแบบได้เพิ่มขึ้นโดยแกนนำ 1 คน ชักชวนสมาชิกมาเพิ่มอีก 4 ครัวเรือน จนรวมเป็น 70 ครัวเรือนต้นแบบ ที่สามารถลดรายจ่ายด้านต้นทุนการผลิตลงได้ มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในชุมชนบ้านหูยาน มีการเลี้ยงผึ้ง เพื่อสุขภาพและเสริมรายได้ จำนวน 25 ราย เมื่อทางชุมชนได้ปรับเปลี่ยนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกผัก ทำให้ผึ้งมีจำนวนเพิ่มขึ้น น้ำผึ้งที่ได้มีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ชาวบ้านหลายคนหันมาเลี้ยงผึ้งโพรงเพื่อสุขภาพเป็นอาชีพเสริมจนเพิ่มเป็น 50 รายจำนวน 285 รัง ทีมสภาแกนนำเกิดการพัฒนาศักยภาพจนสามารถดำเนินโครงการได้สำเร็จ ส่งผลให้เป็นชุมชนที่มีระบบกลไกการจัดการตนเอง ด้วยการร่วมคิดร่วมทำเกิดเป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดการชุมชนพึ่งตนเองในด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมได้ขยายผลการเลี้ยงผึ้งไปสู่ชุมชนภายนอกให้เข้ามาร่วมเรียนรู้และพัฒนาเป็นหลักสูตรชุมชนขยายผลสู่โรงเรียนในพื้นที่ เกิดตลาดสีเขียวที่มีการรับรองมาตรฐานสินค้าอาหารปลอดภัย และคนในชุมชนลดความขัดแย้งเมื่อได้มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันภายใต้การทำกิจกรรมร่วมกัน
(ที่มาข้อมูล: ถาวร คงศรี และสมนึก นุ่นด้วง)

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การมีส่วนร่วม
  • ชุมชนน่าอยู่
  • ปลอดสารพิษ
  • ผักปลอดสารพิษ
  • เลี้ยงผึ้ง
  • อาหารปลอดภัย

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

  • ชุมชนน่าอยู่ภาคใต้ 2559 บทเรียน ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Yuttipong Kaewtong Yuttipong Kaewtong เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562 09:46 น.