สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

diversity_2

โครงการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อยกระดับการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ในกลุ่มเกษตรกรที่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว โดยการขยายรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราแบบ ก 2,3 รูปแบบการทำเกษตร 1 ไร่ หลายแสน สู่งานเชิงนโยบาย
ตัวชี้วัด : - เกิดต้นแบบในการสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน โดยการทำพืชร่วมยาง และ 1 ไร่ 1 แสนจำนวน 150 ครัวเรือน (ใหม่) โดยเป็นพืชร่วมยาง 120 ครัวเรือนและ 1 ไร่ 1 แสน 30 ครัวเรือน พร้อมถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาต้นแบบและจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อเผยแพร่และใช้ผลักดันให้หน่วยงานในพื้นที่นำไปขยายผล โดยมีพื้นที่ Model ตั้งต้น อยู่ในจังหวัดสงขลา และนำร่องการขยายผลไปยังพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส - เกิดข้อเสนอแนะ/มาตรการเชิงนโยบาย ส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่หลาย1 แสน จำนวน 1 ข้อเสนอ
0.00

 

2 เพื่อพัฒนารูปแบบระบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) และกระจายอาหารปลอดภัยจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยใช้กลไกสหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอ ในพื้นที่อำเภอบางกล่ำ และอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ตัวชี้วัด : - เกิดการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อาหารปลอดภัยจากเกษตรกร ไปยัง รพ./โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก /ร้านอาหาร โดยกลไกสหกรณ์การเกษตร อย่างน้อยจำนวน 10 แห่ง พร้อมจัดทำเป็นฐานข้อมูลและแผนที่การเชื่อมโยงผลผลิตที่แสดงให้เห็นระบบการหมุนเวียนเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ (เช่น ชนิดปริมาณ และราคาจำหน่ายผลผลิต) พื้นที่จังหวัดสงขลา และนำร่องขยายผลเพิ่มเติมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
0.00

 

3 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนนโยบายและสื่อสาธารณะ ด้านอาหารปลอดภัยในจังหวัดปัตตานี
ตัวชี้วัด : - เกิดแผนปฏิบัติราชการในการดำเนินงานอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดปัตตานี 1 ฉบับ พร้อมติดตามผลการนำแผนไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดปัตตานี - เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายด้านอาหารปลอดภัยจังหวัดปัตตานี 1 ฉบับ พร้อมนำไปใช้ผลักดันให้ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่พิจารณาดำเนินการ พื้นที่จังหวัดปัตตานี - เกิดองค์ความรู้เพื่อใช้ขับเคลื่อนนโยบายและนำไปสื่อสารสาธารณะ อย่างน้อย 1 เรื่อง คือ ด้านอาหารปลอดภัยจังหวัดปัตตานี
0.00

 

4 เพื่อขยายผลและผลักดันรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในองค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดยะลาสู่ภารกิจงานปกติของหน่วยงาน และยกระดับเทศบาลนครยะลาเป็นต้นแบบการจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล
ตัวชี้วัด : - เกิดแผนงานและโครงการด้านอาหารและโภชนาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยะลาอย่างน้อย 63 โครงการ พื้นที่จังหวัดยะลา - เกิดนโยบายเพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของเทศบาลนครยะลา 1 นโยบาย พร้อมติดตามผลการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติพื้นที่จังหวัดยะลา
0.00

 

5 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการระบบอาหาร โดยกลไกองค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่มเปราะบางในภาวะวิกฤติ
ตัวชี้วัด : - เกิดต้นแบบการจัดการระบบอาหารอย่างครบวงจรให้กับกลุ่มเปราะบางอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในภาวะวิกฤติที่มีการระบาดของ COVID-19 อย่างน้อย 30 แห่ง พร้อมติดตามถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาต้นแบบและจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อเผยแพร่และใช้ผลักดันให้หน่วยงานในพื้นที่นำไปขยายผลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
0.00

 

6 เพื่อผลักดันการดำเนินงานระบบอาหารผ่านกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารแบบบูรณาการ ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส)
ตัวชี้วัด : - เกิดแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้มีการดำเนินงานเรื่องระบบอาหารและโภชนาการที่ครบวงจร 1 ฉบับ พร้อมนำไปใช้ผลักดันให้ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่พิจารณาดำเนินการพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อยกระดับการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ในกลุ่มเกษตรกรที่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว โดยการขยายรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราแบบ ก 2,3 รูปแบบการทำเกษตร 1 ไร่ หลายแสน สู่งานเชิงนโยบาย (2) เพื่อพัฒนารูปแบบระบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) และกระจายอาหารปลอดภัยจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยใช้กลไกสหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอ ในพื้นที่อำเภอบางกล่ำ และอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา (3) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนนโยบายและสื่อสาธารณะ ด้านอาหารปลอดภัยในจังหวัดปัตตานี (4) เพื่อขยายผลและผลักดันรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในองค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดยะลาสู่ภารกิจงานปกติของหน่วยงาน และยกระดับเทศบาลนครยะลาเป็นต้นแบบการจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล (5) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการระบบอาหาร โดยกลไกองค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่มเปราะบางในภาวะวิกฤติ (6) เพื่อผลักดันการดำเนินงานระบบอาหารผ่านกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารแบบบูรณาการ ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การประชุมชี้แจงแนวทางพัฒนาระบบกระจายผลผลิตการเกษตรโดยกลไกสหกรณ์การเกษตรอำเภอควนเนียงและอำเภอบางกล่ำ (2) ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหาร เพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัด สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสกับผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ (3) การประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยขยายผลการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราแบบ ก2,3 และการทำเกษตร 1 ไร่ หลายแสนสู่งานเชิงนโยบาย (4) ประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการระบบอาหารและโภชนาการ ในภาวะวิกฤตโดยกลไกชุมชน เพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และกลุ่มเปราะบาง (5) การประชุมจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรจังหวัดยะลา เพื่อพัฒนารูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้) (6) การประชุมจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรจังหวัดปัตตานี เรื่องการพัฒนารูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้) (7) การประชุมการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้) (8) การประชุมการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้) (9) ประชุมวิเคราะห์ข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำแผนระบบอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น (10) ประชุมบุคลากรชี้แจงแนวทางการพัฒนาโครงการด้านอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น (11) ประชุมหารือการดำเนินกิจกรรมพัฒนารูปแบบการจัดการระบบอาหารและโภชนาการใน อปท. ร่วมกับทีมนักวิชาการ (12) กิจกรรมการสำรวจการจัดการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงวิกฤติโควิด และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (13) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา ณ จังหวัดสงขลา (14) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา ณ จังหวัดสงขลา (15) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา ณ จังหวัดสงขลา (16) ประชุมการปรับปรุงแผนการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อำเภอควนเนียง และอำเภอบางกล่ำ (17) สนับสนุนกิจกรรมการขับเคลื่อนแผนอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น จังหวัดยะลา (18) ประชุมชี้แจงแผนการส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา นาข้าว สวนผลไม้ (19) ประชุมเตรียมงาน เตรียมข้อมูล เพื่อจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฎิบัติการเขียนโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการชุมชน (20) ประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการชุมชนผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) (21) กิจกรรมการศึกษาการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานและการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ของระบบการผลิต เพื่อการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (22) กิจกรรมพัฒนารูปแบบระบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อำเภอบางกล่ำ และอำเภอควนเนียง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh