สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ด้านความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ประชุมคณะทำงานยุทธศาสตร์อาหาร จ.นครศรีธรรมราช

ประชุมคณะทำงานยุทธศาสตร์อาหาร จ.นครศรีธรรมราช

4 มิถุนายน 2562
areeandamanareeandaman
รายงานจากพื้นที่ (ปิดงวดแล้ว)
Project trainer
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

กำหนดการประชุมคณะทำงานยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช วันอังคารที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๓๐ น. ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการ ชั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

  • ๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
  • ๐๙.๐๐ - ๐๙.๒๐ น. เปิดการประชุม ทิศทางการทำงานยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช โดย นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ๐๙.๒๐ - ๐๙.๕๐ น. นำเสนอภาพรวมผลการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช โดย นายแพทย์จรัสพงษ์ สุขกรี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ๐๙.๕๐ - ๑๐.๓๐ น. นำเสนอผลการประเมินยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4 พื้นที่ คือ อบต.เขาแก้ว อ.ลานสกา อบต.หูล่อง อ.ปากพนัง อบต.ไสหร้า และเทศบาลจันดี อ.ฉวาง โดย สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ผู้แทนจาก 4 ตำบล
  • ๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. ระดมความเห็นแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช โดย คณะทำงานยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช และ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี
  • ๑๒.๐๐ - ๑๒.๓๐ น. สรุปและปิดการประชุม โดย ฝ่ายเลขานุการ
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อเสนอต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ดังนี้

๑. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร จัดทำ Mapping ข้อมูลแหล่งอาหารที่เพียงพอในภาวะปกติและช่วงวิกฤต แบ่งออกเป็นพื้นที่ทางทะเล พื้นที่นา พื้นที่สวน ข้าว ๒. ยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช จะรับทำในยุทธศาสตร์ที่ ๒ ด้านอาหารปลอดภัย ในงาน ดังนี้ - เก็บข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่ปนเปื้อนในตลาด - ทำเรื่องตลาดปลอดภัยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเริ่มด้วยการใช้งบกองทุนสุขภาพตำบล
- การตรวจสอบสารตกค้างในพืชผักผลไม้แหล่งตลาดหัวอิฐ ต้องบูรณาการทั้งชุมชน รพ.สต. สร้างจุดแข็งด้านการบูรณาการให้ทุกคนมีสุขภาพดี ทางหอการค้ายินดีจะผลักดันโครงการนี้ ๓. สปสช.มีงบกองทุนตำบลที่เหลือและสามารถนำมาทำเรื่องระบบอาหารใน ๓ ประเด็นได้ ๔. ข้อเสนอแนะต่อภาคประชาสังคมต่อการใช้งบกองทุนตำบล คือ การสื่อสารของคณะกรรมการกองทุนกับภาคประชาชนในพื้นที่ยังไม่เข้าใจตรงกัน โครงการกองทุนตำบลส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องสุขภาพเป็นหลัก จึงมีข้อเสนอต่อท้องถิ่นจังหวัดหาวิธีการสร้างการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ๕. ใช้กลไกสมัชชาสุขภาพและธรรมนูญสุขภาพขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อาหารทั้ง ๓ ประเด็น โดยคณะกรรมการชุดอำนวยการจะนำร่องขับเคลื่อนทั้ง ๒๖ อำเภอ ๖. การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ มีกลไก คือ
- ระดับตำบล ใช้งบกองทุนตำบล พัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการเพื่อขอใช้งบกองทุนตำบล - ระดับอำเภอ ดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนำเรื่องยุทธศาสตร์ระบบอาหารเข้าสู่แผนระดับจังหวัด

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 49 คน จากที่ตั้งไว้ 49 คน
ประกอบด้วย
  • รอง ผจว.นครศรีธรรมราช
  • อาจารย์
  • เภสัชกร
  • นักวิชาการสาธารณสุข
  • สจรส.มอ.
รายงานการใช้เงิน
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆรวมรายจ่ายสถานะ
10,000.00 0.00 23,400.00 0.00 0.00 0.00 33,400.00 lock_open