กบยิ้ม ไก่แย้ม หมู่ที่ 6บ้าน อพป.คลองน้ำใส ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

กบยิ้ม ไก่แย้ม หมู่ที่ 6บ้าน อพป.คลองน้ำใส ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม กบยิ้ม ไก่แย้ม หมู่ที่ 6บ้าน อพป.คลองน้ำใส ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 6บ้าน อพป.คลองน้ำใส ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.ผมหอม เชิดโกทา
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
สระแก้ว อรัญญประเทศ คลองน้ำใส place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของตำบลคลองน้ำใส
เดิมหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองน้ำใส ทางทิศตะวันออกอพยพมาจากเมืองเวียงจันทร์หลวงพระบางประชาชนเป็นคนไทยน้อย อพยพมาเพื่อทำมาหากินย้อยจากทางเดินทับหลวงมาทางใต้ ตั้งแต่พระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์หลวงพระบางแตก ทรงอันเชิญพระแก้ว (พระแก้วมรกต) พระบางขึ้นหลังข้างเข้าสู่บางกอก (กรุงเทพมหานคร) ประชาชนก๊กนี้ได้อพยพมาพร้อมกันอีกหลายกลุ่มมีกลุ่มไทยใหญ่ ไทยน้อย ไทยย่อย อพยพมาพร้อมพระแก้ว พระบางหลีกทางทัพหลวงมาทำมาหากิน ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่หลายแห่งๆ ละ 10,20,30,40 ปี ล่นถอยมาเรื่อยๆ จนถึงฝั่งตะวันออกคลองน้ำใสไทยเดิมเรียกว่าหวยใส เพราะว่าน้ำในคลองนี้ไหลมาจากภูเขาท้องน้ำจึงใสไหลเย็นสามารถมองเห็นตัวปูปลา มีเพื่อนที่อพยพมาพร้อมกันหลายหมู่บ้าน เช่นบ้านกุดโดน กุดสะเทียน เหล่าคา นาน้อย ยางเดี่ยว อยู่กันอย่างสุขสำราญอย่างพี่อย่างน้องปกคลองกันด้วยความสามัคคีธรรมเป็นเวลาช้านานหลายปี จนถึงสมัยเมืองเวียงจันทร์หลวงพระบาง โพธิสัตว์ พระตะบอง นครจำปาสัก เสียมราฐ ศรีโสภณ มงคลบุรี เขมร ลาว ยังเป็นเมืองขึ้นของเรา ฝรั่งยกกองทัพยึดเมืองจันทบุรี และปิดปากอ่าวไทยไว้เป็นประกัน ได้ส่ง ม.ปาวี มาเจรจาไกล่เกลี่ยเจ้าเมืองลาวและเขมรให้อยู่ใต้อารักขา เมื่อปี พ.ศ. 2449 ฝรั่งเศสไม่ยอมถอนกำลังจากเมืองจันทบุรีปิดปากอ่าวไทยไว้บังคับให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยอมให้ลาวและเขมรอยู่ใต้อารักขา และบังคับให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตอบรับภายใน 48 ชั่วโมง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าฝรั่งเศสเป็นชาติมหาอำนาจมีกำลังมากกว่าจะคัดค้านก็จะเข้าทำนอง ตีนช้างเหยียบปากนก เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย กล้านักมักบิ่น ดังคำพังเพยที่ว่า ไม้อ่อนบ่อห่อนหัก ดังตัวอย่าง ประเทศพม่า อินเดีย มีประชากรน้อยนับร้อยล้านยังตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ พระองค์จึงยอมยกให้ลาว เขมร พนมเปญ เวียงจันทร์ หลวงพระบาง โพธิสัตว์ พระตะบอง นครจำปาสัก เสียมราฐ ศรีโสภณ มงคลบุรี ให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกเอาส่วนใหญ่และเอกราชเอาไว้ ฝรั่งเศสจึงจัดแบ่งอาณาเขตเอาตามใจชอบ ตรงไหนมีภูเขาที่สูงที่สุดเป็นหลักเขต ตรงไหนมีลำคลองก็ถือเอากลางน้ำเป็นเขตแดนตรงไหนไม่มีภูเขาและแม่น้ำลำคลองก็ใช้หลักศิลาจารึกทำด้วยปูนซิเมนต์คอนกรีตสี่เหลี่ยมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร 50 เซนติเมตร ปักห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร ถี่กว่านั้นบ้างเป็นระยะๆ ลงมาทางทิศใต้เป็นลำดับ ทางตะวันออกจารึกว่าประเทศกัมพูชา ด้านทิศตะวันตกจารึกว่าประเทศสยาม ตรงลงมาทางทิศใต้ลงมาถึงคลองลึก ซึ่งอยู่ในเขตเขมรโน้มที่ชาวเขมรเรียกว่า โอชเลา ตรงไปใส่เกาะกง ฝรั่งเศสไม่พอใจจึงย้อนรอยถอยหลังไปเพราะเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ มงคลบุรี ก็ยังเป็นของเรา ฝรั่งเศสไม่พอใจใช้อำนาจมาถือเอาคลองเล็กๆ ทีไหลลงคลองพรมโหสถ์ เรียกว่า คลองเล็ก แล้วถือเอาคลองพรมโหสถ์ไปจนสุดคลองถึงแหลมหนองเอี่ยนที่คลองน้ำใสไหลลงไปบรรจบ แล้วถือเอาคลองน้ำใสไปถึงขึ้นภูเขาทองจังหวัดจันทบุรีเป็นคลองเขตแดนตามลำดับ บ้านกุดโดน กุดสะเทียน เหล่าคา นาอ้อย ยางเดี่ยว ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองน้ำใสทางทิศตะวันออกต้องตกเป็นของเขา การสำรวจสำมะโนครัวประชากรครั้งแรก ฝรั่งพูดภาษาไทยไม่ชัดไทยย่อยเป็นไทยญ้อ จึงเรียกตัวเองว่าไทยญ้อมาตลอด ไทยย่อย ไทยญ้อ อันมีเชื้อสายมาจากไทยน้อยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นและขี้ข้าทาสใคร มีความรักสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และรักความเป็นไทย แต่ไหนแต่ไรมามีอุปนิสัยสืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษหัวหน้าผู้นำพาอพยพแต่ท่านได้ถึงแก่กรรมเสียชีวิตแล้วแต่อยู่โพธิสัตว์ มีชื่อว่า หลวงคลังมหาดไทยถึก แล้วจึงได้อพยพข้ามฝั่งคลองน้ำใสมาตั้งเป็นหมู่บ้าน อาทิเช่น บ้านใหม่ปากฮ่อง บ้านจุกหลุก (แสนสุข) บ้านห้วยใสใน (คลองน้ำใส) บ้านหนองผักกาดฮอง (ผักกาดฮอง) มารวมกันอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่าไทโซ่ อพยพข้ามฝั่งคลองน้ำใสตั้งเป็นหมู่บ้านทับไฮ ท่าเกด ขณะนั้นเป็นหลายหมู่บ้านจึงได้แต่งตั้งให้เป็นตำบลท่าเกดสมัยรัชกาลที่ 5 คนบ้านท่าเกดได้รับแต่งตั้งเป็นขุนเจ้าเมือง เรียกว่าขุนพินิจโวหาร ขุนพิจารณ์แจ้งเจตน์ ขุนไตรเทศดาวเรืองขุนเจ้าเมืองรักไพร่ ขุนเจ้าเมืองรักไพร่เป็นคนบ้านห้วยใสในตระกูลเกตุสายเมืองอยู่ทุกวันนี้ ต่อมาขุนพินิจโวหาร ขุนพิจารณ์แจ้งเจตน์ ขุนไตรเทศดาวเรือง ได้ถึงแก่กรรมลงทางการจึงได้แต่งตั้งให้ขุนเจ้าเมืองรักไพร่เป็นเจ้าเมืองแทน ต่อมาไม่นานก็ถึงแก่กรรมแล้วได้แต่งตั้งให้นายทิ้งเป็นกำนันตำบลท่าเกด ต่อมานายทิ้งได้ถึงกรรมจึงได้แต่งตั้งนายวรรณาเป็นกำนันอยู่บ้านห้วยใสใน ต่อมาได้เปลี่ยนตำบลท่าเกดเป็นตำบลคลองน้ำใสจนถึงปัจจุบัน คนรุ่นเก่ายังคงเหลืออยู่แต่นายสินจำปา หรือนายสิบสาลี ได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านห้วยใสในเป็นบ้านคลองน้ำใสจนตราบเท่าทุกวันนี้ เป็นคนต้นตระกูลพลอยมาลี(องค์การบริการส่วนตำบลคลองน้ำใส, 2562)
ในปี พ.ศ. 2518 ประเทศกัมพูชาได้เกิดแตกแยกเป็นหลายฝ่ายได้มีทหารกลุ่มหนึ่งซึ่งมียศเป็นนายพล ชื่อนายพลอินตำ ได้มาตั้งกองกำลังพลอยู่ตรงข้ามบ้านใหม่ปากฮ่อง ได้ให้ทหารช่วยกันทำนาเพราะพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ทำนาของพี่น้องบ้านใหม่และบ้านแสนสุขมาก่อนเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การทำนาเป็นอย่างดี ในช่วงนั้นยังไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ในช่วงต่อมาได้มีเขมรอีกกลุ่มหนึ่ง เรียกตนเองว่าเขมรแดงได้มาขับไล่เขมรกลุ่มของนายพลอินตำจนแตกกระเจิงไป เมื่อปี พ.ศ. 2519 เขมรแดงได้เริ่มออกทำการก่อกวนตามแนวชายแดนได้ทำลายทำนบเหมืองฝายตามแนวเขตแดน ตั้งแต่บ้านหนองปรือจนถึงบ้านใหม่ปากฮ่องรวม 8, 9 แห่งแล้วเริ่มตรวจตราตามแนวชายแดนอย่างเคร่งคัดได้จับคนไทยที่เข้าไปทำมาหากินฝั่งโน้นหลายคน บางคนก็ถูกตัดหัวไป บางคนก็หายสาบสูญไปเหตุการณ์ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวันเข้ามาปล้นสะดมชาวบ้านตามแนวชายแดน กลางคืนลักลอบเข้ามาปล้นทรัพย์สินและฆ่าเจ้าของแม้แต่เด็กเล็กผู้เฒ่าผู้ชราและผู้หญิงมีครรภ์ก็ไม่เว้น หมู่บ้านตามแนวชายแดนได้จัดฝึกอบรมอาสาพัฒนาตนเอง และไทยอาสาป้องกันชาติขึ้นจัดตั้งเป็นศูนย์อำนวยการจดเวรยามเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดจัดเวร ๆ ละ 1 วัน เริ่มแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์วันละไม่น้อยกว่า 15 คน เป็นประจำ ได้รับการสนับสนุนอาวุธปืนลุกซองจากทางอำเภอ และปส.บปลย.ป. จากทางหน่วยทหาร เหตุการณ์ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเขมรแดงได้เข้ามาเผาบ้าน โรงเรียน สถานีตำรวจทำลายวัดวาอาราม สถานีอนามัย (องค์การบริการส่วนตำบลคลองน้ำใส, 2562)
ในช่วงต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2520 เขมรแดงได้ใช้ปืนใหญ่ยิงถล่มหมู่บ้านตามแนวชายแดนหนักขึ้นทุกวันทั้งกลางวันและกลางคืน จะมีเครื่องบินไทยและเครื่องบินเขมรขึ้นบินตรวจการณ์อยู่ทุกคน บางครั้งก็มีการต่อสู้กันทางภาคพื้นดินและทางภาคอากาศ โดยใช้เครื่องยิงถล่มกันตามแนวชายแดนจนเป็นเหตุทำให้ไทยเราต้องสูญเสียเครื่องบินไป 1 ลำ เป็นเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดตกที่ฝั่งเขมร เป็นเครื่องบิน โอ วี 10 และที่วัดเขาน้อยยังถูกทิ้งระเบิดขนาด 500 ปอนด์ อีก 2 ลูก ทางวัดเขาน้อยได้รับความเสียหายโดยเฉพาะศาลาการเปรียญต้องซ่อมใหม่ทั้งหลังและกุฏิอีก 1 หลัง ได้รับความเสียหายส่วนประชาชนที่อพยพมาอาศัยอยู่ที่วัดเขาน้อย คือบ้านผักกาดฮอง และบ้านสลองคอง พร้อมทั้งนักเรียนบ้านผักกาดฮองไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด หมู่บ้านน้ำใสจึงเป็น เหตุบ้านแตก สาแหลกขาดได้อพยพออกไปปลูกกระต๊อบอาศัยอยู่ตามไร่นาป่าสวน ทางราชการเห็นว่าไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินจึงได้จัดที่อยู่อาศัยให้ครอบครัวละ 2 งาน ที่โคกด่านทุกวันนี้ซึ่งเป็นที่สงวนไว้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ของหมู่บ้าน วัด โรงเรียน สถานีอนามัย ก็ได้ย้ายออกมาเป็นลำดับมา อยู่กันนานหลายปีเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นจึงขอแยกหมู่บ้านเป็นหมู่ที่ 15 ต่อมาได้ขอแยกตำบลคลองน้ำใส ออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลคลองน้ำใส ตำบลผ่านศึก ได้เรียบลำดับหมู่บ้านใหม่ของตำบลคลองน้ำใส หมู่ที่ 15 เป็นหมู่ที่ 1 ต่อมาได้ขอแยกหมู่บ้านอีกเพื่อสะดวกในการปกครอง เป็นหมู่ที่ 9 บ้านทุ่งรวงทอง และต่อมาได้สำรวจประชากรของหมู่ที่ 1 มีจำนวนมาก ได้แยกหมู่บ้านจากหมู่ที่ 1 ออกมาอีก คือ หมู่ที่ 11 บ้านศรีวิไล ปัจจุบัน มี 12 หมู่บ้านจนทุกวันนี้
ที่ตั้งของตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำใส ติดชายแดนไทย – กัมพูชา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภออรัญประเทศ ระยะห่างจากอำเภออรัญประเทศประมาณ 14 กิโลเมตร
ทิศเหนือติดกับองค์การบริหารส่วนตำบลฟากห้วยและองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม
ทิศใต้ติดกับประเทศสาธารณรัฐกัมพูชา
ทิศตะวันออกติดกับองค์การบริการส่วนตำบลท่าข้ามและประเทศสาธารณรัฐกัมพูชา
ทิศตะวันตกติดกับองค์การบริหารส่วนตำบลผ่านศึกและประเทศสาธารณรัฐกัมพูชา

ประวัติหมู่ที่ 6 บ้าน อพป.คลองน้ำใส ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว
ในอดีตบ้านอพป.คลองน้ำใส เดิมหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองน้ำใส อพยพมาจากเมืองเวียงจันทร์หลวงพระบางประชาชนเป็นคนไทยน้อย อพยพมาทำกินเดินทางมากับทับหลวงมาทางใต้ประชาชนกลุ่มนี้ได้อพยพมาพร้อมกันหลายกลุ่ม มีกลุ่มไทยใหญ่ ไทยน้อย อพยพมาพร้อมพระแก้วพระบาง มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่หลายแห่ง และล่นถอยมาเรื่อยๆ จนถึงฝั่งตะวันออกคลองน้ำใสไทยเดิม เรียกว่าห้วยใส เพราะว่าน้ำในคลองนี้ไหลมาจากภูเขาท้องน้ำจึงใสไหลเย็นสามารถมองเห็นตัวปูปลาเหตุผลในการเลือกหมู่บ้าน การเริ่มต้น ลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการขยายตัวของหมู่บ้านชุมชนบ้าน อพป.คลองน้ำใสเป็นชุมชนที่อพยพมาจากประเทศลาวเมืองเวียนจันทร์อพยพมาทำกินเดินทางมากับทับหลวงมาทางใต้และได้อพยพมาจากหมู่บ้านเก่าคือบ้านทุ่งรวงทองงาน เดิมเป็นชาวไทยญ้อ มีการตั้งรกรากอยู่ติดชายแดนกัมพูชา โดยมีลำคลองเล็กๆ กั้นเขตแดนระหว่างกัมพูชามีภัยสงครามของประเทศกัมพูชาในปี พ.ศ. 2518 ซึ่งมาจากหลายหมู่บ้าน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2522-2552 โดยหน่วย นปก. จังหวัดได้มาจัดสถานที่หมู่บ้าน อพป.ขึ้นจัดสรรที่ดินให้คนละ 2 งาน จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1) การเกษตร
ประชากรในตำบลคลองน้ำใส ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่
ทำนา ถือเป็นผลผลิตที่สำคัญและมีชื่อเสียง
ทำไร่ พื้นที่ทำไร่ที่ปลูกมาเป็นอันดับหนึ่ง คือ ข้าวโพด,อ้อย,มันสำปะหลัง,มะละกอ
ทำสวน ประเภทที่ปลูกคือ มะพร้าว, มะม่วง, กล้วย, ขนุน, ส้มโอ, มะขามหวาน, ลำไย
2) การประมง
ตำบลคลองน้ำใสไม่มีการทำประมงเป็นการจับปลาตามธรรมชาติในบริโภคในครัวเรือนตามฤดูกาลเท่านั้น
3) การปศุสัตว์
การประกอบการในลักษณะการเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด, โค, กระบือ สุกร
4) การบริการ
- โรงแรมหรือรีสอร์ท จำนวน 1 แห่ง
- หอพักหรืออพาร์ทเม้นท์ จำนวน 3 แห่ง
5) การท่องเที่ยว
- มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 1 แห่ง คือ ปราสาทเขาน้อยสีชมพู
6) อุตสาหกรรม
- โรงงานอุตสาหกรรม ประเภทตัดเย็บเสื้อผ้า จำนวน 1 แห่ง
- โรงงานในครัวเรือน ประเภททำไม้เสียบลูกชิ้น จำนวน 1 แห่ง
7) การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
- สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 3 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ จำนวน 5 แห่ง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
1.จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้มีการจัดกิจกรรมปฏิบัติการจัดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและศึกษาประเด็นการเรียนรู้ประสบการณ์จริงในพื้นที่เพื่อหาแนวทางยกระดับคุณภาพชีวิตตามประเด็นความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ดังนั้นการแก้ปัญหาความยากจนให้บรรลุเป้าหมายต้องพัฒนาคนที่ยากจนก่อนให้มีอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้ ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงจัดให้มีโครงการเพื่อดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างเร่งด่วน จากปัญหาที่พบทีมอาจารย์ที่ลงพื้นที่แก้ปัญหาความยากจนร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน
2.รายได้ไม่มี ต้นทุนไม่มี จึงนำมาใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมาย
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
แก้ปัญหาด้วยการสร้างอาชีพเลี้ยงไก่ไข่และการเลี้ยงกบ ดังนั้นทีมอาจารย์ที่ลงพื้นที่จึงนำข้อมูลดังกล่าวมาวางแผนในการแก้ปัญหาความยากจนด้วยการสร้างอาชีพให้กับชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ และการเลี้ยงกบ และการตลาด

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560 ถึง ปี 2579 โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตรมาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในชุมชนหมู่ที่6อพป.บ้านคลองน้ำใส ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พบว่า สภาพปัญหาที่ทั่วไปผู้นำชุมชนขาดความเข้มแข็งส่งผลให้สมาชิกในหมู่บ้านขาดความสามัคคี แบ่งเป็นหลายกลุ่มขาดความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมของชุมชน รวมไปถึงปัญหายาเสพติด การพนัน และชุมชนกลุ่มครัวเรือนเป้าหมายมีทักษะความรู้เดิมและกลุ่มเป้าหมายมีประสบการณ์มีสถานที่พร้อม บ่อกบ พื้นที่สำหรับเลี้ยงไก่ในการเลี้ยงไก่ไข่และกบเป็นทุนเดิมแต่ขาดทุนทรัพย์ในการซื้อพันธุ์ไก่ไข่ และพันธุ์กบขาดความรู้ในการประกอบการและขาดเครื่องมือ อุปกรณ์ในการประกอบการบางครัวเรือนมีแต่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม ดังนั้นคณะอาจารย์ที่ลงพื้นที่แก้ปัญหาความยากจนได้สำรวจความต้องการและประชุมปฏิบัติการร่วมกับชุมชนและผู้นำชุมชน และชุมชน
ครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 6ครัวเรือนมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีการเลี้ยงไก่ไข่จำนวน 4ครัวเรือนและเลี้ยงกบจำนวน 2ครัวเรือน
ดังนั้น วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์จึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กบยิ้ม
  • กลุ่มเลี้ยงกบ
  • กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่
  • ไก่แย้ม
  • จังหวัดสระแก้ว
  • ตำบลคลองน้ำใส
  • บ้าน อพป.คลองน้ำใส
  • เลี้ยงกบ
  • เลี้ยงไก่
  • หมู่ที่ 6
  • อำเภออรัญประเทศ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563 10:50 น.