การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หมู่ที่ 6 บ้านทับพริก ต.ทับพริก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว

การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หมู่ที่ 6 บ้านทับพริก ต.ทับพริก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หมู่ที่ 6 บ้านทับพริก ต.ทับพริก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 6 บ้านทับพริก ต.ทับพริก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.ประภาพร ชุลีลัง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
สระแก้ว place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา
เริ่มจากมีบริษัทเอกชนได้รับสัมปทานทำไม้และมีลูกจ้างมาตั้งทับเพื่อทำการตัดไม้และมีการปลูกพริกไว้กินเป็นจำนวนมาก ต่อมามีชาวบ้านตำบลคลองน้ำใสเข้าบุกเบิกพื้นที่ทำกิน และต่อมาก็เริ่มมีชาวบ้านทั้งในอำเภอและนอกอำเภอเข้ามาบุกเบิกพื้นที่ทำกินจนได้มีตั้งหมู่บ้านชื่อบ้านทับพริก และต่อมาได้แยกจากตำบลคลองน้ำใสเป็นตำบลทับพริกจนถึงปัจจุบัน

พื้นที่
ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มบ้านตามแนวถนนสายอรัญประเทศถึงคลองหาด
มีหมู่บ้านทั้งหมด 7 หมู่บ้าน พื้นที่เป็นที่ราบสลับเนินสูง ดินร่วนเป็นสีดำและติดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา

เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ อบต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
ทิศใต้ ติดกับ อบต.คลองหาด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
ทิศตะวันออก ติดกับ ประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.เบญจขร อ.คลองหาด จ.สระแก้ว

อาชีพ
ทำการเกษตรพืชไร่/พืชสวน และเลี้ยงสัตว์

สาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,150 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100.00 จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 850 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 70.00 ของจำนวนหลังคาเรือน

การเดินทาง
เดินทางจากที่ว่าการอำเภออรัญประเทศโดยใช้เส้นทางถนนสายอรัญประเทศถึงคลองหาด ระยะทางประมาณ 40 กม.

ผลิตภัณฑ์
ผักปลอดสารพิษและหน่อไม้ฝรั่งและแพะ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1.ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่เป็นอาชีพหลัก รองลงมาคือ รับจ้างและค้าขาย
2.มีปราชญ์ชุมชน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
1.ขาดความรู้ทักษะด้านการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์
2.ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมี ทางการเกษตร
3.มีผลิตภัณฑ์ของชุมชน (มะม่วงแก้วขมิ้นปลอดสาร)
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
จากการลงพื้นที่สำรวจบริบทชุมชน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อสรุปประเด็นปัญหาและนำเสนอ กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกับชุมชน.ในการดำเนินโครงการระยะที่ 1 ทำให้ได้ กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา จำนวน 10 ราย และจากการสอบถามถึงความประสงค์ที่จะรับการพัฒนา พบว่า เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงต้องการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมี ทางการเกษตร ประกอบกับในชุมชนมีวิสาหกิจชุมชนซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมและรับซื้อปุ๋ยอินทรีย์เพื่อ บรรจุหีบห่อจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของวิสาหกิจชุมชน ดังนั้น ปุ๋ยอินทรีย์ที่เหลือจากการ ใช้ในครัวเรือน สามารถนำมาจำหน่ายให้กับวิสาหกิจชุมชนเป็นการสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้อีก ช่องทางหนึ่ง กลุ่มเป้าหมายจึงมีความประสงค์ที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การออกแบบ และทำตราสินค้า

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560 ถึง ปี 2579 โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคำนึงถึง สิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรม นาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำาเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของ ประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนา โภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชน และประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ทรงมี พระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำาริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชา ประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลัง ปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่ คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพ มาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไข ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญ ในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในบ้านทับพริก หมู่ที่ 6 ตำบลทับพริก อำเภออรัญ ประเทศ จังหวัดสระแก้ว พบว่า สมาชิกในชุมชนมีความต้องการเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ประกอบ กับในพื้นที่ตำบลทับพริกมีวิสาหกิจเกษตรแบบผสมผสานเป็นผู้รวบรวมผลผลิตปุ๋ยอินทรีย์และบรรจุ หีบห่อเพื่อจัดจำหน่ายเป็นสินค้าชุมชน ภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน แต่ในปัจจุบันปริมาณปุ๋ยที่ ผลิตได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และชุมชน ครัวเรือนเป้าหมายมีความเห็นพ้อง ร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีการเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ รวมทั้งความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม เนื่องจาก สามารถหาวัตถุดิบคือมูลโคนมได้จากกลุ่มผู้เลี้ยงโคและแพะในชุมชน มีแหล่งรับซื้อผลผลิตซึ่งเป็น วิสาหกิจเกษตรตั้งอยู่ในชุมชน และผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์จากการเลี้ยงไส้เดือนเป็นที่ต้องการของตลาด นอกจากนี้ในการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์จากการเลี้ยงไส้เดือนให้กับวิสาหกิจชุมชนตำบลทับพริกยัง สามารถเพิ่มมูลค่าของมูลโคนมจาก 1.7 บาท เป็น 10 - 15 บาท ต่อกิโลกรัม
ดังนั้นวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชน ท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชน สามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริม เศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การผลิตปุ๋ยอินทรีย์
  • การเลี้ยงไส้เดือน
  • จ.สระแก้ว
  • ต.ทับพริก
  • บ้านทับพริก
  • หมู่ที่ 6
  • อ.อรัญประเทศ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563 09:45 น.