ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรท้องถิ่น (ยาหม่องไพล และนํ้ามันไพล) หมู่ที่ 6 บ้านใหม่ไทยพัฒนา ต.หนองตะเคียนบอน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรท้องถิ่น (ยาหม่องไพล และนํ้ามันไพล) หมู่ที่ 6 บ้านใหม่ไทยพัฒนา ต.หนองตะเคียนบอน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรท้องถิ่น (ยาหม่องไพล และนํ้ามันไพล) หมู่ที่ 6 บ้านใหม่ไทยพัฒนา ต.หนองตะเคียนบอน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม คณะสาธารณสุขศาสตร์
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 6 บ้านใหม่ไทยพัฒนา ต.หนองตะเคียนบอน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ธธิธา เวียงปฏิ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
สระแก้ว วัฒนานคร หนองตะเคียนบอน place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านใหม่ไทยพัฒนามีชื่อเดิมว่า “หนองหมอบ” เริ่มมีคนตั้งบ้านเรือนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 โดย
มีคนกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่ คือ นายอยู่ฝา อนงค์เวท เป็นผู้บุกเบิกคนแรก ต่อมาจึงมีประชาชนมาอพยพ
เข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่อพยพเข้ามาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด เช่น
นครราชสีมา อุบลราชะนี มหาสารคาม เป็นต้น ซึ่งได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยมี
นายดาว บุญคุณ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกและเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น “บ้านใหม่ไทยพัฒนา” จนกระทั่ง
ปัจจุบัน โดยมีนายอนุชา ทุมสุขเป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
สถานภาพทั่วไปของหมู่บ้ำน
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเชิงเขามีเนื้อที่ทั้งหมด 4,080 ไร่ สามารถแยกได้เป็นพื้นที่โฉนด
จำนวน 280 ไร่ พื้นที่ สปก. จำนวน 3,100 ไร่ พื้นที่ น.ส.3 จำนวน 575 ไร่ พื้นที่สาธารณะประโยชน์
จำนวน 65 ไร่ พื้นที่ราชพัสดุ จำนวน 60 ไร่
ทิศเหนือ เป็นที่ราบลุ่มเหมาะสมกับการทำอาชีพด้านการเกษตรกรรม
ทิศตะวันออก เป็นพื้นที่ลุ่มลาดเอียงเหมาะสำหรับการทำอาชีพเกษตรกรรม
ทิศใต้ เป็นพื้นที่ลุ่มดอนเหมาะสมกับการปลูกพืชไร่ ไม้เศรษฐกิจ เช่น ยางพารา
ทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ลาดเอียงสลับกับป่าไม้ธรรมชาติและมีลักษณะเป็นสันปันนํ้า สภาพดิน
เป็นดินร่วนปนทราย
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1. มีผู้นำและแกนนำของหมู่บ้านที่เข้มแข็ง
2. มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง
3. ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของชุมชน
4. มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกองทุนหมู่บ้าน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
- เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกไม้ยูคาลิปตัสซึ่งทำให้สมดุลของ
ธาตุอาหารพืชในดินเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง และความ
หลากหลายของสิ่งมีชีวิตหน้าดินก็มีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้
คุณภาพดินและสิ่งแวดล้อมเสื่อมคุณภาพ
- ชุมชนยังขาดผลิตภัณฑ์ทางด้านสมุนไพรและสุขภาพ ซึ่ง
ในชุมมีบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร แต่ไม่
สามารถต่อยอดความรู้นั้นได้ จึงต้องการให้ช่วยในการ
รวบรวมความรู้ทางด้านพืชสมุนไพรและทำผลิตภัณฑ์จาก
พืชในท้องถิ่นเพื่อจัดจำหน่าย
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
จากการประชาคมพบว่า มีความต้องรวบรวมข้อมูล
ทางด้านสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่สามารถสร้าง
รายได้ให้กับชุมชน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้เรื่องการแปรรูปจากสมุนไพรท้องถิ่น (ยาหม่องไพล และนํ้ามันไพล)

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผน
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560
ถึง ปี 2579 โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดย
คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลย
เดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับ
รายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร
พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของ
ประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่
10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือ
ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชา
ประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ
พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลัง
ปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎ
สู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพ
มาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3
การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไข
ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญ
ในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในหมู่ 6 บ้านใหม่ไทยพัฒนา ตำบลหนองตะเคียน
บอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว พบว่า ชาวบ้านในชุมชนต้องการอนุรักษ์สมุนไพรท้องถิ่น และ
ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรท้องถิ่น และชุมชน ครัวเรือนเป้าหมายมีความเห็นพ้องร่วมกันที่
จะต้องจัดให้มีการจัดทำบัญชีสมุนไพรท้องถิ่น และและเรียนรู้เรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
ท้องถิ่น เช่น นํ้ามันไพล และยาหม่องสมุนไพร เป็นต้น เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
ดังนั้น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์
จึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น
เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถ
บริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำพรงชีวิตตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานราก
ในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่าง
ยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การแปรรูปสมุนไพร
  • จ.สระแก้ว
  • ต.หนองตะเคียนบอน
  • ท้องถิ่น
  • นํ้ามันไพล
  • บ้านใหม่ไทยพัฒนา
  • แปรรูป
  • ยาหม่องไพล
  • สมุนไพร
  • หมู่ที่ 6
  • อ.วัฒนานคร

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 12:06 น.