การพัฒนาผลิตภัณฑ์นํ้าพริก ปลาย่างร่มควันและปลาส้ม หมู่ที่ 3 บ้านห้วยชัน ต.ช่องกุ่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

การพัฒนาผลิตภัณฑ์นํ้าพริก ปลาย่างร่มควันและปลาส้ม หมู่ที่ 3 บ้านห้วยชัน ต.ช่องกุ่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์นํ้าพริก ปลาย่างร่มควันและปลาส้ม หมู่ที่ 3 บ้านห้วยชัน ต.ช่องกุ่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านห้วยชัน ต.ช่องกุ่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์พรรณี พิมพ์โพธิ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว เลขที่ 1177 หมู่2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สระแก้ว วัฒนานคร ช่องกุ่ม place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านห้วยชัน หมู่ 3 ตำบลช่องกุ่ม อ าเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว แต่เดิมก่อนที่จะมีการ
ก่อตั้งหมู่บ้านราวปี พ.ศ.2515 ได้มีครอบครัวย้ายถิ่นฐานมาจากตำบลช่องกุ่ม มาทำการแผ้วถางและ
ประกอบอาชีพทางการเกษตรเริ่มต้นจาก 7 หลังคาเรือน โดยมีพ่อดี นิลพรมมา เป็นผู้นำ ต่อมาในปี
พ.ศ.2519 มีการสร้างอ่างเก็บนํ้าขึ้น ในขณะนั้นเพื่อให้ประชาชนได้ใช้นํ้าในการอุปโภค บริโภค ห้วย
ชัน เกิดจากคลองในสมัยก่อนที่จะมีการสร้างอ่างเก็บนํ้า มีลักษณะสูงชัน ทำให้การเดินทางข้ามคลอง
มีความยากลำบาก ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองจึงเรียกคลองสายนี้ว่า ห้วยชัน และได้นำชื่อคลองนี้
มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและเรียกจนมาถึงปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 มีการก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นอย่างเป็นทางการภายใต้การดำเนินการของ
เจ้าหน้าที่ป่าไม้และเจ้าหน้าที่ทหารโดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายลอย ทองย้อย ดำรงตำแหน่ง
จนถึงปี พ.ศ.2535 ภายหลังมีการประกาศก่อตั้งหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริอย่างเป็นทางการ และ
ได้มีการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรครอบครัวละ 14 ไร่ เพื่อใช้ประกอบอาชีพพร้อมที่อาศัย 1 ไร่
จึงได้มีการอพยพเข้ามาของประชาชนจากพื้นที่ต่าง ๆ ในภายหลังเป็นจำนวนมาก
พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านห้วยชัน เป็นพื้นที่ลาดเชิงเขา ลักษณะดินเป็นดินทราย มีป่า
เบญจพรรณ ป่าเขา มีอ่างเก็บนํ้่าห้วยชันในหมู่บ้าน ในขณะนั้นเพื่อให้ประชาชนได้ใช้นํ้าในการ
อุปโภค บริโภค ห้วยชัน เกิดจากคลองในสมัยก่อนที่จะมีการสร้างอ่างเก็บน้ าห้วยชัน มีลักษณะสูงชัน
ทำให้การเดินทางข้ามคลองมีความยากลำบาก ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองจึงเรียกคลองสายนี้ว่าห้วย
ชัน
จำนวนครัวเรือน จานวนประชากร เพศ อายุ
บ้านห้วยชัน หมู่ 3 ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว มีข้อมูลประชากร ณ
วันที่ทำการสำรวจ ดังนี้
มีครัวเรือนทั้งหมด 346 ครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริง 286 ครัวเรือน
มีประชากรที่อยู่อาศัยจริง 1,251 คน
เพศชาย 686 คน
เพศหญิง 565 คน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1. มีแหล่งนํ้าขนาดใหญ่ อ่างเก็บนํ้าพระปรง และอ่างเก็บนํ้าห้วยชัน ทำให้ชุมชนสามารถทำ
นาได้ปีละ 2 ครั้ง
2. พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตร
3. ผู้นำชุมชนมีความซื่อสัตย์ มีความจริงจังในการทำงาน เป็นที่ยึดเหนี่ยวของลูกบ้านได้เป็น
อย่างดี
4. มีการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนจากภาคครัวเรือนเป็นอย่างดี การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ใน
สังคมชาวบ้าน จะอาศัยและพึ่งพากัน มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ทำให้การดำเนินงานเป็นไป
อย่างต่อเนื่อง
5. นโยบายชุมชน เนื่องจากการปฏิบัติงานทุกครั้งผู้นาจะมีการประชุมสมาชิกเพื่อกำหนด
นโยบาย กำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อให้การทำงานดำเนินไปอย่างเป็นขั้นตอน และมีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น
ข้อมูลประเด็นปัญหา
จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าส่วนนี้ทำให้เห็นข้อบกพร่องบางอย่างของชุมชน ซึ่งจะส่งผล
กระทบต่อการดำเนินกิจกรรมในส่วนของชุมชนๆ ได้
1. ผู้สูงอายุในหมู่บ้านส่วนใหญ่ขาดรายได้ต้องยังชีพด้วยตนเอง
2. ในชุมชนขาดแหล่งที่ใช้สำหรับกำจัดขยะ
3. เนื่องจากเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ชาวบ้านบางส่วนยังขาดความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้าน
หรือการขาดการมีส่วนร่วม
4. การโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกล ระบบเครือข่ายโทรศัพท์ยังมีสัญญาณไม่
เพียงพอในการติดต่อสื่อสารในบางพื้นที่ส่งผลให้เกิดปัญหาในการด้านการติดต่อสื่อสาร
5. ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายจะขายตามบ้านในชุมชน ยังไม่กลุ่มวิสาหกิจ
ชุมชน หรือการสร้างตราสินค้าให้เกิดการยอมรับ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
อยากมีผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายจะขายตามบ้านในชุมชน หรือการสร้างตราสินค้าให้เกิดการยอมรับ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้เรื่องการแปรรูปอาหาร การพัฒนาฉลากสินค้าผลิตภัณฑ์นํ้าพริก ปลาย่างร่มควันและปลาส้ม

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผน
ยุทธศาสตร์ชาติ20 ปีของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์20 ปีระหว่างปี2560
ถึง ปี2579 โดยน้อมน าเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดย
คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช
บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้
ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนา
โภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชน
และประเทศชาติซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ก็ทรงมี
พระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการ ในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชา
ประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ.
2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญา
ของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพ
เป็นเลิศโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิต
ของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางาน
พันธกิจสัมพันธ์และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด าริโดยมีกลยุทธ์ในการสร้าง
เครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและ
เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และ
ท้องถิ่น มีกลไก สนับสนุนการปฏิบัติพันธกิจแบบบูรณาการเพื่อท้องถิ่นตอบสนองต่อนโยบายของ
มหาวิทยาลัยซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาการบริการวิชาการ การเรียนการสอน และการวิจัย โดยมี
กระบวนการ/วิธีการ มีนโยบายสนับสนุน มีองค์ความรู้มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชน
และสังคม ซึ่งเป็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการที่จะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม ทำ
หน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน โดยการ
ออกแบบการทำงานเพื่อสร้างกลไกเชิงระบบที่เชื่อมงานประกันคุณภาพองค์กรกับการพัฒนาพื้นที่
เพื่อให้มีการสานพลังจากทุกคณะร่วมกับองค์กรภาคีมีการยกระดับคุณภาพงานวิชาการเพื่อรับใช้
สังคม และเกิดการพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพงานวิชาการเพื่อสังคม
สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ จึงได้กำหนดแนวทางการทำงานที่มุ่งเน้นการ
ทำงานบริการวิชาการรับใช้สังคม โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน ประสานงาน และดำเนินโครงการ
ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านงานบริการวิชาการ โดยในปี2561 นี้
มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพ
ชีวิตของประชาชนจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว โดยความร่วมมือกันของทุกหน่วยงานใน
มหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีจานวน 27 หมู่บ้าน พื้นที่จังหวัดสระแก้ว 25
หมู่บ้าน การดำเนินงานในระยะแรกเป็นการสำรวจข้อมูลชุมชน เพื่อให้ได้มาซึ่งสภาพปัญหาที่แท้จริง
ของชุมชนและสิ่งที่ชุมชนต้องการรับการพัฒนา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาของชุมชนได้ตรงจุดน าไปสู่
การแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ จึงจัดทำโครงการ
สร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชน
ท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิต
ตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ
เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชน
หมู่บ้าน มีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว จึงได้จัดทำ
โครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้
ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการ
ชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน
ให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • จ.สระแก้ว
  • ต.ช่องกุ่ม
  • นํ้าพริก
  • บ้านห้วยชัน
  • ปลาย่างร่มควัน
  • ปลาส้ม
  • หมู่ที่ 3
  • อ.วัฒนานคร

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 11:20 น.