ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร หมู่ที่ 3 บ้านไร่สามสี ต.วังสมบูรณ์ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว
ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร หมู่ที่ 3 บ้านไร่สามสี ต.วังสมบูรณ์ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว
ข้อมูลโครงการ
ชื่อนวัตกรรม | ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร หมู่ที่ 3 บ้านไร่สามสี ต.วังสมบูรณ์ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
หน่วยงานหลัก | สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ |
หน่วยงานร่วม | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
ชื่อชุมชน | หมู่ที่ 3 บ้านไร่สามสี ต.วังสมบูรณ์ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์พัชรินทร์ ร่มโพธิ์ชื่น |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180 |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | - |
การติดต่อ | 029093026 |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
สระแก้ว | วังสมบูรณ์ | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติหมู่บ้านหมู่ 3 บ้านไร่สามสี เริ่มแรกเป็นชุนชนย้ายถิ่นฐานที่อยู่อาศัยมาจาก 3 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดลพบุรี และจังหวัดนครสวรรค์ โดยการแบ่งพื้นที่ทำกินโดยใช้ “ผ้าสามสี” ในการแบ่งเขต (โสภิศ สิหะสุทธิ, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2561) และมีเรื่องเล่าขานต่อกันมาเกี่ยวกับความเชื่อของ "แสงลูกแก้ว" พื้นที่ตำบลบ้านไร่สามสี อยู่ในพื้นที่การปกครองของเทศบาลตำบลวังสมบรูณ์ คำขวัญประจำหมู่ 3 บ้านไร่สามสี “วัดเขาลานลือเลื่อง เมืองหมอกงามแสน นกยูงรำแพนลือไกล สมุนไพรน้ำมันว่าน”
พื้นที่เขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดบ้านคลองยายอิง และอ่างเก็บน้ำเขาสถึง
ทิศใต้ ติดบ้านสอยดาว
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านคลองหาด
ทิศตะวันตก ติดกับตำบลวังทอง และพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1.ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง2.ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี ขยันหมั่นเพียร
3.มีกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ที่เข้มแข็ง
4.มีแหล่งเงินทุนในหมู่บ้าน
5.มีพื้นที่เหมาะสำหรับที่ทำการเกษตร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การหารายได้เสริมให้กับครอบครัวและชุมชนข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ชาวบ้านสนใจที่จะเสริมสร้างรายได้ให้กับตนเอง ทั้งนี้ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันพิจารณาถึงอาชีพเสริม ซึ่งก็คือการทำลูกประคบสมุนไพร เนื่องจากชาวบ้านในกลุ่มมีการปลูกสมุนไพรในพื้นที่บ้านของตนเองอยู่แล้ว และประกอบกับพอมีความรู้เรื่องสรรพคุณของสมุนไพรมาบ้าง ดังนั้นในที่ประชุมจึงได้ร่วมกันตกลงที่จะทำลูกประคบสมุนไพร เพื่อเป็นการสร้างรายได้และลดรายจ่ายให้กับตนประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๗ ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น มีกลไกสนับสนุนการปฏิบัติพันธกิจแบบบูรณาการเพื่อท้องถิ่นตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาบริการวิชาการ การเรียนการสอน และการวิจัย โดยมีกระบวนการ/วิธีการ มีนโยบายสนับสนุน มีองค์ความรู้ มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการที่จะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยการออกแบบการทำงานเพื่อสร้างกลไกเชิงระบบที่เชื่อมงานประกันคุณภาพองค์กรกับการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้มีการสานพลังจากทุกคณะร่วมกับองค์กรภาคี มีการยกระดับคุณภาพงานวิชาการเพื่อรับใช้สังคมและเกิดการพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพงานวิชาการเพื่อสังคม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงได้กำหนดแนวทางการทำงานที่มุ่งเน้นการทำงานบริการวิชาการรับใช้สังคม โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน ประสานงาน และดำเนินโครงการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านงานบริการวิชาการ โดยในปี 2561 นี้ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว โดยความร่วมมือกันของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 27 หมู่บ้าน พื้นที่จังหวัดสระแก้ว 25 หมู่บ้าน ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จำนวน 1 หมู่บ้าน การดำเนินงานในระยะแรกเป็นการสำรวจข้อมูลชุมชน เพื่อให้ได้มาซึ่งสภาพปัญหาที่แท้จริงของชุมชนและสิ่งที่ชุมชนต้องการรับการพัฒนา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาของชุมชนได้ตรงจุดนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- จ.สระแก้ว
- ต.วังสมบูรณ์
- บ้านไร่สามสี
- ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร
- หมู่ที่ 3
- อ.วังสมบูรณ์
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ