การแปรรูปผ้าย้อมสีจากธรรมชาติ หมู่ที่ 3 บ้านวังยาว ต.คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
การแปรรูปผ้าย้อมสีจากธรรมชาติ หมู่ที่ 3 บ้านวังยาว ต.คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
ข้อมูลโครงการ
ชื่อนวัตกรรม | การแปรรูปผ้าย้อมสีจากธรรมชาติ หมู่ที่ 3 บ้านวังยาว ต.คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
หน่วยงานหลัก | สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ |
หน่วยงานร่วม | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว |
ชื่อชุมชน | หมู่ 3 วังยาว ต.คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์วุฒิวัฒน์ อนันต์พุฒิเมธ |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว เลขที่ 1177 หมู่2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | - |
การติดต่อ | 029093026 |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
สระแก้ว | วังน้ำเย็น | คลองหินปูน | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา (การเปลี่ยนแปลงและทิศทางของหมู่บ้าน)ในปี พ.ศ.2510 มีการอพยพจากครอบครัวใหญ่นำโดยครอบครัวพ่ออ้วน ยาวศิริ ครอบครัวพ่อสี เทียมรันย์ และครอบครัวพ่อพา โสภา ได้ย้ายถิ่นฐานการทำมาหากินจากอำเภอเกษตร จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อมาจับจองที่ดินทำกินบริเวณนี้ เป็นที่ทำมาหากิน ซึ่งขณะนั้นเป็นพื้นที่ป่าไม้ ต่อมาเริ่มมีครอบครัวอื่นๆได้ตามเข้ามาจับจองที่ดินทำกินและย้ายถิ่นฐานตามมาด้วยเช่นกัน จึงก่อเกิดกลุ่มประชากรและขยับขยายกลายเป็นหมู่บ้าน ซึ่งขณะนั้นเรียกกลุ่มหมู่บ้านกันว่า “วังยาว” มาจากชื่อคลองน้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านเรียกว่า คลองวังยาว ซึ่งช่วงนั้นอยู่ในเขตการปกครองของบ้านคลองหินปูน หมู่ที่ 2 ตำบลเขาฉกรรจน์ อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ.2524 หมู่บ้านค่ายเจริญ แยกเขตการปกครองจากบ้านคลองหินปูน หมู่ที่ 2 ตำบล วังน้ำเย็น จัดตั้งเป็นหมู่บ้าน เป็นหมู่ที่ 13 ตำบลวังน้ำเย็น กลุ่มบ้านวังยาว ก็ย้ายเข้ามาอยู่ในเขตการปกครองของบ้านค่ายเจริญ ในปีถัดมา พ.ศ.2525 แยกเขตการปกครองออกจากบ้านค่ายเจริญ จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ ชื่อบ้านวังยาว หมู่ที่ 15 ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน คือ นายด้วง ยมนัตถ์
อย่างไรก็ตาม ในปีพ.ศ.2527 ตำบลคลองหินปูน แยกเขตการปกครองออกจากตำบลวังน้ำเย็น หมู่บ้านวังยาวจึงต้องย้ายเข้ามาอยู่ในเขตปกครองของตำบลคลองหินปูน เป็นหมู่ 3 ตำบลคลองหินปูน จนถึงทุกวันนี้
ด้วยที่ตั้งของหมู่บ้านวังยาวทิศทางหลักนั้นจะอยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอวังน้ำเย็น ระยะห่างประมาณ 14 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่ราบจะใช้ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวย ลักษณะภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านนั้น ทางด้านทิศเหนือจะติดกับ หมู่ 2 ทิศใต้ติดกับ หมู่ 7 ทิศตะวันออก ติดกับหมู่ 4 และทิศตะวันตก หมู่ 1
จำนวนครัวเรือนและประชากร จำนวน 190 หลังคาเรือน แยกเป็น 202 ครัวเรือน จำนวนประชากร 748 คน แยกเป็นชาย 364 คน หญิง 384 คน จำนวนประชากรของหมู่บ้านที่อาศัยอยู่จริง จำแนกตามช่วงอายุ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จุดแข็ง (Strength)1. ชุมชนมีกลุ่มอาชีพที่มีทักษะเฉพาะ ทำให้กลุ่มอาชีพในชุมชนมีความชัดเจน เข้มแข็ง และกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะสามารถทำเป็นรายได้หลัก
2. ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านเวทีประชาคมของหมู่บ้าน ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของหมู่บ้านและทางหน่วยงานรัฐที่เข้ามา
3. ค่านิยมชุมชนที่มีวัฒนธรรมแบบพึ่งพาอาศัย อยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง เครือญาติ ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งภายใต้วัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม
ข้อมูลประเด็นปัญหา
1. แหล่งน้ำยังไม่เพียงพอในการทำการเกษตรในบางพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่อำเภอวังน้ำเย็นมีการใช้น้ำในการทำเกษตรเกือบทุกพื้นที่ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ยังไม่มี ทำให้น้ำไม่ทั่วถึงและไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรทำให้มีผลกระทบดังกล่าว2. กลุ่มอาชีพยังมีรายได้ที่ไม่มั่นคง เนื่องจากยังขนาดการทำตลาดหรือมีตลาดในการรองรับผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านที่ต่อเนื่อง
3. วัยรุ่นในหมู่บ้านยังนิยมทำงานนอกพื้นที่ ทำให้ไม่มีการสานต่อกลุ่มอาชีพของหมู่บ้าน ส่งผลให้ภูมิปัญญาบางอย่างเริ่มจางหายไป
4.ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของหมู่บ้านยังไม่มีศักยภาพหรือองค์ความรู้ที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านเป็นที่ต้องการ ทำให้ชุนชุนหยุดการพัฒนาและทำผลิตภัณฑ์ในแบบเดิมๆที่เคยทำมา จึงไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การแสวงหาความรู้ใหม่ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า รวมทั้งการส่งเสริมช่องทางการหาตลาดใหม่ๆ เช่น การแปรรูปผ้าย้อมสีจากธรรมชาติ เป็นต้นประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น มีกลไกสนับสนุนการปฏิบัติพันธกิจแบบบูรณาการเพื่อท้องถิ่นตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาบริการวิชาการ การเรียนการสอน และการวิจัย โดยมีกระบวนการ/วิธีการ มีนโยบายสนับสนุน มีองค์ความรู้ มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชน และสังคม ซึ่งเป็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการที่จะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน โดยการออกแบบการทำงานเพื่อสร้างกลไกเชิงระบบที่เชื่อมงานประกันคุณภาพองค์กรกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อให้มีการสานพลังจากทุกคณะร่วมกับองค์กรภาคี มีการยกระดับคุณภาพงานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม และเกิดการพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพงานวิชาการเพื่อสังคม
สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ จึงได้กำหนดแนวทางการทำงานที่มุ่งเน้นการทำงานบริการวิชาการรับใช้สังคม โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน ประสานงาน และดำเนินโครงการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านงานบริการวิชาการ โดยในปี 2561 นี้ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว โดยความร่วมมือกันของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 27 หมู่บ้าน พื้นที่จังหวัดสระแก้ว 25 หมู่บ้าน จึงจัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว ได้มีส่วนในการ รับผิดชอบพื้นที่หมู่ 3 บ้านวังยาว ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว โดยมี อาจารย์วุฒิวัฒน์ อนันต์พุฒิเมธ เป็นผู้รับผิดชอบ การดำเนินงานในระยะแรกเป็นการสำรวจข้อมูลชุมชน เพื่อให้ได้มาซึ่งสภาพปัญหาที่แท้จริงของชุมชนและสิ่งที่ชุมชนต้องการรับการพัฒนา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาของชุมชนได้ตรงจุดนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- การแปรรูปผ้าย้อมสีจากธรรมชาติ
- จ.สระแก้ว
- ต.คลองหินปูน
- บ้านวังยาว
- หมู่ที่ 3
- อ.วังน้ำเย็น
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ