การแปรรูปปลาแผ่นและนํ้าพริกปลาฟู บ้านทัพหลวง หมู่ 7 ต.ตาหลังใน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
การแปรรูปปลาแผ่นและนํ้าพริกปลาฟู บ้านทัพหลวง หมู่ 7 ต.ตาหลังใน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
ข้อมูลโครงการ
ชื่อนวัตกรรม | การแปรรูปปลาแผ่นและนํ้าพริกปลาฟู บ้านทัพหลวง หมู่ 7 ต.ตาหลังใน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
หน่วยงานหลัก | สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ |
หน่วยงานร่วม | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ชื่อชุมชน | บ้านทัพหลวง หมู่ 7 ต.ตาหลังใน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | ผศ.เบญจางค์ อัจฉริยะโพธา |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180 |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | - |
การติดต่อ | 029093026 |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
สระแก้ว | วังน้ำเย็น | ตาหลังใน | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติหมู่บ้านทัพหลวงบ้านทัพหลวง หมู่ 7 ตำบลตาหลังใน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว มีประวัติการก่อตั้งหมู่บ้านไม่แน่ชัด โดยมีการสอบถามผู้รู้ประมาณว่าเมื่อ พ.ศ. 2511 ในอดีตเป็นป่ารกชัน เป็นพื้นที่กันดาร มีไฟฟ้า น้ำประปาใช้ และถนนหนทาง ต่อมาเริ่มมีชาวบ้านเข้ามาถางป่าเพื่อทำมาหากินทางเกษตรกรรม และเริ่มผู้คนเข้ามาจับจองที่ดินทำมาหากินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีอาชีพทำนาเป็นหลัก ปี พ.ศ. 2525 มีการจัดตั้งหมู่บ้านทัพหลวงขึ้น โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายล้ำ อ่อมพิสัย และได้ก่อตั้งโรงเรียนทัพหลวงขึ้น ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 4 ในปี 2535 มีไฟฟ้าเข้ามา และมีถนนลาดยางเข้ามาในหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2538 และมีน้ำประปาหมู่บ้านเมื่อพ.ศ. 2549 ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสบายขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนในปีพ.ศ. 2539 โรงเรียนทัพหลวงได้ขยายโอกาสรับนักเรียนถึงมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ต่อมาในปี 2547 มีชาวบ้านนิมนต์หลวงตาบัว แก้วคง มาอยู่ที่วัดทัพหลวง ซึ่งเป็นพระที่คนทั่วไปศรัทธากราบไหว้ ชุมชนทัพหลวงเคยประสบภัยธรรมชาติ 3 ครั้งใหญ่ๆ ได้แก่ พ.ศ. 2530 มีตั๊กแตนระบาดหนัก ทำลายต้นพืชของชาวบ้านเสียหาย และประสบภัย น้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2528 และ 2554 ทำให้ในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการขุดลอกคลองเพื่อป้องกันน้ำท่วม ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2561 ชุมชนได้เข้าร่วมโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีตามนโยบายของภาครัฐ ซึ่งเป็นแนวคิดจำหน่ายสินค้าที่อยู่ในชุมชนจากการท่องเที่ยว มีการใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์ แปลงเป็นรายได้ ทำให้รายได้กระจายอยู่ภายในชุมชน สร้างชุมชนเข็มแข็ง ในรูปแบบการท่องเที่ยวล่องแก่ง ขณะนี้ทางชุมชนทัพหลวงกำลังอยู่ในช่วงริเริ่มดำเนินโครงการดังกล่าว ตลอดจนมีการท่องเที่ยวสวนพุทรา 3 รส ศูนย์การเรียนรู้การถักโครเชต์ และผลิตภัณฑ์อาหาร น้ำพริกเผา กล้วยฉาบรสบาบีคิว ซึ่งผลการดำเนินการในขณะนี้ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากนัก
ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ 19 ต.ตาหลังใน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
ทิศใต้ ติดกับ หมู่ 5 ต.ตาหลังใน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ 18 ต.ตาหลังใน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ 27 ต.ทุ่งมหาเจริญ อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
สภาพทางภูมิประเทศของพื้นที่ชุมชน เป็นที่ราบลุ่มมีระบบชลประทาน สภาพดินเป็นดินเหนียวปนลูกรังขาดความอุดมสมบูรณ์
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จากการศึกษาข้อมูลพบว่าจุดแข็งของชุมชน มีรายละเอียดดังนี้1) ผู้นำเข้มแข็ง
2) ที่ตั้งบ้านเรือนตั้งอยู่เป็นกลุ่ม ไม่กระจายตัว เอื้อต่อการติดต่อข้อมูลข่าวสาร
3) แหล่งน้ำ เนื่องจากพื้นหมู่บ้านทัพหลวงมีคลองน้ำพระสะทึง คลองส่งน้ำพระสะทึง ไหลผ่าน ทำให้มีน้ำใช้ในการเกษตรตลอดทั้งปี
4) คนในชุมชนจำนวนมากมีความสามารถในการสานสุ่มไก่ เสื่อกก ชะลอม ตะกร้า กระด้ง หวดนึ่งข้าว แหจับปลา
5) ประชากรมาจากการย้ายถิ่นฐานเข้ามาจากหลายพื้นที่ ทำให้คนในชุมชนมีความสามารถทางเกษตรกรรมหลากหลาย สามารถเพาะปลูกพืชได้หลายชนิดตามความรู้จากถิ่นฐานเดิม ทำให้ในท้องถิ่นมีพืชผลออกมาสลับหมุนเวียนกันตลอดทั้งปี
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ผลผลิตทางการเกษตรค่อนข้างมีหลายชนิด สามารถพัฒนาเกิดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปได้หลายหลาก เพื่อพัฒนาตอบโจทย์โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การพัฒนาอาชีพประเภทแปรรูปอาหารจากปลา ได้แก่ กลุ่มอาชีพปลาแผ่น และน้ำพริกปลาฟู เนื่องจากครัวเรือนเป้าหมายเป็นครัวเรือนที่รายได้น้อยและไม่พอกับรายจ่าย บริเวณพื้นที่ชุมชนมีปลาชุกชุมเนื่องจากมีคลองพระสะทึงไหลผ่าน ตลอดจนใกล้กับอ่างเก็บน้ำพระสะทึง อีกทั้งบางครัวเรือนมีการเลี้ยงปลาเพื่อจำหน่าย แต่จำหน่ายได้ในราคาถูก และยังไม่มีความรู้ด้านการแปรรูปดังกล่าว จึงเกิดแนวคิดพัฒนาเสริมสร้างอาชีพและรายได้ จากทรัพยากรจากปลาที่มีในท้องถิ่นและบริเวณใกล้เคียง ตลอดจนมีความต้องการสร้างผลิตภัณฑ์แปลกใหม่ให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อรองรับโครงการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ทำให้เกิดโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างรายได้ประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎ สู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในหมู่7 ตำบลตาหลังใน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว พบว่า ในเขตพื้นที่หมู่ 7 มีลำคลองที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญหลัก คือ คลอง พระสะทึง ซี่งมาจากอ่างเก็บน้ำพระสะทึงบริเวณใกล้เคียง และส่งผลให้คนในชุมชนส่วนใหญ่จึงมีอาชีพเกษตรกรรม มีการเพาะปลูกตลอดทั้งปี และส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์แหล่งอาหารของคนในชุมชนตามธรรมชาติ อาทิ ปลา หน่อไม้ เป็นต้น ปลาเป็นสัตว์น้ำที่มีมากในธรรมชาติ และเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตไว จึงมีจำหน่ายมากในท้องถิ่นและตลาดใกล้เคียงในราคาถูกกว่าตลาดทั่วไป และเนื่องจากครัวเรือนเป้าหมายมีอาชีพเกษตรกรรม เพาะปลูกลำใย เลี้ยงแพะ วัว และเลี้ยงปลาดุกเพื่อจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางในราคาถูก ทำให้มีรายได้น้อยและไม่พอกับรายจ่าย อีกทั้งไม่มีความรู้ด้านการแปรรูปอาหาร จึงเกิดแนวคิดพัฒนาเสริมสร้างอาชีพและรายได้จากทรัพยากรที่มีในครัวเรือน ท้องถิ่น และบริเวณใกล้เคียง ตลอดจนหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการ OTOP นวัตวิถี ทำให้เกิดโอกาสช่องทางการตลาดในการจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างรายได้อีกด้วย และทางชุมชน ครัวเรือนเป้าหมายมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลา ได้แก่ ปลาแผ่น และน้ำพริกปลาฟู เพื่อเพิ่มได้รายได้
ดังนั้นหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- จ.สระแก้ว
- ต.ตาหลังใน
- นํ้าพริกปลาฟู
- บ้านทัพหลวง
- ปลาแผ่น
- หมู่ที่ 7
- อ.วังน้ำเย็น
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ