น้ำพริกไข่แดงสมุนไพร น้ำพริกปลาร้าสมุนไพร น้ำพริกข่าปลาแห้ง บ้านคลองหมากนัด หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
น้ำพริกไข่แดงสมุนไพร น้ำพริกปลาร้าสมุนไพร น้ำพริกข่าปลาแห้ง บ้านคลองหมากนัด หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
ข้อมูลโครงการ
ชื่อนวัตกรรม | น้ำพริกไข่แดงสมุนไพร น้ำพริกปลาร้าสมุนไพร น้ำพริกข่าปลาแห้ง บ้านคลองหมากนัด หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
หน่วยงานหลัก | สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ |
หน่วยงานร่วม | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว |
ชื่อชุมชน | บ้านคลองหมากนัด หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์เทอดเกียรติ แก้วพวง |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | บ้านคลองหมากนัด หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | - |
การติดต่อ | 029093026 |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
สระแก้ว | เมืองสระแก้ว | บ้านแก้ง | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมาของชุมชนจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ของหมู่บ้าน พื้นที่บ้านคลองหมากนัดแห่งนี้ เดิมเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรม มีนายทุนเข้ามาตัดไม้ทำลายป่า โค่นต้นไม้ไปจนหมด เหลือแต่ป่าหญ้าคา ป่าแขม ต่อมาชาวบ้านจากพื้นที่อื่นๆ จากอำเภอนาดี ตำบลบ้านแก้ง ตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอสระแก้ว (ยกเป็นจังหวัดสระแก้วปี่ 2536) จังหวัดปราจีนบุรี เป็นพื้นที่ล้อมรอบบ้านคลองหมากนัด ได้อพยพมาหากินที่ทำกินและที่อยู่อาศัย โดยจับจองพื้นที่ป่าเพื่อทำนา ทำไร่ ทำสวน โดยเข้ามาในพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของบ้านคลองหมากนัด ซึ่งเป็นทางเดินเท้าเล็กๆ มีคลองน้ำไหลผ่านและมีต้นสับปะรถป่าขึ้นอยู่ ซึ่งภาษาถิ่นเรียกว่า “ต้นหมากนัด” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านคลองหมากนัดในปัจจุบัน
เริ่มแรกมีครอบครัวที่เข้ามาจัดทำบ้านพักที่อยู่อาศัยเพียง 2 ครัวเรือน คือครอบครัวนายออม สมหมอและนายพอน มั่นคงกูล ในปี พ.ศ.2513 บ้านคลองหมากนัด หมู่ 11 ได้แยกตัวมาจากหมู่บ้านวังหิน หมู่ 10 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี ในสมัยนั้น มีจำนวนครัวเรือนจัดตั้งครั้งแรกประมาณ 15 ครัวเรือน และนายบุญมา บุญกว้าง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของชุมชน หลังจากนั้นก็มีชาวบ้านอพยพมาจากหลายๆ พื้นที่ทั้งจากสกลนคร ปราจีนบุรีและที่อื่นๆ ทำให้หมู่บ้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น บ้านคลองหมากนัดเป็นหมู่บ้านที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งน้ำและผืนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ ที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก จำทำให้ชาวบ้านได้อพยพเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จำมีจำนวน 91 ครัวเรือนในปัจจุบัน และมี นางสาววันนา ด่านสาคร ทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้านคลองหมากนัด หมู่ 11 ตั้งอยู่ในตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
ต่อมาในปี พ.ศ.2516 ชาวบ้านคลองหมากนัดจัดประชุมภายในชุมชนและมีบทสรุปที่จะก่อตั้งโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของลูกหลาน จึงได้เริ่มสร้างโรงเรียนเป็นอาคาร 1 ชั้น ขนาด 2 ห้องเรียนและได้คุณครูสัจจา วงษ์ภา เป็นครูอาสาคนแรกของโรงเรียนบ้านคลองหมากนัด และปี พ.ศ.2518 ได้มีกลุ่มนักศึกษาจากกรุงเทพฯ ได้เข้ามาท่องเที่ยวและพักอาศัยข้างๆ โรงเรียนซึ่งหลังจากนั้นกลุ่มนักศึกษาได้ทำการต่อเติมห้องเรียนเพิ่มอีกสองห้องเรียน รวมทั้งหมดเป็น 4 ห้องเรียน
ในราวปี พ.ศ.2520 ได้มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ได้แทรกซึมเข้ามาในพื้นที่บ้านคลอกหมากนัดเป็นหมู่บ้านเป้าหมายของทางราชการที่น่าเชื่อว่ามีกลุ่มคอมมิวนิสต์แทรกซึมอยู่ จึงทำให้หน่วยงานราชการ ส่งกำลังเข้ามากวาดล้างกลุ่มคอมมิวนิสต์ พัฒนาหมู่บ้านและดูแลรักษาความสงบภายในชุมชน ในสมัยนั้นมีค่ายทหารพราน ค่าย ตชด. ค่าย อส. อยู่รอบพื้นที่หมู่บ้าน ต่อมาหมู่บ้านได้รับพระมหากรุณาธิคุณรับเป็นหมู่บ้านในโครงการพระราชดำริ ทางราชการได้ร่วมกันเข้ามาช่วยพัฒนาในด้านต่างๆ และได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันคนเอง (อพป.) ขึ้นเพื่อดูแลความสงบภายในชุมชน
ต่อมาปี พ.ศ.2527 ได้มีหน่วยงานของกรมป่าไม้เข้ามาดำเนินการปลูกป่า โดยใช้ชื่อโครงการว่า “โครงการปลูกป่าบ้านท่ากระบาก 2” และได้เปลี่ยนมาเป็น “โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาตามพระราชดำริบ้านคลองหมากนัด” จนทำให้ชาวบ้านมีงานทำ มีรายได้ มีความสงบร่มเย็นและเป็น “บ้านสวย เมืองสุข” บ้านคลองหมากนัด จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน
บ้านคลองหมากนัด มีภูมิประเทศทั่วไปเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาสลับกับคลองน้ำ ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย โดยทิศเหนือของหมู่บ้านติดกับภูเขา บ้านคลองหมากนัดมีความอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีแหล่งน้ำไว้อุปโภคบริโภค มีไฟฟ้า ประปา การคมนาคมสะดวกทั้งการสัญจรและเส้นทางเพื่อการเกษตรครอบคลุมทุกพื้นที่ มีสถานที่เพื่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ซึ่งได้แก “น้ำตกน้ำโตน” และป่าชุมชน สภาพแวดล้อมของหมู่บ้านมีทิวทัศน์สวยงาม เหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ บ้านคลองหมากนัดมีสถานที่สำคัญได้แก่ วัด สำนักสงฆ์ โรงเรียนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกสบายและทำให้ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ชุมชนปลูกฝังการรักความสะอาด ความเป็นระเบียบ มีความรักความสามัคคี การเข้าวัดฟังธรรม รักษาประเพณีวัฒนธรรม ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ดังนั้นอาชีพส่วนใหญ่ของคนในชุมชนคือการทำการเกษตร รับราชการ รับจ้างทั่วไป ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจและอื่นๆ
ที่ตั้งและอาณาเขต
บ้านคลองหมากนัด หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแก้ง มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงสลับภูเขาเตี้ยๆ ดินเป็นดินร่วนปนทราย มีน้ำล้อมรอบ มีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ สปก. บ้านคลองหมากนัดห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองไปทางทิศเหนือ ประมาณ 44 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือติดกับ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศใต้ติดกับ หมู่ที่ 9, หมู่ 10 ตำบลบ้านแก้ง
ทิศตะวันออกติดกับ หมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 17 ตำบลโคกปี่ฆ้อง
ทิศตะวันตกติดกับ หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านแก้ง
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จุดแข็ง (Strengths) :1. การมีป่าไม้ชุมชนที่อุดมสมบูรณ์และมีการดูแลรักษาพื้นป่าจากคนในชุมชน ซึ่งเป็นการดูแลต้นทุนของชุมชนให้มีอยู่คู่ชุมชนต่อไป
2. การมีต้นทุนพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตรและการเพาะปลูก
3. การมีต้นทุนทางทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะกับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่นพืชพันธุ์นานาชนิดที่ควรศึกษา แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติหรือน้ำตกน้ำโตน เป็นต้น
4. การมีหัวหน้าและคณะกรรมการชุมชนที่เข้มแข็ง นอกจากนั้นคนในชุมชนยังมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดี่ยวกันในการที่จะพัฒนาหมู่บ้านของต้น และมีทัศนคติที่ดีต่อชุมชนของตนเอง
5. การสร้างกองทุนหมู่บ้านที่เข้มแข็งเป็นแหล่งเงินทุนให้คนในชุมชนได้หยิบยืมใช้จ่ายในยามจำเป็น
6. มีการสร้างและสืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนเพื่อส่งต่อรุ่นต่อไป
7. การได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเป็นหมู่บ้านดีเด่นและหมู่บ้านตัวอย่างที่สามารถดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประสบผลสำเร็จและเป็นต้นแบบของชุมชนข้างเคียง
8. การมีอาชีพที่หลากหลายซึ่งสามารถเป็นรายได้เสริมกันและกัน นอกเหนือจากการทำอาชีพหลักและอาชีพเสริม
9. การมีศูนย์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมอาชีพ ทำให้โครงการต่างๆ ได้รับการส่งเสริมอาชีพต่างๆ และสามารถต่อยอดสร้างรายได้ ต่อยอดและสร้างประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
แนวทางในการประกอบอาชีพต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเอง ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังไม่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของท้องตลาดข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
1. การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนได้เข้าใจแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้2. การพัฒนาอาชีพหลัก สร้างอาชีพเสริมและพัฒนาต่อยอดให้ครบวงจรตั้งแต่เริ่มต้นการผลิต การแปรรูปและการตลาด การพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์
3. การปรับปรุง ส่งเสริมสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านให้เอื้อแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศน์
4. การอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ร่วมกับชุมชนไปอีกยาวนาน
ประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น มีกลไกสนับสนุนการปฏิบัติพันธกิจแบบบูรณาการเพื่อท้องถิ่นตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาบริการวิชาการ การเรียนการสอน และการวิจัย โดยมีกระบวนการ/วิธีการ มีนโยบายสนับสนุน มีองค์ความรู้ มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชน และสังคม ซึ่งเป็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการที่จะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน โดยการออกแบบการทำงานเพื่อสร้างกลไกเชิงระบบที่เชื่อมงานประกันคุณภาพองค์กรกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อให้มีการสานพลังจากทุกคณะร่วมกับองค์กรภาคี มีการยกระดับคุณภาพงานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม และเกิดการพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพงานวิชาการเพื่อสังคม
ดังนั้นจึงได้กำหนดแนวทางการทำงานที่มุ่งเน้นการทำงานบริการวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว โดยความร่วมมือกันของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย สำหรับหมู่บ้านคลองหมากนัด หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่มหาวิทยาลัยเลือกเข้าไปดำเนินการสำรวจข้อมูลชุมชนให้ได้มาซึ่งสภาพปัญหา และสิ่งที่ชุมชนต้องการรับการพัฒนาที่แท้จริง เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาของชุมชนได้ตรงจุดนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน และได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- จ.สระแก้ว
- ต.บ้านแก้ง
- น้ำพริกข่าปลาแห้ง
- น้ำพริกไข่แดงสมุนไพร
- น้ำพริกปลาร้าสมุนไพร
- บ้านคลองหมากนัด
- หมู่ที่ 11 ต.บ้านแก้ง
- อ.เมืองสระแก้ว
ภาพถ่าย
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
- คำอธิบายภาพ
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ