การพัฒนาการเลี้ยงกบ หมู่ที่ 15 บ้านปางสีดา ต.ท่าแยก อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว

การพัฒนาการเลี้ยงกบ หมู่ที่ 15 บ้านปางสีดา ต.ท่าแยก อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาการเลี้ยงกบ หมู่ที่ 15 บ้านปางสีดา ต.ท่าแยก อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 2 โคกสมัคคี ต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์เพ็ญศรี ชิตบุตร
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว เลขที่ 1177 หมู่2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
สระแก้ว เมืองสระแก้ว ท่าแยก place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านปางสีดา หมู่ที่ 15 ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบ ตั้งอยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแยก ระยะทาง 18 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสระแก้วไปทางทิศใต้ ระยะทาง 30 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านคลองน้ำเขียว หมู่ 7 ตำบลท่าแยก
ทิศใต้ ติดกับ บ้านคลองหอย หมู่ 5 ตำบลท่าแยก
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านท่ากระบาก หมู่ 10 ตำบลท่าแยก
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านน้อย หมู่ 11 ตำบลท่าแยก
สภาพพื้นฐานด้านเกษตรกรรมบ้านปางสีดา
การปลูกพืช คนในชุมชนส่วนใหญ่ทำการเกษตร ทำนาข้าวปีละ 1 ครั้ง ปลูกต้นยูคาลิปตัส และปลูกมันสำปะหลัง
การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงโค-กระบือ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ เลี้ยงจิ้งหรีด เป็นต้น

ข้อมูลด้านประชากร
บ้านปางสีดา มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 176 ครัวเรือน ประชากร 643 คน แยกเป็น
ชาย 303 คน หญิง 340 คน (ที่มา : รายงานสถิติประชากรและบ้าน ระดับอำเภอของตำบลท่าแยก ข้อมูลระหว่างวันที่ 1-28 มกราคม 2562)
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
- เป็นชุมชนที่อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว คือ อุทยานแห่งชาติปางสีดา
- ชุมชนมีสวนของพ่อเป็นสถานที่สาธารณะของชุมชน
- มีการรวมกลุ่มเพื่อรองรับการพัฒนาของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านปางสีดา ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือน
การเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม วิธีการทอเสื่อจากต้นกก และทอผ้าขาวม้า ร้อยละ 90 พูดภาษาอีสาน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ขาดองค์ความรู้ในการจัดการการเลี้ยงกบ รวมถึงขาดความรู้ในการสังเกตการเกิดโรคในกบ การป้องกันโรคที่ถูกวิธี และวิธีการเพาะพันธุ์กบเพื่อเป็นอาชีพได้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดเทคนิคในการเลี้ยงกบ และเกิดแรงบันดาลในการสร้างรายได้จากการเลี้ยงกบ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การจัดประชุมเพื่อระดมความต้องการของคนในชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนของคนในชุมชน และจากการประชาคมของคนในชุมชน พบว่าคนในชุมชนมีความต้องการความรู้ในการเลี้ยงกบ เพื่อเป็นทักษะในการประกอบอาชีพให้คนในชุมชนเพิ่มเติมจากกลุ่มอาชีพเดิมที่มีอยู่ในชุมชน ประกอบกับในชุมชนมีพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่สามารถที่จะเลี้ยงกบได้ โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการทำงานกลุ่ม ในการค่อยๆพัฒนากลุ่มเลี้ยงกบให้สามารถสร้างรายได้ ลดรายจ่ายภายในครัวเรือนและสามารถเป็นอาชีพของคนในชุมชน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้ในการจัดการการเลี้ยงกบ

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560 ถึง ปี 2579 โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน
โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในหมู่บ้านปางสีดา หมู่ที่ 15 ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว พบว่า ในกลุ่มครัวเรือนเป้าหมายมีการจัดการพื้นที่ในบริเวณบ้านหรือพื้นที่สวนสำหรับการปลูกผักสวนครัว และมีความต้องการที่จะเลี้ยงกบเพิ่มเติมในพื้นที่ของตนเอง เพื่อเป็นการเสริมรายได้ในครัวเรือนอีกทางหนึ่ง เพราะในกลุ่มครัวเรือนเป้าหมายเป็นผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงกบ เป็นอาชีพเสริมในครัวเรือนและสามารถที่จะขายกบโตเพื่อเป็นรายได้ในครัวเรือนของตนเอง อีกทั้งยังมีหน่วยงานที่มีความรู้เรื่องการเพาะพันธุ์กบ การเลี้ยงกบอยู่ใกล้กับพื้นที่ชุมชน
ที่สามารถให้ความรู้ในเรื่องการเลี้ยงกบแบบครบวงจรให้กับกลุ่มครัวเรือนเป้าหมายได้อีกด้วย และชุมชน ครัวเรือนเป้าหมายมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีการดำเนินกิจกรรมเลี้ยงกบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองให้สามารถมีรายได้ที่เพียงพอกับการใช้จ่ายในครัวเรือนตนเอง และให้เป็นองค์ความรู้ที่สามารถถ่ายทอดสู่ผู้อื่นและขยายผลไปสู่การแปรรูปให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นภายในชุมชนได้ในอนาคต
ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว จึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การพัฒนาการเลี้ยงกบ
  • จ.สระแก้ว
  • ต.ท่าแยก
  • บ้านปางสีดา
  • หมู่ที่ 15
  • อ.เมืองสระแก้ว

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 11:51 น.