การเลี้ยงไหมอีรี่ (มัน ต่อ ยอด) หมู่ที่ 2 บ้านแสง์ ต.ทัพเสด็จ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว
การเลี้ยงไหมอีรี่ (มัน ต่อ ยอด) หมู่ที่ 2 บ้านแสง์ ต.ทัพเสด็จ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว
ข้อมูลโครงการ
ชื่อนวัตกรรม | การเลี้ยงไหมอีรี่ (มัน ต่อ ยอด) หมู่ที่ 2 บ้านแสง์ ต.ทัพเสด็จ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
หน่วยงานหลัก | สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ |
หน่วยงานร่วม | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว |
ชื่อชุมชน | หมู่ที่ 2 บ้านแสง์ ต.ทัพเสด็จ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์วราวุฒิ คำพานุช |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว เลขที่ 1177 หมู่2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | - |
การติดต่อ | 029093026 |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
สระแก้ว | ตาพระยา | ทัพเสด็จ | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ 2 บ้านแสง์บ้านแสง์ อ่านว่า “สะ-แหง” ตั้งอยู่ หมู่ 2 ตำบลทัพเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัด
สระแก้ว เป็นหมู่บ้านดั้งเดิมติดกับประเทศกัมพูชา และมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่
สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตามประวัติศาสตร์เดิม
ทหารกัมพูชา ได้เข้ามากวาดต้อนครอบครัวคนไทยตั้งแต่เมืองปราจีนบุรี เมืองนครนายก เจ้าพระยา
บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัครมหาเสนาบดีสมุหนายก และแม่ทัพใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการแต่งตั้งให้นำทัพไปปราบเขมร การเดินทางครั้งนี้ต้องผ่านภูมิประเทศ
ที่ทุรกันดารทำให้ไพร่พลกองทัพเมื่อยหล้า จึงได้หยุดพักเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะยกทัพไป
ปราบเขมร และได้รับชัยชนะกลับมาพร้อมทั้งนำครอบครัวคนไทยกลับมาพักอยู่บริเวณเดิม ซึ่งใน
จำนวนคนไทย ที่ถูกกวาดต้อนมีครอบครัวของชาวบ้านแสง์ด้วย สำหรับที่มาของชื่อหมู่บ้านแสง์ คือ
มีหนองนํ้าที่มีต้นแสง์ (ข้าวหญ้านก) ขึ้นอยู่เป็นจ านวนมากตามบริเวณหนองนํ้า และได้ตั้งชื่อหมู่บ้าน
ตามต้นแสง์ จึงมีชื่อ หมู่บ้านแสง์ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
อำณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่หมู่ 12 บ้านทัพเสรี
ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่หมู่ 9 บ้านร่มไทร
ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่จังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่หมู่ 3 บ้านเจียงดำ และหมู่ 5 บ้าน
โคกทหาร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ทุนมนุษย์ซึ่งมีปราชญ์ชุมชนหลายสาขาที่สามารถถ่ายทอดให้กับผู้ที่สนใจได้เช่น- ปราชญ์ด้านวัฒนธรรมประเพณี
- ปราชญ์ด้านเกษตร
- ปราชญ์ด้านแพทย์แผนไทย/สมุนไพร
- ปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม
ทุนทางสังคม ได้แก่
- วัฒนธรรมประเพณีของหมู่บ้าน เช่น งานแซนโฎนตา งานสวดมาติกา
งานวันผู้สูงอายุ ประเพณีสงกรานต์
ทุนกายภาพ ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน
ทุนธรรมชาติได้แก่ การปั่นจักรยานชมวิถีการดำรงชีวิตประจำวันของคนในชุมชน
ทุนทางการเงิน ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนโครงการแก้ไขปัญหา
ความยากจน (กข.คจ.) กองทุนฌาปนกิจหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนสวัสดิการตำบล และ
กลุ่มอาชีพหมู่บ้าน
ทุนทางวัฒนธรรม ที่เป็นเสน่ห์ของชุมชนและชุมชนมีการอนุรักษ์ ได้แก่
- อาหาร ที่เป็นอาหารพื้นถิ่น ที่สะอาดปลอดภัย มีไว้บริการให้กับ
นักท่องเที่ยว เช่น ขนมรังผึ้ง กบยัดไส้ แกงกล้วย นํ้าพริกมะเขือพวง แกงเปรอะหน่อไม้
- การแต่งกาย ประชาชนในหมู่บ้านมีการอนุรักษ์แต่งกายแบบไทยและ
สากล ทั้งชายหญิง และวัย หนุ่มสาว เด็ก โดยเฉพาะผู้สูงอายุยังมีการใส่เสื้อไทย และผ้าถุง สำหรับ
เยาวชน และวัยทำงานก็จะแต่งกายตามไทยนิยมหรือในประเพณีต่างๆ
- ที่อยู่อาศัย จะเป็นบ้าน รูปทรงต่างๆ แล้วแต่ความนิยมชอบ
- ประเพณี จะมีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนตามแต่ละศาสนา เช่น
แซนโฎนตา สงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษา รดนํ้่าดำหัวผู้ใหญ่ในเทศกาลวันสงกรานต์
เทศก์มหาชาติ ลอยกระทง และประเพณีอื่นๆ ตามศาสนา
- ภาษา จะมีภาษาเป็นเอกลักษณ์ คือ ภาษาถิ่นพื้นบ้าน
- อาชีพ มีทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
- ความเชื่อ คนในชุมชนจะมีความเชื่อในการท าบุญตายายและความเชื่อ
ทางศาสนา
ข้อมูลประเด็นปัญหา
พื้นที่แห้งแล้ง ส่วนใหญ่มีแต่ที่ดินทำกินเป็นของตนเอง สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ แต่มีหนี้สินจาการขาดทุนการทำเกษตรข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ตกลงร่วมกันในการที่จะเลี้ยงไหมอีรี่ประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล
แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี
2560 ถึง ปี 2579 โดยน้อมน าเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน
โดยค านึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) มาเป็นแนวทางในการด าเนินนโยบาย
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิต
ภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัย ด้านอาหาร
เพื่อน าไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) ทรงมี
พระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชน
ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เป็นมหาวิทยาลัย
ที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย
ราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
เสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัย
ราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ
การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้ง
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี
ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและ
ภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถ
ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความส าคัญในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในบ้านแสง์ หมู่ที่ 2 ต าบลทัพเสด็จ อำเภอตาพระยา
จังหวัดสระแก้ว พบว่า เป็นหมู่บ้านห่างไกลความเจริญ ซึ่งติดชายแดนกับประเทศกัมพูชา สภาพทาง
เศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร ประสบปัญหาภัยแล้งต่อเนื่องเป็นประจำ ทำให้ขาดทุนจากการประกอบ
อาชีพเกษตรกรรม เกิดเป็นหนี้สินภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น และมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายใน
ครัวเรือน ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานของภาครัฐเข้ามาให้การสนับสนุนเรื่องของอาชีพ เช่น โคบาลบูรพา,
การทำจักสาน, การสานพัด, ดอกไม้ประดิษฐ์, ต้นแสง์ประดิษฐ์, สบู่, นํ้ายาล้างจาน, นํ้ายาปรับผ้านุ่ม,
การทำปลาส้ม และหมอนฟักทอง เป็นต้น เพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นหมู่บ้าน
เชิงวัฒนธรรม และเป็นอาชีพเสริมแทนอาชีพหลัก หวังให้สมาชิกในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไร
ก็ตามการจัดทำของที่ระลึกขึ้นนั้นไม่ได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวมากพอ และไม่มีตลาดในการ
รองรับการจำหน่ายของสินค้า ทำให้เกิดการตกค้างของสินค้า และการหยุดชะงักของทุนในการ
หมุนเวียนการผลิต แต่ชุมชนแห่งนี้ยังมีแหล่งทุนที่มีศักยภาพ คือ เรื่องราวหมู่บ้านประวัติศาสตร์
แหล่งท่องเที่ยว (วัดทัพเสด็จ, พลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9),
ภาษาท้องถิ่น, ต้นแสง์, ต้นกก, น้ าพริกกะสัง, พื้นที่ปลูกมันส าปะหลังจ านวนมาก และความรู้จาก
การสืบทอดต่อมาของบรรพบุรุษ เช่น การจักสาน, การทอผ้า เป็นต้น ท าให้สมาชิกในชุมชนและ
ครัวเรือนเป้าหมายมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีโครงการการเลี้ยงไหมอีรี่ เนื่องจากผู้นำ
ท้องที่และสมาชิกในชุมชน เห็นว่าภายในชุมชนส่วนใหญ่มีแต่ผู้สูงอายุ หากจะดำเนินการจัดทำ
โครงการน่าจะเป็นโครการที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ มีต้นทุนของปัจจัยการผลิตที่ต่าง และให้ผลผลิต
มูลค่าที่สูง ซึ่งโครงการดังกล่าวตอบโจทย์สมาชิกในชุมชนมากที่สุด เนื่องจากการเลี้ยงไหมอีรี่ มีตลาด
รองรับทั้งภายในและภายนอกประเทศ เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมทอผ้า มีพ่อค้าคนกลางรับซื้อ
ผลผลิต ประกอบกับทุนเดิมที่มีความสามารถในการทอผ้าจากการสืบทอดบรรพบุรุษ สามารถเลี้ยง
ประกอบอาชีพได้ทุกครัวเรือนไปพร้อมๆ กับการทำอาชีพหลักควบคู่กันไปได้และยังสามารถสร้าง
รายได้เทียบเท่ากับอาชีพหลักได้ และขั้นตอนดำเนินการง่าย รวมถึงสมาชิกในชุมชนประกอบอาชีพ
ปลูกมันสำปะหลังเป็นส่วนใหญ่ สามารถนำใบมันส าปะหลังมาเป็นอาหารให้กับไหมอีรี่ทำให้เกิด
ประโยชน์ได้อีกช่องทางหนึ่งด้วยโดยไม่ให้เสียประโยชน์ไปเปล่าๆ อีกทั้งจังหวัดสระแก้ว มีชุมชนที่
ดำเนินการครบวงจรสามารถเป็นต้นแบบประสบความสำเร็จสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ได้ โดยจะ
ดำเนินการจัดตั้งเป็นกลุ่มและมีครัวเรือนตนแบบในการพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในการเพิ่ม
รายได้ให้คนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นแบบอย่างสู่ครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชน และอาจ
ขยายผลไปสู่การแปรรูปวัตถุดิบเพื่อการเพาะพันธุ์ไหมอีรี่ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เองในอนาคต
ดังนั้นข้าพเจ้าอาจารย์วราวุฒิ คำพานุช ตำแหน่ง อาจารย์ (นักพัฒนาท้องถิ่น) สังกัด
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์สระแก้ว จึงได้จัดทำโครงการสร้าง
เครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่น
สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้
อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับ
การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่าเสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง
มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้าน
มีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- การเลี้ยงไหมอีรี่
- จ.สระแก้ว
- ต.ทัพเสด็จ
- บ้านแสง์
- มัน ต่อ ยอด
- หมู่ที่ 2
- อ.ตาพระยา
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ