การพัฒนากลุ่มอาชีพจิ้งหรีด ดอกไม้จันทน์ และหนูนา หมู่ที่ 12 บ้านคลองยาง ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว

การพัฒนากลุ่มอาชีพจิ้งหรีด ดอกไม้จันทน์ และหนูนา หมู่ที่ 12 บ้านคลองยาง ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การพัฒนากลุ่มอาชีพจิ้งหรีด ดอกไม้จันทน์ และหนูนา หมู่ที่ 12 บ้านคลองยาง ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 12 บ้านคลองยาง ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์คณิต เรืองขจร
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว เลขที่ 1177 หมู่2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
สระแก้ว ตาพระยา ทัพราช place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปของชุมชน
3.1.1 ประวัติหมู่บ้าน
บ้านคลองยาง เป็นหมู่บ้านหมู่ที่ 12 ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบล ทัพราช อำเภอ ตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ปี พ.ศ. 2518 ผู้กองสวง ซึ่งเป็นตำรวจตระเวนชายแดน ได้ย้ายผู้คนออกมาจาก วังรี สาเหตุเรียกสถานที่แห่งนั้นว่า “วังรี” เพราะมีน้ำไหลอกมาจากภูเขา และกลายเป็นแอ่งน้ำที่ไหลหมุนเวียนอยู่กับที่เป็นเกลียวลึกๆ ช่วงท้ายมีลักษณะเรียวเล็กลง เรื่อยๆ เป็นวงรีหมุนลงมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนใหม่ ยังที่ตั้งของบ้านหนองผักแว่นในปัจจุบัน โดยในขณะนั้น มีผู้ก่อการร้ายชุกชุมมาก มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรง ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับกลุ่มผู้ก่อการร้าย จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพื้นที่สีแดง

3.1.2 เหตุผลในการเลือกหมู่บ้าน การเริ่มต้น ลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการขยายตัวของหมู่บ้าน
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2540 ได้แยกออกมาก่อตั้งหมู่บ้านอยู่ที่หมู่ที่ 12 ตำบล ทัพราช อำเภอ ตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ซึ่งประชากรส่วนมากเป็นคนอพยพมาจากหลายจังหวัดของภาคอีสาน ผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายสมพิษ แพนลิ้นฟ้า ในปัจจุบันมี “นายวิทยา อาตศัตรู” เป็นผู้ใหญ่บ้าน
3.2 ข้อมูล ด้านสภาพนิเวศวิทยา
3.2.1 สภาพทางภูมิประเทศ
บ้านคลองยาง มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ ล้อมรอบด้วยภูเขา จึงมีทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงาม มีอากาศที่บริสุทธิ์ สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย สภาพอากาศ กลางวันร้อน กลางคืนอากาศเย็นชื้น
- ที่ตั้ง
บ้านคลองยาง หมู่ที่ 12 ตั้งอยู่ในตำบลทัพราช ห่างจากที่ว่าการอำเภอตาพระยา ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ20 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสระแก้ว ประมาณ 120 กิโลเมตร
- อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขาพรานนุช อุทยานแห่งชาติตาพระยา
ทิศใต้ ติดต่อกับเขาทะลาย เขตอุทยานแห่งชาติปางสีดา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติปางสีดา เขตอำเภอวัฒนานคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านหนองผักแว่น หมู่ที่ ๙ ตำบลทัพราช

3.2.2 สภาพทางนิเวศวิทยาจำเพาะ
สภาพนิเทศวิทยาชุมชนหมู่ที่ 12 บ้านคลองยาง ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่มีภูเขาโอบล้อม ติดกับเขตอุทยานแห่งชาติปางสีกา มีพื้นที่สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ ในอำเภอตาพระยา ในช่วงฤดูฝนจะมีปริมาณฝนตกน้อยเนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาฝนไม่ตกตามฤดูกาล และ ไม่ตกในพื้นที่ หากในช่วงใดมีฝนตกในพื้นที่ ปริมาณมวลน้ำจะไหลลงสู่พื้นที่ที่ต่ำกว่า ในช่วงฤดูแล้งประชาชนในพื้นที่จะไม่สามารถทำการเกษตรได้ เนื่องจากไม่มีน้ำในการใช้เพาะปลูก ทำให้พื้นที่เป็นพื้นที่แห้งแล้ง
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จุดแข็ง
- มีจุดเด่นทางกายภาพ คือมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ รายล้อมไปด้วยภูเขา ป่าไม้
มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ “ละลุ”
- ความร่วมมือร่วมใจ สามัคคีของคนในชุมชน คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว โดยมีการ
สร้างระเบียบกฎเกณฑ์ มีการรวมกลุ่มอาชีพทำผลิตภัณฑ์ชุมชนจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งสมาชิกของ แต่ละกลุ่มต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซื่อสัตย์ต่อนักท่องเที่ยว มีความสุภาพอ่อนโยน สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวให้เกิดความประทับใจได้
- ผู้นำชุมชนมีความเป็นผู้นำ มีความเสียสละต่องานในหน้าที่ ตั้งใจทำงานเพื่อชุมชน
- ชุมชนขนาดเล็ก และมีการรวมกลุ่มของชุมชนเป็นสัดส่วน เหมาะแก่การส่งเสริมพัฒนาในทุกด้าน
- มีทุนชุมชนหลากหลาย เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ,กองทุนเงินแก้ไขปัญหา ความยากจน (กข.คจ.) , มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ข้อมูลประเด็นปัญหา
- คนในชุมชนยังขาดความรู้ในด้านเทคโนโลยี เนื่องจากส่วนใหญ่สมาชิกในชุมชนจะประกอบ
อาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นจึงทำให้ไม่มีความรู้ ความชำนาญในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการพัฒนาสินค้า/ผลิตภัณฑ์ชุมชน การให้บริการด้านการท่องเที่ยว
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
1.การส่งเสริมการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนที่ถูกต้อง การกำหนดมาตรฐานฟาร์มจิ้งหรีดและหนูนา เทคนิคการเลี้ยงจิ้งหรีดและหนูนา รวมถึง การหาตลาดเพื่อจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในครอบครัวและคนในพื้นที่บ้านคลองยาง
2.การฝึกอาชีพในการทำดอกไม้จันทน์ และ การแปรรูปมะขาม และ สมุนไพรพื้นจากพืชผักสวนครัว

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้การส่งเสริมการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนที่ถูกต้อง การกำหนดมาตรฐานฟาร์มจิ้งหรีดและหนูนา เทคนิคการเลี้ยงจิ้งหรีดและหนูนา รวมถึงการหาตลาดเพื่อจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ และการฝึกอาชีพในการทำดอกไม้จันทน์

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ทรงเห็นความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎณ และทรงมอบพระบรมราโชบายด้านการศึกษาผ่านองคมนตรี ซึ่งมีใจความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศว่าให้องคมนตรีแนะนำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้ทำงานให้เข้าเป้าในการยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ตน ดังนั้นเพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบาย ทางกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎทั้ง 38 แห่ง จึงได้ร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อพัฒนาท้องถิ่น 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการพัฒนาท้องถิ่น 2.ด้านการผลิตและพัฒนาครู 3.ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา และ4.ด้านระบบริหารจัดการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนผลิตและพัฒนาครู ยกระดับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎ ควบคู่ไปกับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ได้นำแนวทางดังกล่าวสู่กำหนดแนวทางการพัฒนาผ่านมายังนโยบายสภามหาวิทยาลัยฯ แปลงไปสู่ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานต่างๆภายในมหาวิทยาลัยฯ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนในเชิงประจักษ์ ในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบคือจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว
ด้วยเหตุนี้จึงเกิดโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติ เพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดปทุมธานี จำนวน 27 หมู่บ้าน และจังหวัดสระแก้วจำนวน 25 หมู่บ้านเพื่อใช้เป็นชุมชนต้นแบบการพัฒนาอันจะนำไปสู่การขยายผลเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้ทำการกำหนดพื้นที่ และเสนอโครงการสำรวจบริบทชุมชนและจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ หมู่ 12 บ้านคลองยาง ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • จ.สระแก้ว
  • จิ้งหรีด
  • ดอกไม้จันทน์
  • ต.ทัพราช
  • บ้านคลองยาง
  • หนูนา
  • หมู่ที่ 12
  • อ.ตาพระยา

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 09:15 น.