การเพาะเห็ดและการแปรรูปแหนมเห็ดนางฟ้า หมู่ที่ 2 โคกสมัคคี ต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว
การเพาะเห็ดและการแปรรูปแหนมเห็ดนางฟ้า หมู่ที่ 2 โคกสมัคคี ต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว
ข้อมูลโครงการ
ชื่อนวัตกรรม | การเพาะเห็ดและการแปรรูปแหนมเห็ดนางฟ้า หมู่ที่ 2 โคกสมัคคี ต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
หน่วยงานหลัก | สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ |
หน่วยงานร่วม | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว |
ชื่อชุมชน | หมู่ที่ 2 โคกสมัคคี ต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์ ดร.เจนจิรา นามี |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว เลขที่ 1177 หมู่2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | - |
การติดต่อ | 029093026 |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
สระแก้ว | โคกสูง | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมาของบ้านโนนสูงเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2456 ครั้งแรกเริ่มเดิมมีประชากรที่ย้ายเข้ามาอยู่ประมาณ 11
ครัวเรือน ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้
1. นายด้วง ปาสองห้อง
2. นายอ่อนจันทร์ กันพวง
3. นายหลอด ดีบ้านพร้าว
4. นายแพง อันธิสุทธฺ
5. นายทราย กันเมียน
6. นายเย้ กันทุม
7. นายบุญ
8. นางไว เพ็ชรสมบัติ
9. นายพร ศรีรสุนทร
10. นายหลวง ธิโสธร
11. นายเปลี่ยน หาญกระโทก
ซึ่งรายชื่อของบุคคลทั้งหมดนี้มีพื้นฐานที่มาจากเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ลงมาอยู่อีสานเรื่อยไปจนถึงประเทศกัมพูชา และย้อนกลับขึ้นมาอีก หมู่บ้านโนนสูงเดิม
เป็นหมู่บ้านเดียวกันกับหมู่บ้านโคกสูง ต าบลโคกสูง อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรีเมื่อเวลา
ผ่านไปนานได้มีประชาชนย้ายเข้ามาอยู่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ท าให้มีความหนาแน่นของหลังคาเรือนจึง
แยกหมู่บ้านโนนสูงออกเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 บ้านโนนสูงแต่ก่อนเดิมมีชื่อ
เรียกว่า “บ้านน้อยโนนสะแบง” ความหมายของชื่อหมูบ้านคือ
“บ้านน้อย” คือ บ้านยังไม่มาก มีไม่หลายหลังคา
“โนน” คือ พื้นที่สูงนํ้าไม่ท่วม
“สะแบง” คือ ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคนพื้นที่เรียกว่า “ต้นสะแบง” ภากลางเรียกว่า “ต้นยาง
เหียง” เป็นต้นไม้ตระกูลเดียวกับไม้ยาง ล าต้นสูงใหญ่
ซึ่งภายหลังได้มีการแยกตัวออกจากบ้านโคกสูง จึงได้มีการมาตั้งชื่อใหม่เป็น บ้านโนนสูง
แยกตัวออกมาครั้ง 1 เป็นหมู่ที่ 16
แยกตัวออกมาครั้ง 2 เป็นหมู่ที่ 8
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ชาวบ้านมีการรวมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น ให้ความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนในการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนเป็นอย่างดี
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ชาวบ้านจึงมีการหารายได้เสริมจากการเพาะเห็ดที่ชาวบ้านพอมีพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ขาดความสนับสนุนในด้านวามรู้ทางวิชาการและการปฏิบัติที่ถูกต้องข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในพื้นที่บ้านโนนสูง หมู่ 2 ตำบลโนนหมากมุ่น อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้วพบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้หลักจากการเกษตร ซึ่งปัญหาหลักคือขาดแคลนนํ้าในการทำการเกษตร ชาวบ้านจึงมีการหา
รายได้เสริมจากการเพาะเห็ดที่ชาวบ้านพอมีพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ขาดความสนับสนุนในด้านวามรู้ทางวิชาการและการปฏิบัติที่
ถูกต้อง จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลได้พบว่าชาวบ้านมีการรวมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น ให้ความร่วมมือในการส่งเสริมและ
สนับสนุนในการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนเป็นอย่างดี ส่งผลให้ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านดีเด่นของตำบลและได้งบประมาณ
สนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูงในการเพาะเห็ดนางฟ้า โดยมีอาจารย์และผู้ใหญ่บ้านร่วมมือกันเสนอโครงการขอ
งบประมาณและในพื้นที่มีโรงสีชุมชนเก่า ซึ่งนำมาดัดแปลงเป็นโรงเพาะเห็ดของหมู่บ้าน
ประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560
ถึง ปี 2579 โดยน้อมน าเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดย
คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลย
เดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับ
รายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร
พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของ
ประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่
10 ก็ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการ ในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือ
ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชา
ประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ.
2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญา
ของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพ
เป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิต
ของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางาน
พันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด าริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้าง
เครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและ
เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความส าคัญในการพัฒนาชุมชน และ
ท้องถิ่น มีกลไกสนับสนุนการปฏิบัติพันธกิจแบบบูรณาการเพื่อท้องถิ่นตอบสนองต่อนโยบายของ
มหาวิทยาลัยซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาการบริการวิชาการ การเรียนการสอน และการวิจัย โดยมี
กระบวนการ/วิธีการ มีนโยบายสนับสนุน มีองค์ความรู้ มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชน
และสังคม ซึ่งเป็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการที่จะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม ทำ
หน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน โดยการ
ออกแบบการทำงานเพื่อสร้างกลไกเชิงระบบที่เชื่อมงานประกันคุณภาพองค์กรกับการพัฒนาพื้นที่
เพื่อให้มีการสานพลังจากทุกคณะร่วมกับองค์กรภาคี มีการยกระดับคุณภาพงานวิชาการเพื่อรับใช้
สังคม และเกิดการพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพงานวิชาการเพื่อสังคม
สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ จึงได้กำหนดแนวทางการทำงานที่มุ่งเน้นการ
ทำงานบริการวิชาการรับใช้สังคม โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน ประสานงาน และดำเนินโครงการ
ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านงานบริการวิชาการ โดยในปี 2561 นี้
มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว โดยความร่วมมือกันของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
ซึ่งดำเนินการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 27 หมู่บ้าน พื้นที่จังหวัดสระแก้ว 25 หมู่บ้าน การ
ดำเนินงานในระยะแรกเป็นการสำรวจข้อมูลชุมชน เพื่อให้ได้มาซึ่งสภาพปัญหาที่แท้จริงของชุมชน
และสิ่งที่ชุมชนต้องการรับการพัฒนา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาของชุมชนได้ตรงจุดนำไปสู่การ
แก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ จึงจัดทำโครงการสร้าง
เครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่น
สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้
อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับ
การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ
เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชน
หมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- การแปรรูปแหนมเห็ด
- การเพาะเห็ด
- โคกสมัคคี
- จ.สระแก้ว
- ต.หนองม่วง
- นางฟ้า
- หมู่ที่ 2
- อ.โคกสูง
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ