กระเป๋าผ้าทอสานลาย หมู่ที่ 8 บ้านพรสวรรค์ ต.เขาฉกรรจ์ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว

กระเป๋าผ้าทอสานลาย หมู่ที่ 8 บ้านพรสวรรค์ ต.เขาฉกรรจ์ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม กระเป๋าผ้าทอสานลาย หมู่ที่ 8 บ้านพรสวรรค์ ต.เขาฉกรรจ์ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม คณะครุศาสตร์
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 8 พรสวรรค์ ต.เขาฉกรรจ์ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์นพดล จันทร์กระจ่างแจ้ง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สระแก้ว เขาฉกรรจ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ชุมชนบ้านพรสวรรค์ตั้งอยู่ในตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยความสุข ผู้ใหญ่บ้านเล่าให้เราฟังว่า ชุมชนแห่งนี้ส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานมาจากทางภาคอีสาน มีวิถีชีวิตแบบคนอีสาน มีอาชีพติดตัวมาก็คือ การทำนา ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพาะปลูกข้าว และยูคาลิปตัส เลี้ยงสัตว์ นอกจากทำการเกษตรแล้วยังมี การทอผ้า การจักสาน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนาน ชาวบ้านใช้ชีวิตกันแบบเรียบง่าย พออยู่พอกิน มีการแบ่งปันกัน จึงทำให้ชุมชนบ้านพรสวรรค์แห่งนี้เป็น “ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง” อีกแห่งหนึ่งของจังหวัด สระแก้ว
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ประชากรในชุมชนแห่งนี้ส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานมาจากทางภาคอีสาน มีวิถีชีวิตแบบคนอีสาน มีอาชีพติดตัวมาก็คือ การทำนา ปัจจุบันประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ นอกจากทาง การเกษตรแล้วยังมี การทอผ้า การจักสาน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนาน ประชาชน ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตกันแบบเรียบง่าย พออยู่พอกิน และมีการแบ่งปันกันในชุมชน จึงเกิดการรวมตัวก่อตั้ง กลุ่มสตรีบ้านพรสวรรค์ และกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม มีรายละเอียดดังนี้
1. กลุ่มสตรีบ้านพรสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นการรวมกลุ่มกันภายในหมู่บ้าน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จำนวนสมาชิก 15 คน การจัดการ ทางกลุ่มสตรี บ้านพรสวรรค์ต้องการที่จะมีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว ประกอบกับในพื้นที่มีวัตถุดิบที่สามารถจะนำมาแปรรูปได้ และวัตถุดิบบางส่วนได้สั่งซื้อจากโรงงาน กลุ่มสตรีจึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งกลุ่มอาชีพขึ้นมา โดยรวมกลุ่มกันจัดทำเพื่อจำหน่าย เมื่อมีกำไรก็จัดสรรให้กับสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิก 115 คน
มักใช้เวลาว่างที่มีไปใช้ในการทอผ้า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมาตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ทวด มาทอและตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย อาทิ ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น ผ้าคลุม เป็นต้น โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่หาได้ไม่ว่าจะเป็นการปลูกฝ้ายแล้วเก็บดอกฝ้าย มาเข็นมาปั่นเป็นเส้นฝ้าย การเลี้ยงตัวไหมเพื่อให้ได้เส้นไหมเพื่อให้ได้เส้นใยของไหม จากนั้นจึงนำมาต่อเป็นพื้นเรียบไม่ต้องย้อมสีหรือหากจะย้อม กลุ่มแม่บ้านนิยมย้อมสีธรรมชาติ ที่ได้จากเมล็ดหรือเปลือกไม้ที่หาได้จากชุมชน อาทิ คราม มะเกลือ เป็นต้น
2. กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม ในปัจจุบันประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่มกลุ่มอาชีพเกษตรกรรมขึ้นอีกด้วย เป็นกลุ่มที่ใช้แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ในการดำรงชีวิต นำไปสู่การพึ่งตนเองในระดับต่าง ๆอย่างเป็นขั้นตอน บนรากฐานของการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจุบันในกลุ่มมีประชากรที่ปลูกผลไม้และสมุนไพร เช่น ลำไย มะม่วง กล้วย มะนาว ว่านหางจระเข้ มัน แครอท รวมไปถึงการเลี้ยงไก่ เป็ด และหมู นอกจากนี้ยังมีการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปของกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม คือ น้ำว่านหางจระเข้ และไข่เค็มสมุนไพร มีการนำผลิตภัณฑ์แปรรูปนี้ไปจัดจำหน่ายและจัดทำเป็นสินค้าประจำชุมชน เป็นการสร้างรายได้ให้กับประชากรในชุมชนได้อีกช่องทางหนึ่ง
การเลี้ยงจิ้งหรีด เสียงของจิ้งหรีดที่เรามักจะได้ยินเป็นเสียงร้องของจิ้งหรีดตัวผู้เท่านั้น ซึ่งพ่อหนุ่มจิ้งหรีดจะใช้ปีกคู่หน้า กรีดปีดเพื่อให้เกิดเสียงร้องเรียกตัวเมียให้เข้ามาหา หลังจากที่จับคู่ผสมพันธุ์แล้วตัวเมียจะเริ่มวางไข่ซึ่งจะใช้เวลาฟักเป็นตัวอ่อน 7-10 วัน และจะใช้เวลาประมาณ 45 วันในการเติบโตเจริญเต็มวัย จากนั้นก็พร้อมส่งขายแล้ว สำหรับไข่จิ้งหรีดจะถูกฝังลงดินมีลักษณะเรียวยาวคล้ายเม็ดข้าวสีเหลือง ๆ ซึ่งครั้งหนึ่งจะได้ไข่ประมาณ 100-200ฟองเลยทีเดียว
จากโซนแมลงเราก็ย้ายไปดูสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่าง “กบ” กันบ้าง ลูกกบที่มีอายุ 60 วันขนาดเท่าหัวแม่มือลุงแสงขายอยู่ตัวละ 3 บาท นอกจากจะส่งลูกกบขายแล้ว ยังส่งขายทั้งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์อีกด้วย ซึ่งขอบอกว่าตัวใหญ่มาก ๆ ลุงแสงยังแอบกระซิบมาอีกว่าการเลี้ยงกบสร้างรายได้ให้ลุงแสงไม่น้อยเลย และนี่ก็คือตัวอย่างวิถีพอเพียงแบบลุงแสง แห่งบ้านพรสวรรค์
ข้อมูลประเด็นปัญหา
1.ปัญหาการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากชาวบ้านการรวมกลุ่มจัดทำผลิตภัณฑ์กระเป๋าจักสาน และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆจากผ้าทอ เช่น กระเป๋าชนิดต่าง ๆ เสื้อ หมอน ผ้าถุง ซึ่งรวมกลุ่มกันในนาม “กลุ่มสตรีบ้านพรสวรรค์”
2. ปัญหาขาดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจุบันเป็นชุมชนสังคมผู้สูงอายุ กลุ่มคนรุ่นใหม่(ลูกหลาน)ในหมู่ต่างพากันไปเรียนหรือทำงานต่างถิ่น ทำให้ไม่ค่อยมีคนรุ่นใหม่กลุ่มคนที่จะพร้อมเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นอาศัยในหมู่บ้าน
3.ปัญหาการล้าหลังทางการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของโลก โลกยุคปัจจุบันคือโลกยุคการสื่อสารไร้พรหมแดน ยิ่งไปว่านั้นเทคโนโลยีมีบทบาทเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรามากยิ่งขึ้น กระทั่งมีการกล่าวว่าเป็น “ยุคเทคโนโลยีป่วนโลก Disruptive Technology”
4. ปัญหาจากฝุ่นละออง เนื่องจากมีการเผาตอซังอ้อย และเผาหญ้าในพื้นที่
5. ปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำสำหรับการทำเกษตรกรรม ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถทำการเกษตรได้ตลอดปี
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ชาวบ้านการรวมกลุ่มจัดทำผลิตภัณฑ์กระเป๋าจักสาน และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆจากผ้าทอ เช่น กระเป๋าชนิดต่าง ๆ เสื้อ หมอน ผ้าถุง ซึ่งรวมกลุ่มกันในนาม “กลุ่มสตรีบ้านพรสวรรค์”

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้การทำกระเป๋าผ้าทอสานลาย

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560 ถึง ปี 2579 โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัย ด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอดเผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญ ในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในระยะแรกอย่างเข้าใจ เข้าถึง วิถีชีวิตของประชาชน หรือเรียกอีกอย่างว่า “การเรียนรู้จากประสบการจริงในพื้นที่” (Action Learning) เพื่อให้ได้มาซึ่งสภาพปัญหาที่แท้จริงของชุมชนและสิ่งที่ชุมชนต้องการรับการพัฒนา ณ พื้นที่บ้านพรสวรรค์ หมู่ 8 ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว พบว่ามีปัญหาที่สำคัญปัญหาการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ การประชาสัมพันธ์ เนื่องจากประชาชนมีการรวมกลุ่มจัดทำผลิตภัณฑ์กระเป๋าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆจากผ้าทอ เช่น กระเป๋าชนิดต่าง ๆ เสื้อ หมอน ผ้าถุง เป็นต้น ซึ่งรวมกลุ่มกันในนาม “กลุ่มสตรีบ้านพรสวรรค์” และปัญหาขาดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจุบันกลุ่มคนรุ่นใหม่(ลูกหลาน)ในหมู่ต่างพากันไปเรียนหรือทำงานต่างถิ่นทำให้ไม่ค่อยมีคนรุ่นใหม่กลุ่มคนที่จะพร้อมเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นอาศัยในหมู่บ้าน ดังนั้นจากการจัดประชุมผู้นำและตัวแทนของสมาชิกในหมู่บ้าน จึงได้มีแนวทางการต่อยอดผลิตภัณฑ์ และพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นกับภูมิปัญญาชาวบ้านมาสร้างเป็นจุดเด่นของชุมชน และมีแนวทางในการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านทาง “กลุ่มสตรีบ้านพรสวรรค์” และกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนในชุมชน
ด้วยเหตุนี้ ครัวเรือนเป้าหมายมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีการพัฒนาดังนี้ 1) โครงการพัฒนา ต่อยอด และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ(กระเป๋าผ้าทอสานลาย) 2) โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่อสร้างกิจกรรมทางการท่องเที่ยว (โดยใช้จุดแข็งของหมู่บ้านที่เป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาและต่อยอดให้มั่งคง และยั่งยืน) โดยทางคณะทำงานได้ยึดแนวทางการทำงานหลักคือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” 3 หัวใจหลักของวิธีการแห่งศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรทรงใช้เป็นวิธีการทรงงานมาตลอดรัชสมัย ทั้งยังนำไปสู่การตอบโจทย์ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี : เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุขและตอบสนองต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูงเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ
ดังนั้นคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่ การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กระเป๋าผ้าทอสานลาย
  • จ.สระแก้ว
  • บ้านพรสวรรค์ ต.เขาฉกรรจ์
  • หมู่ที่ 8
  • อ.เขาฉกรรจ์

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 10:55 น.