ปลูกป่าเศรษฐกิจพิชิตหมอกควันที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม ปลูกป่าเศรษฐกิจพิชิตหมอกควันที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หน่วยงานหลัก ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หน่วยงานร่วม องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ศึก
ชื่อชุมชน บ้านปางอุ๋ง หมู่ที่ 1
ชื่อผู้รับผิดชอบ นายชวลิต กอสัมพันธ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร. 053 222 014
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นายวราพงษ์ บุญมา สาขาเกษตรศาสตร์
การติดต่อ chawalit.k@cmu.ac.th โทร. 081 9619812
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 452,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
เชียงใหม่ แม่แจ่ม แม่ศึก place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ตำบลแม่ศึก อ.แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นประมาณ 678.46 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาประมาณร้อยละ 90 % พื้นที่ราบประมาณร้อยละ 10 % ประกอบด้วย 17 หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ 13,000 คน แต่เดิมเกษตรกรในพื้นที่นี้ทำการเกษตรแบบหมุนเวียนการใช้พื้นที่หรือไร่หมุนเวียนเป็นหลัก แต่เมื่อประมาณ 10 ปี ที่ผ่านมามีการนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาปลูกในพื้นที่ และพื้นที่เกษตรแบบหมุนเวียนถูกแทนที่ด้วยไร่ข้าวโพดซึ่งไม่มีการหมุนเวียนการใช้พื้นที่ หรือมีการปลูกทุกปี การขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลียงสัตว์เป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียพื้นที่ป่า และการเสื่อมสภาพของทรัพยากรโดยรวม
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
เกษตรกรได้เปลี่ยนระบบการเพาะปลูกจากวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิมที่มีความหลากหลาย มีการใช้พื้นที่และทรัพยากรน้อยการผลิตอื่น ๆ น้อย ไปเป็นระบบการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่มีการใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และมีการขยายพื้นที่ออกไปทุกปี ในกระบวนการปลูกและผลิตในระบบนี้ มีการถางแล้วเผาในรอบปี ยิ่งทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของทรัพยากรโดยรวม (Land degradation) นอกจากนั้นพบว่าเกิดการชะล้างหน้าดินอย่างรุนแรง มีการสูญเสียของพืชพรรณทั้งในธรรมชาติและพืชปลูกในระบบเกษตร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากระบบหมุนเวียนการใช้พื้นที่มาเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการค้า ทำให้ป่าไม้ซึ่งแต่เดิมเป็นระยะพักแปลง (Fallow phase หรือป่าเหล่า) การหายไปของป่าเหล่า ทำให้ความหลากหลายของทั้งระบบหายไป ทั้งความหลากหลายของพรรณพืช (Vegetation) ความหลากหลายของวิถีชีวิตและระบบการเกษตร (Agrodiversity) ความหลากหลายของชนิดและพันธุ์พืช (Species diversity and gen diversity) การเปิดพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เมื่อถึงฤดูที่ต้องมีการถางแล้วเผา จะทำให้เกิดฝุ่นควัน (Haze) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนหมู่มาก
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
มีเกษตรกรจำนวนหนึ่งต้องการเปลี่ยนระบบการผลิตของพวกเขาจากพืชล้มลุกเชิงเดี่ยว ไปเป็นสวนไม้ผลยืนต้นที่ในระบบมีความหลากหลายของพืช การจัดการที่หลากหลายและมีผลผลิตออกจากพื้นที่หลายชนิดในรอบปี โดยแปลงเกษตรแบบนี้จะไม่มีการถางแล้วเผาในรอบปี

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การสร้างพื้นที่สีเขียวจากพื้นที่โล่งแจ้งที่ทรัพยากรเสื่อมสภาพจากการปลูกพืชล้มลุกเชิงเดี่ยวและมีการถางแล้วเผาในรอบปี การจัดการระบบเกษตรแบบผสมผสานที่เน้นความพอเพียงและยั่งยืนบนพื้นที่สูง โดยในระบบมีพืชยืนต้นอย่างน้อย 2 ชนิด คือไม้ผลยืนต้นและกาแฟอราบิก้า และมีพืชติดดินอีกอย่างน้อย 1 ชนิด

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้หรือการสร้างสวนไม้ผลยืนต้นจากพื้นที่โล่งแจ้งที่ดินอยู่ในภาวะเสื่อมสภาพให้กลับไปเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นกระบวนการย้อนกลับของการทำลายป่า ซึ่งต้องใช้ต้นทุน ระยะเวลา และทักษะการจัดการมากกว่าตองถางป่า กระบวนการสร้างพื้นที่สีเขียวนี้ต้องใช้ความรู้และทักษะของผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้นั้นสู่เกษตรกร สำหรับการดำเนินงานของโครงการนี้ ใช้กล้วยน้ำว้าปลูกเป็นไม้พี่เลี้ยงหรือไม้เบิกนำในปีที่ 1 จากนั้นจะปลูกไม้ผลยืนต้น 1 ชนิด และปลูกกาแฟอราบิก้าลงในพื้นที่เดียวกัน พื้นที่นี้จะยังใช้ปลูกพืชล้มลุกได้ 1-2 ปี จนกว่าทรงพุ่มของไม้ยืนต้นเต็มพื้นที่

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Chawalit_Kor Chawalit_Kor เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2562 03:14 น.