การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อกก หมู่ที่ 3 คลองสามสิบ ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อกก หมู่ที่ 3 คลองสามสิบ ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อกก หมู่ที่ 3 คลองสามสิบ ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม งานวิชาศึกษาทั่วไป
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 3 คลองสามสิบ ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.โกมล จันทวงษ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สระแก้ว เขาฉกรรจ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านคลองสิบสาม เดิมชื่อ หมู่บ้านสระบ่อ ตำบลเขาฉกรรจ์ กิ่งอำเภอวังนํ้าเย็น จังหวัด
ปราจีนบุรี สมัยนั้น ก่อนปีพุทธศักราช 2511 บริเวณพื้นที่ตำบลเขาสามสิบ เป็นป่าที่มีความอุดม
สมบูรณ์ ชาวบ้านจากพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ได้อพยพย้ายถิ่นเข้ามาหาที่ทำมาหากินเพาะปลูกพืชผลทาง
เกษตรกรรม เริ่มต้นครั้งแรก จำนวน 7 หลังคาเรือน เริ่มจากพ่อของพ่อตาผู้ใหญ่บ้าน (ผู้ใหญ่บุญเหลือ
กำเนิด) นายผาง กำเนิด นายแผ้ว นายเหลือ นายสุข อพยพมาจากอำเภอประจันตคาม มาตั้งรกราก
อยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านคลองสิบสาม เข้ามาทำไร่ทำนา เลี้ยงสัตว์ ต่อมาเมื่อแยกจากจังหวัดปราจีนบุรี เป็น
จังหวัดสระแก้ว ปีพ.ศ. 2536 จึงได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านบ้านคลองสิบสาม ตามลักษณะ
ภูมิประเทศที่มีลำห้วย ลำคลอง ซึ่งพบเป็นลำดับที่ 13 และทั้ง 13 สายไหลมารวมกันแล้วไหลผ่าน
หมู่บ้านไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ปัจจุบันยังคงเหลือ คุณยายแพว คนน้อย อายุ 92 ปี เป็นต้น
ประชากรของหมู่บ้านคลองสิบสาม มีจำนวน 529 คน 272 ครัวเรือน ได้แก่ เพศ
ชาย 269 คน เพศ หญิง 260 คน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
- ส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง และ
มีอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ดังนี้การประกอบอาชีพหลัก เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ การรับจ้าง
ลูกหลานส่งเงินมาให้การนำผลิตผลทางการเกษตรไปค้าขายในกรุงเทพ และปริมณทล และอาชีพ
เสริม ได้แก่ การทอเสื่อกก และผลิตภัณฑ์แปรรูปเสื่อกก เป็นต้น
-เป็นหมู่บ้านนวัตวิถีมีวิถีวัฒนธรรมดีงาม ดำเนินชีวิตแบบ
พอเพียง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ผลิตผลทางการเกษตรได้ผลผลิต และราคาไม่แน่นอน และมี
แหล่งนํ้าแต่ยังขาดความรู้เพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภค และการเกษตรตลอดปี กลุ่มครัวเรือนกู้เงินจาก
กองทุนที่มีหลายกองทุน ทำให้มีหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นทุกปีผู้สูงวัยอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป ยังสามารถ
ทำงานได้ อยู่บ้านเลี้ยงหลาน ไม่มีอาชีพทำให้ เกิดรายจ่าย และขาดรายได้เพิ่มขึ้น เด็กและเยาวชน
ติดยาเสพติด กลุ่มผลิตภัณฑ์เสื่อกกผู้สูงอายุ ยังขาดลวดลาย รูปแบบผลิตภัณฑ์เสื่อกกยังคงเป็น
ลวดลาย และรูปแบบเดิม ๆ ไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่หลากหลายเพิ่มขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์จำหน่ายไม่ได้
และไม่ได้ราคา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ชุมชนต้องการสร้างอาชีพเสริม และรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์เสื่อกกผู้สูงอายุมี
ศักยภาพในการทอเสื่อ เป็นสินค้า OTOP ระดับ 3 ดาว สามารถพัฒนาต่อยอดด้านลวดลาย รูปแบบ
ผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่หลากหลายเพิ่มขึ้นได้ สามารถนำจุดแข็งด้านประเพณีบายศรี
สู่ขวัญข้าวชุมชนมาที่ผู้คนทั่วไปรู้จักมาสร้างตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ได้

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1.การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อกก องค์ประกอบสำคัญ คือ ลวดลาย และรูปแบบผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ผู้บริโภค ที่กลุ่มต้องรังสรรค์ขึ้นมาเองจึงจะเกิดความมั่งคง และยั่งยืนในการพัฒนาต่อยอดต่อไป ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่ม
2. ผลิตภัณฑ์เสื่อกกต้องมีตราสัญลักษณ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนจะทำให้ได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้น
3. การพัฒนาย่อยอดผลิตภัณฑ์เสื่อกกในกระบวนการผลิต ต้องทำให้เกิดรายได้ทุกขึ้นตอนของกระบวนการ

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์
ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตร และสหกรณ์ 20 ปีระหว่างปี 2560 ถึงปี2579
โดยน้อมนeเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคeนึงถึงสิ่งแวดล้อม
ที่อยู่ และทรงใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถ
บพิตร มาเป็นแนวทางในการดeเนินนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของ
ประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนา
โภชนาการ และความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชน
และประเทศชาติซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ทรงมี
พระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้
มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชา
ประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ
2547 มาตรา7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญา
ของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลับราชภัฏ
สู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพ
มาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง และยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3
การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายใน และภายนอก เพื่อร่วมกันศึกษา และ
แก้ไขปัญหาของชุมชน และท้องถิ่น และเสริมพลังให้ชุมชน และท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชน และครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนบ้านคลองสิบสาม หมู่ที่ 3 ตำบล
เขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว พบว่า ชุมชนมีความโดดเด่นด้านประเพณีบายศรีสู่ขวัญ
ข้าว ผลิตภัณฑ์ OTOP นวัตวิถี (เสื่อกก) ส่วนปัญหาที่สำคัญ พบว่า คนในชุมชนวัยอายุ 50 ปีขึ้นไป
จำนวนมากว่างงาน และชุมชน ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย มีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีการ
พัฒนาต่อยอดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP นวัตวิถี (เสื่อกก) เพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือน
ดังนั้น งานวิชาการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
จึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น
และเสริมพลังในชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชน
สามารถบริหารจัดการชีวิตของตนเองได้อย่างสมดุล และมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่า และมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานล่างในชุมชนให้มีความเข็มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้
อย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้ชุมชน หมู่บ้านมีคุณภาพชีวิต และรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • คลองสามสิบ
  • จ.สระแก้ว
  • ต.เขาสามสิบ
  • ผลิตภัณฑ์
  • เสื่อกก
  • หมู่ที่ 3
  • อ.เขาฉกรรจ์

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 14:48 น.