ผักปลอดสารพิษ ชุมชนพืชนิมิต ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ผักปลอดสารพิษ ชุมชนพืชนิมิต ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม ผักปลอดสารพิษ ชุมชนพืชนิมิต ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ชื่อชุมชน ชุมชนพืชนิมิตร ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ศิริวิมล ศรีมีทรัพย์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี คลองหลวง คลองหนึ่ง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
พื้นที่ชุมชนวัดพืชนิมิต หมู่ที่ 20 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ขอบเขต
การสำรวจลงพื้นที่ตั้งแต่ซอยซอยเชียงรากน้อย 11 ถึงซอยเชียงรากน้อย 19 ดังรูปที่ 1 การ
ติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกหมู่บ้าน สามารถเข้าถึงชุมชนได้หลายทาง จากถนนพหลโยธิน (ทาง
หลวงหมายเลข 1) เส้นทางวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข9) และ
เข้าสู่ชุมชนวัดพืชนิมิต ซอยเชียงรากน้อย 11 หรือเชียงรากน้อย 19 นอกจากนี้ยังมีการคมนาคมขนส่ง
ทางรถไฟ เส้นทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีสถานนีใกล้ชุมชน คือ สถานีเชียง
รากน้อย
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1) การคมนาคมสะดวก สามารถเชื่อมต่อกับภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2) มีสถานที่ท่องเที่ยว คือ วัดพืชนิมิต ซึ่งพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิปางอุ้มบาตรยุคกรุงศรี
อยุธยา ขนาดใหญ่ และมีแพให้อาหารปลา บรรยากาศธรรมชาติเงียบสงบเหมาะ
ส ำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ
3) ชุมชนยังคงสภาพธรรมชาติ สงบ น่าอยู่
4) ในชุมชนยังคงมีการทำเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ จึงเป็นแนวทางในการประกอบ
อาชีพเสริม
5) มีโอกาสในการค้าขาย ให้กับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่มาทำบุญที่วัดพืชนิมิต
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ชุมชนวัดพืชนิมิต อ.คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พบว่า เป็นชุมชนเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนอาชีพด้านการเกษตรกรรมมีเพียงเล็กน้อย สมาชิกในชุมชนไม่ได้มีการรวมกลุ่มทำงานกันชัดเจน ซึ่งผู้นำชุมชนเองก็มีแนวทางในการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆอยู่แล้ว ทั้งด้านการรักษาความเป็นธรรมชาติในชุมชน การพัฒนาพื้นที่สีเขียวบริเวณถนนและริมคลอง การจัดการขยะ การส่งเสริมอาชีพ เยาวชน การศึกษา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
จากการสำรวจและแจกแบบสอบถามในชุมชนพบว่ามี 1 ครัวเรือนที่มีความสนใจในการร่วมพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน คือ นายสมชาย นิรัสสัย ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 4 คน ประกอบอาชีพทำสวนมะพร้าว และนาบัว และครัวเรือนเป้าหมายมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีการพัฒนาสวนมะพร้าว ปรับปรุงดิน เพื่อเพิ่มผลผลิต และทำเต้าฮวยมะพร้าวอ่อน แต่การเพิ่มผลผลิตมะพร้าวต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร จึงมีการตกลงกันกับครัวเรือนเป้าหมาย จัดกิจกรรมที่จะช่วยเสริมรายได้ให้มีเงินหมุนเวียนในระยะสั้นๆ จากที่บ้านกลุ่มเป้าหมายมีพื้นฐานทางด้านการเกษตรอยู่แล้ว และอาจารย์ในคณะเทคโนโลยีการเกษตร เคยจัดการอบรมการเพาะต้นอ่อนเพื่อสุขภาพให้กับเทศบาลเมืองท่าโขลงซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี ทางคณะทำงานจึงแนะนำให้น้าเตี้ยลองปลูกต้นอ่อนเพื่อสุขภาพ เพราะได้ผลผลิตเร็วและไม่ต้องใช้พื้นที่มาก ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วม จำนวน 6 คน และสร้างไลน์กลุ่มกัน มีการส่งผลงานเข้าในไลน์กลุ่มอย่างต่อเนื่อง

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร การปรับปรุงดิน การเพาะปลูก และการทำฉลากผลิตภัณฑ์

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์
ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่างปี 2560 ถึง ปี 2579
โดยน้อมน าเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
ที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร
มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไข
ปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความ
ปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ
ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่
ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชา
ประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ.
2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญา
ของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพ
เป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิต
ของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางาน
พันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการ
สร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น
และเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และ
ท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในชุมชนวัดพืชนิมิต อ.คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
พบว่า เป็นชุมชนเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วน
อาชีพด้านการเกษตรกรรมมีเพียงเล็กน้อย จึงไม่มีการรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบอาชีพ จากการสำรวจ
แบบสอบถามในชุมชนพบว่ามี 1 ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพท าสวนมะพร้าว และนาบัว และครัวเรือน
เป้าหมายมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีการพัฒนาสวนมะพร้าว ปรับปรุงดิน เพื่อเพิ่มผลผลิต
และท าเต้าฮวยมะพร้าวอ่อน
ดังนั้นคณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์จึง
ได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริม
พลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหาร
จัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน
ให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผล
ให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การเพาะต้นอ่อน
  • ชุมชนพืชนิมิตร
  • เต้าฮวยนมสดมะพร้าวอ่อน
  • ผักปลอดสารพิษ
  • หมู่ที่ 19

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 10:07 น.