พวงมาลัยประดิษฐ์ หมู่ที่ 13 ชุมชนเคหะชุมชนคลองหลวง ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
พวงมาลัยประดิษฐ์ หมู่ที่ 13 ชุมชนเคหะชุมชนคลองหลวง ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
ข้อมูลโครงการ
ชื่อนวัตกรรม | พวงมาลัยประดิษฐ์ หมู่ที่ 13 ชุมชนเคหะชุมชนคลองหลวง ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
หน่วยงานหลัก | สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ |
หน่วยงานร่วม | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ชื่อชุมชน | หมู่ที่ 13 ชุมชนเคหะชุมชนคลองหลวง ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์ดวงเดือน วัฎฎานุรักษ์ |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180 |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | - |
การติดต่อ | 029093026 |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
ปทุมธานี | คลองหลวง | คลองหนึ่ง | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อชุมชน เคหะชุมชนคลองหลวง ม.13 ต.คลองหนึ่ง อ.คลอหลวง จ.ปทุมธานีพื้นที่ครอบคลุมซอยเทพกุญชร 42 ตลอดแนวจนถึงถนนเลียบคลองสอง มีหมู่บ้านในพื้นที่ 5 หมู่บ้าน คือ
1. ชุมชนเคหะชุมชนคลองหลวง
2. หมู่บ้านสมหวังทรัพย์หมื่นแสน
3. หมู่บ้านราชพฤกษ์
4. หมู่บ้านกฤษณาเฮ้าส์
5. หมู่บ้านเจริญสุขเพลส
ในพื้นที่เป็นแหล่งชุมชนที่มีรูปแบบการค้าขายที่สมบูรณ์คือ มีตลาด ตลาดนัด โรงแรม ร้านค้า สถานบันเทิง ผู้อาศัยประมาณร้อยละ 50 เป็นเจ้าของบ้านส่วนที่เหลือเป็นผู้เช่าอาศัย และชาวต่างด้าวที่เข้ามารับจ้าง อาชีพของคนในชุมชน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมและร้านค้า ร้านอาหารในพื้นที่ชุมชน
อาคารชุดสำหรับพักอาศัย จำนวน 7 อาคาร (1328 ห้อง) หมู่บ้านจัดสรร 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
1. หมู่บ้านชุมชนคลองหลวง จำนวน 176 หลังคาเรือน
2. หมู่บ้านราชพฤกษ์ 3 จำนวน 162 หลังคาเรือน
3. กฤษณาเฮ้าส์ จำนวน 62 หลังคาเรือน
4. สมหวังทรัพย์หมื่นแสน แบ่งเป็นทาวน์เฮาส์ 78 หลังคาเรือน และอาคารพาณิชย์ 48 หลังคาเรือน
5. เจริญสุขเพลส จำนวน 179 หลังคาเรือน
โดยเฉลี่ยแต่ละหลังคาเรือนจะมีประชากรประมาณสามคนซึ่งมีทั้งประชากรที่เป็นเจ้าของจริงและประชากรแฝง
สังคมของชุมชนเคหะคลองหลวงเป็นสังคมเมือง ที่มีลักษณะการอยู่แบบต่างคนต่างอยู่ ประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงานทื่ไปทำงานเช้า กลับเย็น หรือกลุ่มคนที่ทำงานโรงงาน ทำงานเป็นกะ ทำให้ไม่ค่อยมีกิจกรรมร่วมกันในสังคมสักเท่าใด นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่ย้ายถิ่นมาจากต่างจังหวัด หรือมาเช่าที่พักอาศัย ชื่อที่อยู่ตามทะเบียนบ้านเป็นเพียงเจ้าของห้องพักหรือห้องเช่า ส่วนคนที่มาอยู่อาศัยมีตั้งแต่ มาทำงานโรงงานที่นวนคร มาเรียนหนังสือ มาเรียนมหาวิทยาลัยซึ่งคนกลุ่มนี้จะไม่ค่อยได้พักอาศัยและมีกิจกรรมร่วมกับชุมชนมากนัก นอกจากนี้ยังมีกลุ่มแม่บ้าน ผู้สูงอายุ ผู้เกษียณอายุราชการซึ่งส่วนใหญ่กิจกรรมต่าง ๆ ในสังคมจะขับเคลื่อนโดยกลุ่มนี้เสียเป็นส่วนใหญ่ มีความสัมพันธ์กันบ้างโดยประธานกรรมการหมู่บ้านจะเป็นตัวประสานในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน กิจกรรมที่สังคมมีร่วมกันจะเป็นกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ เช่น กิจกรรมวันพ่อ ตักบาตรวันปีใหม่ เลี้ยงอาหารในวันเด็ก ซึ่งจัดโดยกรรมการหมู่บ้าน ประสานงานผ่านนิติบุคคลของแต่ละอาคาร ซึ่งได้รับการร่วมมือจากคนในชุมชนบ้าง
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จากการศึกษาข้อมูลพบว่าชุมชนเคหะคลองหลวง หมู่ที่ 13 เป็นชุมชนเมืองที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีสาธารณูปโภคที่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของชุมชน เป็นชุมชนที่เป็นเส้นทางหลักในการเดินทาง ทำให้เกิดธุรกิจการค้ามากมายโดยเฉพาะธุรกิจตามห้างร้านต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจด้านการค้าขายอาหาร เนื่องจากมีห้างร้านเปิดกิจการติดถนน ประกอบกับมีตลาดนัดขนาดกลาง ทำให้ชุมชนมีสภาพคล่องทางการเงินสูง ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ชุมชนสามารถประกอบอาชีพได้ด้วยตนเอง ในเรื่องของการค้าขาย การรับจ้าง การบริการ ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจถ้าในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในเรื่องของการประกอบอาชีพ นอกจากนั้นบริเวณในส่วนที่เป็นบริเวณการเคหะมีการจัดกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี เช่นงานวันเด็ก งานปีใหม่ โดยมีผู้นำชุมชนเป็นผู้ประสานงานในการจัดกิจกรรมข้อมูลประเด็นปัญหา
จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เนื่องจากมีประชาชนอาศัยอยู่มากทำให้มีปัญหาด้านขยะตกค้างเป็นจำนวนมาก ตลอดจนแมลงวันที่มาตอมขยะที่เก็บไม่ทัน ทำให้ส่งกลิ่นเหม็น ปัญหาฝุ่นจากการคมนาคม ปัญหาเสียงดังรบกวนจากสถานบันเทิง ขาดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง เพื่อร่วมกันเป็นกลุ่มผู้ผลิต ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
กลุ่มเป้าหมายสนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการนำเหรียญหรือรูปใส่ตรงกลางพวงมาลัยให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบ หรือพัฒนาเป็นรูปแบบอื่นๆที่สอดคล้องกับเทศกาลเช่น การทำพวงมาลัยวันแม่ การพัฒนาเป็นกระทง เป็นต้น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการหาช่องทางการตลาดใหม่ เช่นขายออนไลน์ประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น
ผลสำรวจชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายในเคหะชุมชนคลองหลวง เทศบาลเมืองท่าโขลง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีพบว่าในสภาพปัจจุบันเคหะชุมชนคลองหลวงเป็นชุมชนเมืองที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีสาธารณูปโภคเกิดขึ้นมากมาย เช่น ร้านค้า ห้างหุ้นส่วน ตลาดค้าปลีกย่อย เกิดธุรกิจการค้ามากมาย ทำให้ชุมชนมีสภาพคล่องทางการเงินสูงและทำให้ค่าครองชีพสูงตามขึ้นไปด้วย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประจำ คือ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม มีเงินเดือนประจำ สามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่มีประชากรบางครัวเรือนประกอบอาชีพรับจ้าง งานบริการทั่วไป และบางครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่รายได้จึงไม่เพียงพอ ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนมีหลายด้าน เช่น ปัญหาด้านขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล ปัญหาด้านเสียงดังจากแหล่งสถานบันเทิง ปัญหาด้านความแออัดในชุมชน ปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน และที่สำคัญปัญหาเรื่องรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน อาจต้องไปหยิบยืมเงินจากเพื่อนบ้านหรือหนี้นอกระบบทำให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมา จากปัญหาดังกล่าวทำให้ชุมชนครัวเรือนเป้าหมายมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องจัดให้มีการอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ โดยการทำพวงมาลัยดอกไม้ประดิษฐ์ ส่งขายตลาดหรือร้านค้าทั่วไป ซึ่งการทำพวงมาลัยประดิษฐ์เป็นอาชีพ เนื่องจากวัสดุ อุปกรณ์ หาซื้อได้ง่าย และสามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนและชุมชนให้พึงพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน นอกนี้ผู้สูงอายุยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย
ดังนั้นหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- จ.ปทุมธานี
- ชุมชนเคหะชุมชนคลองหลวง
- ต.คลองหนึ่ง
- พวงมาลัยประดิษฐ์
- หมู่ที่ 13
- อ.คลองหลวง
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ