เกษตรอินทรีย์ เมี่ยงคำ และผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มระแหงพอเพียง หมู่ที่ 6 คลองระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
เกษตรอินทรีย์ เมี่ยงคำ และผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มระแหงพอเพียง หมู่ที่ 6 คลองระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ข้อมูลโครงการ
ชื่อนวัตกรรม | เกษตรอินทรีย์ เมี่ยงคำ และผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มระแหงพอเพียง หมู่ที่ 6 คลองระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
หน่วยงานหลัก | สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ |
หน่วยงานร่วม | วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ |
ชื่อชุมชน | กลุ่มระแหงพอเพียง หมู่ที่ 6 คลองระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์ ดร.สุนทรี จีนธรรม |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180 |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | - |
การติดต่อ | 029093026 |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
ปทุมธานี | ลาดหลุมแก้ว | ระแหง | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ตำบลระแหง เป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอลาดหลุมแก้ว ประกอบไปด้วย 12 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบ่อน้ำเชี่ยว บ้านคลองลาดหลุมแก้ว บ้านโยธา บ้านระแหง บ้านคลองโยธา บ้านคลองระแหง บ้านปลายคลองระแหง บ้านคลองถ้ำตะบัน บ้านคลองวัดบัวสุวรรณ บ้านคลองถ้ำตะบัน บ้านปลายคลองระแหง บ้านคลองตับผักชีพื้นที่
เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้ว โดยตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ต.บ่อเงิน และ ต.หน้าไม้ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ทิศใต้ ติดกับ ต.คลองพระอุดม และ ต.ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมวัน
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.คูขวาง และ ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมวัน
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.หน้าไม้ และ ต.ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมวัน
สาธารณูปโภค
ระบบสาธารณูปโภคครบถ้วน
การเดินทาง
จากกรุงเทพฯสามารถเดินทางไปจังหวัดปทุมธานีได้ 3 เส้นทาง ดังนี้
1. กรุงเทพฯ-บางเขน-รังสิต-ปทุมธานี
2. กรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปากเกร็ด-ปทุมธานี
3. กรุงเทพฯ-บางใหญ่-บางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว-ปทุมธานี
จากตัวเมืองเข้าสู่ตำบลระแหง โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 346 มุ่งหน้า อ.ลาดหลุมแก้ว ระยะทางจากตัวเมืองประมาณ 13 กิโลเมตร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
มีผู้นำที่ดี ชุมชนมีความรักและสามัคคี มีส่วนร่วมในการพัฒนา มีโครงสร้าง
พื้นฐานสาธารณะครบ ได้รับรู้ข่าวสารข้อมูล
สมํ่าเสมอจากเสียงตามสาย มีศาลาหมู่บ้านและ
ภาชนะอุปกรณ์สำหรับให้บริการในการทำ
กิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกชุมชน และมีพื้นที่สีเขียว
ข้อมูลประเด็นปัญหา
สมาชิกบางคนไม่มีที่นาเป็นของตนเอง ไม่มีโรงสีชุมชน ราคาข้าวตกตํ่า
ชาวนาไม่สามารถกำหนดราคาข้าวได้เอง ไม่มี
การแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ไม่มีสินค้า
OTOP ขาดการรวมกลุ่มสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ
ต่างๆ ขาดสถานที่ออกกำลังกาย ไม่มีศูนย์เรียนรู้
และมีหนี้สิน
ขาดฐานข้อมูลชุมชน
งบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาอาชีพยังน้อย
ภาครัฐไม่กำหนดราคาข้าวและไม่มีการประกัน
ราคาข้าว
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ชุมชนต้องการรวมกลุ่มอาชีพประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๗ ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอก เพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น มีกลไกสนับสนุนการปฏิบัติพันธกิจแบบบูรณาการเพื่อท้องถิ่นตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาบริการวิชาการ การเรียน การสอน และการวิจัย โดยมีกระบวนการ/วิธีการ มีนโยบายสนับสนุน มีองค์ความรู้ มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชน และสังคม ซึ่งเป็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการที่จะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน โดยการออกแบบการทำงานเพื่อสร้างกลไกเชิงระบบที่เชื่อมงานประกันคุณภาพองค์กรกับการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้มีการสานพลังจากทุกคณะร่วมกับองค์กรภาคี มีการยกระดับคุณภาพงานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม และเกิดการพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพงานวิชาการเพื่อสังคม
นอกจากนี้ด้วยแนวคิดพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) จากปรัชญาการสร้างปัญญาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ถูกถ่ายทอดเป็นวิสัยทัศน์ไปสู่การทำงานของสถาบันการศึกษาร่วมกับภาคีในพื้นที่ (Engagement) ที่มุ่งหมายหวังผลที่จะตอบปัญหาของชุมชนหรือสังคมเฉพาะที่ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น พันธกิจนี้จะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมืออย่างแท้จริงของทุกภาคส่วนทั้งในระดับมหาวิทยาลัยด้วยกันเองและระดับมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามหลักพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยกับสังคม โดยให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ซึ่งมหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนด้วยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิชาการเข้ากับแนวปฏิบัติที่ดีที่เป็นศักยภาพของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้
การบริการวิชาการแก่สังคมถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นการทำงานเชิงวิชาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมในพันธกิจหลักทุกด้านของมหาวิทยาลัยบน หลักการพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ 1) ร่วมคิดร่วมทำแบบหุ้นส่วน (Partnership) 2) เกิดประโยชน์ร่วมกัน แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual benefit) 3) มีการใช้ความรู้และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (Scholarship) และ 4) เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ (Social impact) โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้นและสร้าง Engaged Citizens ซึ่งรวมถึงนักศึกษา บัณฑิต และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้สังคม หมายรวมถึง กลุ่มบุคคล ที่อาจเชื่อมโยงกับชุมชนทั้งในมิติของพื้นที่ ความสนใจร่วมกัน อัตลักษณ์ สถานที่ทำงาน ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ หรืออยู่ในภาคส่วนเดียวกัน ชุมชน นักปฏิบัติ ชุมชนที่มีความสนใจร่วมกัน โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในเชิงพื้นที่ ภูมิภาค และประเทศ รวมถึงภาคธุรกิจอุตสาหกรรมสมาคมวิชาชีพ โรงเรียน รัฐบาล ศิษย์เก่า และชุมชนพื้นเมือง เป็นต้น
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- กลุ่มระแหงพอเพียง
- เกษตรอินทรีย์
- คลองระแหง ต.ระแหง
- ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
- เมี่ยงคำ
- ลาดหลุมแก้ว
- หมู่ที่ 6
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ